การจัดหมู่หนังสือแบบหอสมุดรัฐสภา
'การจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมสากล (อังกฤษ: Library of Congress Classification, ย่อ: LCC) เป็นระบบการจัดหมู่ของห้องสมุดที่หอสมุดรัฐสภาพัฒนาขึ้น หอสมุดวิจัยและวิชาการส่วนมากในสหรัฐและอีกหลายประเทศใช้ระบบดังกล่าว ในประเทศเหล่านี้ ห้องสมุดสาธารณะส่วนมากและห้องสมุดวิชาการขนาดเล็กยังใช้การจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมดิวอี้ที่เก่ากว่า[1]
เฮอร์เบิร์ต พัทนัม (Herbert Putnum) ประดิษฐ์การจำแนกนี้ใน ค.ศ. 1897 ไม่นานก่อนเขาดำรงตำแหน่งบรรณารักษ์รัฐสภา ด้วยคำแนะนำจากชาลส์ แอมมี คัตเตอร์ (Charles Ammi Cutter) ได้รับอิทธิพลจากการจำแนกขยายคัตเตอร์ (Cutter Expansive Classification) ของเขา, ระบบทศนิยมดิวอี้และระบบการจัดหมู่พัทนัม (Putnam Classification System)[2][3] ระบบนี้ได้รับการออกแบบเฉพาะเพื่อความมุ่งหมายและการเก็บรวบรวมของหอสมุดรัฐสภาเพื่อแทนระบบที่ตั้งถาวรที่ทอมัส เจฟเฟอร์สันพัฒนา เมื่อพัทนัมออกจากตำแหน่งใน ค.ศ. 1939 ทุกหมวดใหญ่ยกเว้น K (กฎหมาย) และบางส่วนของ B (ปรัชญาและศาสนา) ได้รับพัฒนาดีแล้ว
LCC ถูกวิจารณ์ว่าขาดรากฐานทางทฤษฎีที่สมเหตุสมผล การตัดสินใจจัดหมู่หลายอย่างมาจากความต้องการทางปฏิบัติของหอสมุดมิใช่การจัดหมู่แบบญาณวิทยา แม้ระบบนี้แบ่งเรื่องเป็นประเภทใหญ่ ๆ แต่มีสภาพแท้จริงแล้วแจงนับ คือ ระบบนี้ชี้นำไปยังหนังสือที่มีอยู่ในการเก็บรวบรวมของห้องสมุดหนึ่ง ๆ มิใช่การจัดหมู่ของโลก
หมวดหมู่
[แก้]พยัญชนะ | เขตเรื่อง |
---|---|
A | งานทั่วไป |
B | ปรัชญา จิตวิทยา และศาสนา |
C | ศาสตร์สนับสนุนของประวัติศาสตร์ |
D | ประวัติศาสตร์ทั่วไปและโลกเก่า |
E | ประวัติศาสตร์อเมริกา |
F | ประวัติศาสตร์สหรัฐและบริติช ดัตช์ ฝรั่งเศส และลาตินอเมริกา |
G | ภูมิศาสตร์ มานุษยวิทยา และนันทนาการ |
H | สังคมศาสตร์ |
J | รัฐศาสตร์ |
K | กฎหมาย |
L | การศึกษา |
M | ดนตรี |
N | ประณีตศิลป์ |
P | ภาษาและวรรณกรรม |
Q | วิทยาศาสตร์ |
R | แพทยศาสตร์ |
S | เกษตรกรรม |
T | เทคโนโลยี |
U | วิทยาการทหาร |
V | นาวิกศาสตร์ |
Z | บรรณานุกรม บรรณารักษศาสตร์ และทรัพยากรสารสนเทศทั่วไป |
หมวดหมู่ A – งานทั่วไป
[แก้]- หมวดหมู่ย่อย AC – ประชุมบทนิพนธ์ ชุด งานที่รวบรวมไว้
- หมวดหมู่ย่อย AE – สารานุกรม
- หมวดหมู่ย่อย AG – พจนานุกรมและงานอ้างอิงทั่วไปอื่น
- หมวดหมู่ย่อย AI – ดัชนี
- หมวดหมู่ย่อย AM – พิพิธภัณฑ์ ผู้สะสมและการสะสม
- หมวดหมู่ย่อย AN – หนังสือพิมพ์
- หมวดหมู่ย่อย AP – วารสาร
- หมวดหมู่ย่อย AS – สำนักวิชาและสมาคมวิชาการ
- หมวดหมู่ย่อย AY – หนังสือรายปี กาลานุกรม สารบบ
- หมวดหมู่ย่อย AZ – ประวัติศาสตร์วิชาการและการเรียนรู้ มนุษยศาสตร์
หมวดหมู่ B – ปรัชญา จิตวิทยา ศาสนา
[แก้]- หมวดหมู่ย่อย B – ปรัชญา (ทั่วไป)
- หมวดหมู่ย่อย BC – ตรรกศาสตร์
- หมวดหมู่ย่อย BD – ปรัชญาคาดคะเน
- หมวดหมู่ย่อย BF – จิตวิทยา
- หมวดหมู่ย่อย BH – สุนทรียศาสตร์
- หมวดหมู่ย่อย BJ – จริยศาสตร์
- หมวดหมู่ย่อย BL – ศาสนา ปรัมปราวิทยา เหตุผลนิยม
- หมวดหมู่ย่อย BM – ศาสนายูดาย
- หมวดหมู่ย่อย BP – ศาสนาอิสลาม ศาสนาบาไฮ เทวปรัชญา ฯลฯ
- หมวดหมู่ย่อย BQ – ศาสนาพุทธ
- หมวดหมู่ย่อย BR – ศาสนาคริสต์
- หมวดหมู่ย่อย BS – คัมภีร์ไบเบิล
- หมวดหมู่ย่อย BT – เทววิทยาหลัก
- หมวดหมู่ย่อย BV – เทววิทยาปฏิบัติ
- หมวดหมู่ย่อย BX – นิกายศาสนาคริสต์
หมวดหมู่ C – ศาสตร์สนับสนุนของประวัติศาสตร์ (ทั่วไป)
[แก้]- หมวดหมู่ย่อย CB – ประวัติศาสตร์อารยธรรม
- หมวดหมู่ย่อย CC – โบราณคดี
- หมวดหมู่ย่อย CD – การทูต จดหมายเหตุ ตรา
- หมวดหมู่ย่อย CE – ลำดับเวลาเทคนิค ปฏิทิน
- หมวดหมู่ย่อย CJ – วิชาสะสมเงิน
- หมวดหมู่ย่อย CN – รอยจารึก การศึกษารอยจารึกโบราณ
- หมวดหมู่ย่อย CR – มุทราศาสตร์
- หมวดหมู่ย่อย CS – พงศาวลีวิทยา
- หมวดหมู่ย่อย CT – ชีวประวัติ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Lavallee, Andrew (July 20, 2007). "Discord Over Dewey: A New Library in Arizona Fans a Heated Debate Over What Some Call the 'Googlization' of Libraries". Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 25 May 2013.
Some 95% of U.S. public libraries use Dewey, and nearly all of the others, the OCLC says, use a closely related Library of Congress system.
- ↑ Claire Kelley. "A library classification system that’s older than the Dewey Decimal and Library of Congress models". เก็บถาวร 2015-12-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Andy Sturdevant. "Cracking the spine on Hennepin County Library's many hidden charms". MinnPost, 02/05/14.