เทโลเมียร์
เทโลเมียร์ หรือ ทีโลเมียร์ (telomere; /ˈtɛləmɪər/ หรือ /ˈtiləmɪər/) เป็นพื้นที่ที่มีลำดับนิวคลีโอไทด์ซ้ำตรงปลายของแต่ละโครโมโซม ซึ่งช่วยป้องกันไม่ให้ปลายของโครโมโซมชำรุดลงหรือไม่ให้ไปผสมเข้ากับโครโมโซมข้างเคียง เทโลเมียร์มาจากภาษากรีก เทลอส (telos; τέλος) "ปลาย" และ เมรอส (merοs; μέρος, รากศัพท์: μερ-) "ส่วน" ในสัตว์มีกระดูกสันหลังลำดับนิวคลีโอไทด์ในเทโลเมียร์คือ 5′-TTAGGG-3′[1] โดยมีสายดีเอ็นเอคู่เป็น 3′-AATCCC-5′ และ โอเวอร์แฮงก์ TTAGGG[2] สำหรับในมนุษย์มีลำดับเบส TTAGGG นี้จะซ้ำประมาณ 2,500 ครั้ง[3] ในมนุษย์มีความยาวของเทโลเมียร์ลดลงจากประมาณ 11 กิโลเบส ตั้งแต่เกิด[4] เป็นน้อยกว่า 4 กิโลเบสในผู้สูงอายุ[5] โดยมีอัตราการลดลงในผู้ชายสูงกว่าผู้หญิง[6]
ระหว่างการเรพลิเคทดีเอ็นเอ เอนไซม์ที่ใช้คัดลอก (duplicate) ดีเอ็นเอไม่สามารถดำเนินการคัดลอกไปได้จนจบปลายโครโมโซม ดังนั้นในทุกการคัดลอกส่งผลให้ปลายของโครโมโซมสั้นลง (เนื่องด้วยการสังเคราะห์ชิ้นส่วนโอคะซะกิ จำเป็นต้องใช้อาร์เอ็นเอไพรเมอร์บนสายแล็ก; lagging strand) เทโลเมียร์เป็นตัวบัฟเฟอร์ที่ทิ้งได้ (disposable buffers) อยู่ที่ปลายของโครโมโซม ซึ่งจะกุดลงไปตามการแบ่งเซลล์ การมีอยู่ของมันจึงช่วยให้ยีนบนโครโมโซมได้รับการปกป้อง
ทุกครั้งที่มีการแบ่งเซลล์เกิดขึ้น ปลายของเทโลเมียร์จะสั้นลง[7] เทโลเมียร์สามารถสร้างขึ้นใหม่ด้วยเทโลเมียร์รีเวอร์สทรานสคริปเตส[8]
ลำดับ
[แก้]ลำดับนิวคลีโอไทด์ของเทโลเมียร์มีการระบุไว้บนเว็บไซต์ Telomerase Database เก็บถาวร 2020-02-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน และมีการอัปเดตตลอดเวลา
กลุ่ม | สิ่งมีชีวิต | ลำดับเทโลเมียร์ที่ซ้ำ (5' ไป 3' ไปทางปลาย) |
---|---|---|
สัตว์มีกระดูกสันหลัง | มนุษย์, หนู, เซนอปัส | TTAGGG |
ฟังไจชนิดฟิลาเมนตัส (Filamentous fungi) | Neurospora crassa | TTAGGG |
ราเมือก | Physarum, Didymium | TTAGGG |
Dictyostelium | AG(1-8) | |
โปรโตซัวคิเนโทพลาสทิด | Trypanosoma, Crithidia | TTAGGG |
โปโตซัวซีลีเอท | Tetrahymena, Glaucoma | TTGGGG |
พารามีเซียม | TTGGG(T/G) | |
Oxytricha, Stylonychia, Euplotes | TTTTGGGG | |
โปโตซัวอะพิคอมเพลกซา | Plasmodium | TTAGGG(T/C) |
พืชชั้นสูง | Arabidopsis thaliana | TTTAGGG |
Cestrum elegans | TTTTTTAGGG[9] | |
Allium | CTCGGTTATGGG[10] | |
Zostera marina | TTAGGG[11] | |
สาหร่ายสีเขียว | Chlamydomonas | TTTTAGGG |
แมลง | Bombyx mori | TTAGG |
หนอนตัวกลม | Ascaris lumbricoides | TTAGGC |
ฟิชชั่นยีสต์ | Schizosaccharomyces pombe | TTAC(A)(C)G(1-8) |
บัดดิงยีสต์ | Saccharomyces cerevisiae | TGTGGGTGTGGTG (จาก RNA template) or G(2-3)(TG)(1-6)T (ค่าร่วมหลักกลาง) |
Saccharomyces castellii | TCTGGGTG | |
Candida glabrata | GGGGTCTGGGTGCTG | |
Candida albicans | GGTGTACGGATGTCTAACTTCTT | |
Candida tropicalis | GGTGTA[C/A]GGATGTCACGATCATT | |
Candida maltosa | GGTGTACGGATGCAGACTCGCTT | |
Candida guillermondii | GGTGTAC | |
Candida pseudotropicalis | GGTGTACGGATTTGATTAGTTATGT | |
Kluyveromyces lactis | GGTGTACGGATTTGATTAGGTATGT |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Biochemistry, Lippincott's Illustrated Reviews, 6th edition, Richard Harvey, 2014, page 407.
