ข้ามไปเนื้อหา

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (ประเทศไทย)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ทบวงมหาวิทยาลัย)
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
Office of the Higher Education Commission
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง9 กันยายน พ.ศ. 2515
(52 ปี 50 วัน)
หน่วยงานก่อนหน้า
  • ทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ สำนักนายกรัฐมนตรี (2515-2520)
  • ทบวงมหาวิทยาลัย (2520-2545)
ยุบเลิก2 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
(5 ปี 180 วัน)
หน่วยงานสืบทอด
สำนักงานใหญ่328 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
งบประมาณต่อปี6,915.3777 ล้านบาท (พ.ศ. 2559)[1]
รัฐมนตรี
  • ศุภมาส อิศรภักดี
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • ศ. ดร. สัมพันธ์ ฤทธิเดช, เลขาธิการ
  • ขจร จิตสุขุมมงคล, รองเลขาธิการ
  • ดร.อรสา ภาววิมล, รองเลขาธิการ
  • รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์, รองเลขาธิการ
ต้นสังกัดหน่วยงานกระทรวงศึกษาธิการ
เว็บไซต์www.mua.go.th

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (ย่อว่า สกอ.; อังกฤษ: Office of the Higher Education Commission, OHEC) เป็นหนึ่งในห้าองค์กรหลัก และอดีตหน่วยงานในสังกัดของกระทรวงศึกษาธิการ มีคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) ทำหน้าที่ในการดูแลและรับผิดชอบการศึกษาระดับอุดมศึกษา ตั้งอยู่ 328 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400

ภายหลังการประกาศใช้พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2562[2] และ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562[3] สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ยุติบทบาทลง โดยได้ถ่ายโอนหน้าที่และความรับผิดชอบที่เกี่ยวข้องให้สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่จัดตั้งขึ้นใหม่ตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป[4]

ประวัติ

[แก้]

การศึกษาขั้นอุดมศึกษาของประเทศไทยเริ่มตั้งแต่รัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีทั้งโรงเรียนแพทย์ โรงเรียนกฎหมาย และ โรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน ซึ่งต่อมา ในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการสถาปนามหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย อันได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยอีกหลายแห่งต่อมา แต่มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นมานั้น อยู่ภายใต้การปกครองของหลายกระทรวง เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ, มหาวิทยาลัยมหิดล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข และ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นต้น ซึ่งทำให้ยากแก่การบริหารจัดการ

พ.ศ. 2502 จึงได้มีการตราพระราชบัญญัติโอน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ มหาวิทยาลัยศิลปากร ไปสังกัด สำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อความสะดวกทั้งด้านวิชาการและการบริหารงาน [5]

ช่วงปี พ.ศ. 2507 - 2511 ได้มีการสถาปนามหาวิทยาลัยขึ้นอีก 3 แห่ง คือ

  1. พ.ศ. 2507 สถาปนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  2. พ.ศ. 2509 สถาปนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  3. พ.ศ. 2511 สถาปนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รวมทั้งได้มีการสถาปนาสถาบันขึ้นอีก 1 แห่ง คือ พ.ศ. 2509 สถาปนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

พ.ศ. 2514 สภาการศึกษาแห่งชาติ ร่วมกับ ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัย ได้เสนอต่อ จอมพลถนอม กิตติขจร หัวหน้าคณะปฏิวัติว่า มหาวิทยาลัยควรมีอิสระในการปกครองตนเอง มีเสรีภาพทางวิชาการ จึงควรแยกมหาวิทยาลัยให้เป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐบาล หรือตั้งทบวงอิสระในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อเป็นต้นสังกัดของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ และได้สถาปนามหาวิทยาลัยขึ้นอีก 1 แห่ง คือ พ.ศ. 2514 สถาปนา มหาวิทยาลัยรามคำแหง

พ.ศ. 2515 มีประกาศคณะปฏิวัติ เมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2515 ให้สถาปนา "ทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ" ขึ้น โดยมีรัฐมนตรีเป็นผู้กำกับดูแล ซึ่งรัฐมนตรีคนแรก คือ ศาสราจารย์ บุญรอด บิณฑสันต์

