เอตา
ประเทศบาสก์และเสรีภาพ | |
---|---|
มีส่วนร่วมในBasque conflict | |
Euskadi Ta Askatasuna's symbol | |
ปฏิบัติการ | 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2502 – 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
|
แนวคิด | ชาตินิยมบาสก์ Revolutionary socialism European federalism[1][2] |
ผู้นำ | Josu Urrutikoetxea David Pla Iratxe Sorzabal Izaskun Lesaka Mikel Irastorza |
กองบัญชาการ | Greater Basque Country |
พื้นที่ปฏิบัติการ | Principally Spain France (largely as operative base and safe haven) |
พันธมิตร |
|
ปรปักษ์ | สเปน ฝรั่งเศส |
เอตา (บาสก์: ETA) หรือ ประเทศบาสก์และเสรีภาพ (บาสก์: Euskadi Ta Askatasuna) หรือที่สื่อไทยบางแห่งเรียก กบฏแบ่งแยกดินแดนแคว้นบาสก์[5] เป็นองค์กรชาตินิยมและแบ่งแยกดินแดนติดอาวุธชาวบาสก์ กลุ่มนี้ก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2502 และได้วิวัฒนาจากกลุ่มที่สนับสนุนวัฒนธรรมบาสก์ดั้งเดิมไปเป็นกลุ่มกึ่งทหารโดยมีจุดประสงค์เพื่อบรรลุเอกราชแก่มหาประเทศบาสก์ (Greater Basque Country) [6][7] ซึ่งครอบคลุมตอนเหนือบางส่วนของประเทศสเปนและตอนใต้บางส่วนของประเทศฝรั่งเศส เอตาเป็นองค์การหลักของขบวนการปลดปล่อยแห่งชาติบาสก์ และเป็นตัวการสำคัญในความขัดแย้งบาสก์ เอตาประกาศหยุดยิงใน พ.ศ. 2532, 2539, 2541 และ 2549 แต่ละเมิดในภายหลัง อย่างไรก็ดี วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 เอตาประกาศหยุดยิงรอบใหม่[8] ซึ่งยังมีผลใช้บังคับ ยิ่งไปกว่านั้น วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2554 เอตาประกาศ "การยุติขั้นสุดท้ายของกิจกรรมติดอาวุธของตน"[9]
นับตั้งแต่ พ.ศ. 2502 เอตาถูกประณามว่าสังหารประชาชนไป 829 คน ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บหลายพันคน และลักพาตัวคนไปหลายสิบคน[10][11][12][13] กลุ่มดังกล่าวถูกต้องห้ามเป็นองค์การก่อการร้ายโดยทางการหลายประเทศ มีสมาชิกองค์การมากกว่า 700 คนถูกจำคุกอยู่ในสเปน ฝรั่งเศส และประเทศอื่น[14]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Azcona Pastor, José Manuel (2011). "El nacionalismo vasco y la deriva terrorista de ETA.". ใน Azcona Pastor, José Manuel (บ.ก.). Sociedad del bienestar, vanguardias artísticas, terrorismo y contracultura. Madrid: Dykinson. pp. 220–221.
- ↑ ETA (1962). Libro Blanco. pp. 89–90.
- ↑ Lionel Henry; Annick Lagadec (2006). FLB-ARB: L'Histoire (1966–2005). Foesnant: Yoran Embanner. p. 136.
- ↑ FLB/ARB Délegation exterieur, Euskadi ta Askatasuna, Irish Republican Publicity Bureau (1972). "Communiqué". Documentos Y Vol. 12. p. 386.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ "รบ.สเปนเมินข้อเสนอหยุดยิงกบฏอีทีเอ". ไทยรัฐ. September 6, 2010. สืบค้นเมื่อ October 22, 2011.
- ↑ Goiz Argi เก็บถาวร 2019-01-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Goiz Argi. Retrieved on 30 January 2011. (สเปน)
- ↑ Goiz Argi เก็บถาวร 2016-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Goiz Argi (27 January 2002). Retrieved on 2011-01-30. (สเปน)
- ↑ "Basque separatist group เอตา'declares ceasefire'". BBC News. 5 September 2010. สืบค้นเมื่อ 5 September 2010.
- ↑ "Basque group เอตาsays armed campaign is over". BBC News. 20 October 2011. สืบค้นเมื่อ 20 October 2011.
- ↑ "Lista de víctimas mortales". Ministerio del Interior (ภาษาสเปน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-15. สืบค้นเมื่อ 19 September 2010.
- ↑ "Datos significativos del conflicto vasco, 1968–2003". Eusko News (ภาษาสเปน). 2003. สืบค้นเมื่อ 19 January 2011.
- ↑ เอตาhas killed 829 people as of 19 January 2011 เก็บถาวร 2010-09-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Spanish Ministerio del Interior
- ↑ Peace at Last? | People & Places | Smithsonian Magazine เก็บถาวร 2013-04-19 ที่ Archive-It. Smithsonianmag.com. Retrieved on 30 January 2011.
- ↑ La cifra de presos de เอตาes la más alta de la última década con 728 encarcelados El Confidencial, 7 January 2008 (สเปน)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ETA