- ↑ Witzany G (2008). "The viral origins of telomeres, telomerases and their important role in eukaryogenesis and genome maintenance". Biosemiotics. 1 (2): 191–206. doi:10.1007/s12304-008-9018-0. S2CID 207415262.
- ↑ Sadava, D., Hillis, D., Heller, C., & Berenbaum, M. (2011). Life: The science of biology (9th ed.), Sunderland, MA: Sinauer Associates Inc.[ต้องการเลขหน้า]
- ↑ Okuda K, Bardeguez A, Gardner JP, Rodriguez P, Ganesh V, Kimura M, และคณะ (September 2002). "Telomere length in the newborn" (PDF). Pediatric Research. 52 (3): 377–81. doi:10.1203/00006450-200209000-00012. PMID 12193671. S2CID 4004959.
- ↑ Arai Y, Martin-Ruiz CM, Takayama M, Abe Y, Takebayashi T, Koyasu S, และคณะ (October 2015). "Inflammation, But Not Telomere Length, Predicts Successful Ageing at Extreme Old Age: A Longitudinal Study of Semi-supercentenarians". EBioMedicine. 2 (10): 1549–58. doi:10.1016/j.ebiom.2015.07.029. PMC 4634197. PMID 26629551. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-11. สืบค้นเมื่อ 2020-09-03.
- ↑ Dalgård C, Benetos A, Verhulst S, Labat C, Kark JD, Christensen K, และคณะ (October 2015). "Leukocyte telomere length dynamics in women and men: menopause vs age effects". International Journal of Epidemiology. 44 (5): 1688–95. doi:10.1093/ije/dyv165. PMC 4681111. PMID 26385867.
- ↑ Passarge, Eberhard. Color atlas of genetics, 2007.
- ↑ "TERT gene". Genetics Home Reference (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-11-11.
- ↑ Peška V, Fajkus P, Fojtová M, Dvořáčková M, Hapala J, Dvořáček V, และคณะ (May 2015). "Characterisation of an unusual telomere motif (TTTTTTAGGG)n in the plant Cestrum elegans (Solanaceae), a species with a large genome". The Plant Journal. 82 (4): 644–54. doi:10.1111/tpj.12839. PMID 25828846.
- ↑ Fajkus P, Peška V, Sitová Z, Fulnečková J, Dvořáčková M, Gogela R, และคณะ (February 2016). "Allium telomeres unmasked: the unusual telomeric sequence (CTCGGTTATGGG)n is synthesized by telomerase". The Plant Journal. 85 (3): 337–47. doi:10.1111/tpj.13115. PMID 26716914. S2CID 206331112.
- ↑ Peska, Vratislav; Mátl, Martin; Mandákova, Terezie; Vitales, Daniel; Fajkus, Petr; Fajkus, Jiří; Garcia, Sònia (2020-03-12). "Human-like telomeres in Zostera marina reveal a mode of transition from the plant to the human telomeric sequences" (ภาษาอังกฤษ). doi:10.1101/2020.03.11.987156. S2CID 214725911.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- โนเบลเลคเชอร์ Telomeres and Telomerase: The Means to the End โดย เอลิซาเบธ แบลกค์เบิร์น ซึ่งมีการระบุถึงผลกระทบของความเครียดและการมองโลกในแง่ลบ ความหมดอาลัยตายอยาก ต่อความยาวของเทโลเมียร์
- โนเบลเลคเชอร์ Telomerase and the Consequences of Telomere Dysfunction โดย Carol Greider
- โนเบลเลคเชอร์ DNA Ends: Just the Beginning โดย Jack Szostak