พ.ศ. 2517 สถาปนา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จาก วิทยาลัยวิชาการศึกษา ได้ย้ายสังกัดจาก กระทรวงศึกษาธิการ มาสังกัด ทบวงมหาวิทยาลัย และ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ได้ย้ายสังกัดจาก กระทรวงศึกษาธิการ มาสังกัด ทบวงมหาวิทยาลัย ด้วยเช่นกัน

พ.ศ. 2518 สถาปนา สถาบันเทคโนโลยีการเกษตร จาก วิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงใหม่ ได้ย้ายสังกัดจาก กระทรวงศึกษาธิการ มาสังกัด ทบวงมหาวิทยาลัย[6]

พ.ศ. 2520 ได้มีพระราชบัญญัติเปลี่ยนชื่อ "ทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ" เป็น "ทบวงมหาวิทยาลัย" (อักษรย่อ:ทม) และยกฐานะเป็นทบวงอิสระ ไม่อยู่ในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารงาน

การจัดการราชการของทบวงมหาวิทยาลัย ประกอบไปด้วยส่วนราชการดังต่อไปนี้

(ข้อมูลจากพ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2534)

พ.ศ. 2546 มีประกาศพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 ทำให้ "ทบวงมหาวิทยาลัย" เปลี่ยนเป็น "สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา" สังกัด กระทรวงศึกษาธิการ [7]

พ.ศ. 2562 มีพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2562 ให้ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เป็น สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม เป็นต้นไป [8] และให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ หนี้ ภาระผูกพัน เงินงบประมาณบุคลากรของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ซึ่งเป็นส่วนราชการในกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปเป็นของสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม[9]

สัญลักษณ์ประจำสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

[แก้]

เครื่องหมายราชการ

[แก้]

สืบเนื่องมาจากทบวงมหาวิทยาลัยได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้ตราประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว นั่นคือ "พระวชิระ" เป็นตราประจำทบวงมหาวิทยาลัย ซึ่งต่อมาทบวงมหาวิทยาลัยได้เปลี่ยนเป็น "สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา" จึงได้อัญเชิญ "พระวชิระ" มาเป็นตราประจำสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาสืบเนื่องมา

สีประจำสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

[แก้]

สีประจำสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้แก่ สีม่วง-น้ำเงิน โดย

หน้าที่ ความรับผิดชอบ

[แก้]

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษามีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการอุดมศึกษาและจัดทำข้อเสนอนโยบายและมาตรฐานการอุดมศึกษา จัดทำแผนพัฒนาการอุดมศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผนการศึกษาแห่งชาติและพันธสัญญาที่เป็นไปตามข้อเสนอตกลงระหว่างประเทศ พร้อมทั้งวิเคราะห์ หลักเกณฑ์ และแนวทางการสนับสนุนทรัพยากร จัดตั้ง จัดสรรงบประมาณอุดหนุนสถาบันอุดมศึกษาและวิทยาลัยชุมชนตามหลักเกณฑ์และแนวทางที่กำหนด ตลอดจนเสนอแนะการจัดตั้ง ยุบ รวม ปรับปรุงและยกเลิกสถาบันอุดมศึกษาและวิทยาลัยชุมชน นอกจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษายังมีหน้าที่ประสานและส่งเสริมการดำเนินงานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และศักยภาพนักศึกษา รวมทั้งผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส ในระบบอุดมศึกษา และการประสาน ส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ และเพื่อสนับสนุนการพัฒนาประเทศ รวมทั้งพัฒนาระบบและดำเนินการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการจัดการอุดมศึกษา และการรวบรวมข้อมูล จัดทำสารสนเทศด้านการอุดมศึกษา และดำเนินงานฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการการอุดมศึกษาและคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ตลอดจนปฏิบัติงานอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

โครงสร้างการแบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

  1. สำนักอำนวยการ (สอ.)
  2. สำนักนโยบายและแผนการอุดมศึกษา (สนผ.)
  3. สำนักประสานและส่งเสริมกิจการอุดมศึกษา (สสอ.)
  4. สำนักมาตรฐานและคุณภาพอุดมศึกษา (สมอ.)
  5. สำนักยุทธศาสตร์อุดมศึกษาต่างประเทศ (สยต.)
  6. สำนักส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพอุดมศึกษา (สพน.)
  7. สำนักส่งเสริมและพัฒนาสมรรถนะบุคลากร (สพบ.)
  8. สำนักติดตามและประเมินผลอุดมศึกษา (สตป.)*
  9. สำนักนิติการ (สนก.)*

