จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วันอาทิตย์นองเลือด/อาทิตย์สีแดง |
---|
ส่วนหนึ่งของ การปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ. 1905 |
ภาพการสลายการชุมนุมในวันที่อาทิตย์ที่ 22 มกราคม 1905 |
วันที่ | 22 มกราคม [ตามปฎิทินเก่า: 9 มกราคม] 1905 |
---|
สถานที่ | เซนต์ปีเตอส์เบิร์ก, จักรวรรดิรัสเซีย |
---|
เป้าหมาย | เพื่อถวายฏีกาต่อพระเจ้าซาร์นิโคไลที่ 2 เพื่อเรียกร้องให้มีการปฏิรูป เช่น การจำกัดอำนาจของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ปรับปรุงเงื่อนไขและชั่วโมงในการทำงาน และการแนะนำประชาชาติ(รัฐสภา) |
---|
วิธีการ | การเดินขบวนแบบแถว |
---|
ผล | การสลายการชุมนุมของคนงาน จุดเริ่มต้นของการปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ. 1905 |
---|
คู่ขัดแย้ง |
---|
การชุมนุมของคนงานในโรงงานของรัสเซียในเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก | | |
ผู้นำ |
---|
|
จำนวน |
---|
ผู้ชุมนุม 3,000 ถึง 50,000 คน |
ทหาร 10,000+ นาย |
|
ความสูญเสียและถูกจับกุม |
---|
เสียชีวิต 143–234 คน บาดเจ็บ 439–800 คน ถูกจับกุม 6,831 คน |
|
|
วันอาทิตย์นองเลือด หรือ วันอาทิตย์ทมิฬ[1] (รัสเซีย: Крова́вое воскресе́нье, อักษรโรมัน: Krovávoye voskresén'e, สัทอักษรสากล: [krɐˈvavəɪ vəskrʲɪˈsʲenʲjɪ]) เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 22 มกราคม [ตามปฎิทินเก่า: 9 มกราคม] 1905 ที่กรุงเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก จักรวรรดิรัสเซีย เมื่อกลุ่มผู้ชุมนุมซึ่งไร้อาวุธ นำโดยบาทหลวง เกออร์กี กาปอน ถูกทหารรักษาพระองค์ของรัสเซียใช้อาวุธปืนในการสลายชุมนุม ในขณะที่พวกเขาเดินขบวนไปยังพระราชวังฤดูหนาวเพื่อถวายฏีกาต่อพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย
วันอาทิตย์นองเลือดทำให้เกิดผลลัพธ์อย่างร้ายแรงต่อระบอบอัตตาธิปไตยของพระเจ้าซาร์ที่ปกครองจักรวรรดิรัสเซีย: เหตุการณ์ในกรุงเซนต์ปีเตอร์เบิร์กได้กระตุ้นความโกรธแค้นของประชาชนและการนัดหยุดงานครั้งใหญ่ที่แพร่กระจายอย่างรวดเร็วไปยังศูนย์กลางอุตสาหกรรมของจักรวรรดิรัสเซีย การสังหารหมู่ในวันอาทิตย์นองเลือดถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของช่วงระยะการก่อตัวของการปฏิวัติ ค.ศ. 1905 นอกจากจะเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติ ค.ศ. 1905 แล้ว นักประวัติศาสตร์บางคน เช่น Lionel Kochan ในหนังสือของเขาที่ชื่อว่า รัสเซียในการปฏิวัติ ค.ศ. 1890-1918 (Russia in Revolution 1890–1918 ) มองว่า เหตุการณ์ในวันอาทิตย์นองเลือดเป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่สำคัญซึ่งนำไปสู่การปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ. 1917
- ↑ A History of Modern Europe 1789–1968 by Herbert L. Peacock m.a.