*หน่วยงานภายในที่จัดตั้งขึ้นใหม่

รายนามเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา

[แก้]
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
รายนามเลขาธิการ วาระการดำรงตำแหน่ง
1. ศาสตราจารย์ ร้อยตำรวจเอก วรเดช จันทรศร 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 – 19 เมษายน พ.ศ. 2547
2. นางพรนิภา ลิมปพยอม 20 เมษายน พ.ศ. 2547 – 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 (รักษาการ)
3. ศาสตราจารย์พิเศษ เภสัชกร ภาวิช ทองโรจน์ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 – 1 มิถุนายน พ.ศ. 2547 (รักษาการ)
2 มิถุนายน พ.ศ. 2547 – 30 กันยายน พ.ศ. 2549
4. นางสาวจิรณี ตันติรัตนวงศ์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 – 26 ธันวาคม พ.ศ. 2549 (รักษาการ)
5. ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร 27 ธันวาคม พ.ศ. 2549 – 14 มกราคม พ.ศ. 2550 (รักษาการ)
15 มกราคม พ.ศ. 2550 – 30 กันยายน พ.ศ. 2550
6. ดร.สุเมธ แย้มนุ่น 1 ตุลาคม พ.ศ. 2550 – 30 กันยายน พ.ศ. 2555
7. นายอภิชาติ จีระวุฒิ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 – 30 กันยายน พ.ศ. 2556
8. ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556 – 27 มิถุนายน พ.ศ. 2557[10]
9. รองศาสตราจารย์ นพ.กำจร ตติยกวี 27 มิถุนายน พ.ศ. 2557 – 17 เมษายน พ.ศ. 2558[11]
10. รองศาสตราจารย์ ดร.พินิติ รตะนานุกูล 17 เมษายน พ.ศ. 2558 – 30 กันยายน พ.ศ. 2558
11. นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 – 30 กันยายน พ.ศ. 2559

12. นายสุภัทร จำปาทอง

1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 – 25 ธันวาคม พ.ศ. 2561[12]
13. ศ.ดร.สัมพันธ์ ฤทธิเดช 12 เมษายน พ.ศ. 2562[13] - 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 เล่ม 132 ตอนที่ 91ก วันที่ 25 กันยายน 2558
  2. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๖๒ เก็บถาวร 2019-05-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 136, ตอนที่ 47 ก, วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562, หน้า 1
  3. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ๒๕๖๒ , เล่ม 136, ตอนที่ 57 ก, วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562, หน้า 79
  4. "ทรงลงพระปรมาภิไธยตั้งกระทรวงอุดม โครงสร้างใหม่มีผลบังคับใช้ 2 พ.ค." ไทยรัฐ: 1. 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  5. 85 ก 76 (9), พระราชบัญญัติโอนมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ และมหาวิทยาลัยศิลปากร ไปสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๐๒, 2 กันยายน พ.ศ. 2502 (in ไทย). สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2560.
  6. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-17. สืบค้นเมื่อ 2019-05-01.
  7. "พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-20. สืบค้นเมื่อ 2010-06-01.
  8. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๖๒ เก็บถาวร 2019-05-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 136, ตอนที่ 47 ก, วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562, หน้า 1
  9. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ๒๕๖๒ , เล่ม 136, ตอนที่ 57 ก, วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562, หน้า 79
  10. ราชกิจจานุเบกษา, คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๗๙/๒๕๕๗ เรื่อง การกำหนดตำแหน่งเพิ่มและการแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่ง เล่ม ๑๓๑ ตอนพิเศษ ๑๒๕ ง หน้า ๑๔ วันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๗
  11. ราชกิจจานุเบกษา, คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๖/๒๕๕๘ เรื่อง การกำหนดตำแหน่งเพิ่มและการแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่ง เล่ม ๑๓๒ ตอนพิเศษ ๘๗ ง หน้า ๑ วันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๕๘
  12. 11 ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ เล่ม 135 ตอนพิเศษ 334 ง หน้า 16 วันที่ 28 ธันวาคม 2561
  13. ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาพ้นจากตำแหน่งและแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ เล่ม 136 ตอนพิเศษ 95 ง หน้า 6 วันที่ 17 เมษายน 2562

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]