ข้ามไปเนื้อหา

เครื่องราชอิสริยาภรณ์การ์เทอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งการ์เทอร์
อักษรย่อKG
ประเภทKnight/Lady
Royal Knight/Lady
Stranger Knight/Lady
วันสถาปนาค.ศ. 1348
ประเทศสหราชอาณาจักร
จำนวนสำรับ24 สำรับ
ผู้สมควรได้รับตามพระราชอัธยาศัย
สถานะอยู่ในสมัยพระราชทาน
ผู้สถาปนาสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ
ประธานพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร
สถิติการมอบ
ทั้งหมด1,031 ราย
ลำดับเกียรติ
สูงกว่ากางเขนราชอิสริยาภรณ์จอร์จ
รองมาเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทริสเติล

แพรแถบเครื่องราชอิสริยาภรณ์การ์เทอร์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งการ์เทอร์ (อังกฤษ: The Most Noble Order of the Garter) เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของสหราชอาณาจักร ซึ่งพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษสร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1348 และถือว่าเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่เกี่ยวข้องกับอัศวินที่มีศักดิ์สูงสุดในประเทศอังกฤษและสหราชอาณาจักร โดยใช้ตราสัญลักษณ์ และตราอาร์มของนักบุญจอร์จ นักบุญองค์อุปถัมภ์ประเทศอังกฤษ ได้ชื่อว่าเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก[ต้องการอ้างอิง]

การพระราชทานนั้นจะขึ้นอยู่พระบรมราชวินิจฉัย สมาชิกของเครื่องราชอิสริยาภรณ์นั้นจะถูกจำกัดอยู่เพียงพระมหากษัตริย์ เจ้าชายแห่งเวลส์ และสมาชิกประเภท (Companion Orders) อีกไม่เกิน 24 สำรับ ซึ่งยังไม่รวมถึงสมาชิกพิเศษ (Supernumerary members) ซึ่งไม่รวมใน 24 สำรับดังกล่าว โดยพระราชทานให้แก่พระบรมวงศานุวงศ์ พระราชวงศ์ต่างประเทศ และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่มีความดีความชอบ

พิธีพระราชทานนั้นจะกำหนดขึ้นในวันนักบุญจอร์จ (St. George's Day) ซึ่งตรงกับวันที่ 23 เมษายน เนื่องจากองค์อุปถัมป์ของเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้คือนักบุญจอร์จ[1] โดยมีเกณฑ์พระราชทานให้เฉพาะคริสต์ศาสนิกชนเท่านั้น[ต้องการอ้างอิง]

ประวัติ

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์การ์เทอร์ สถาปนาขึ้นใน พ.ศ. 1891 โดยสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ คำว่า "Garter" แปลว่า "สายรัดถุงเท้าของสตรี" โดยในสมัยนั้น ยังอยู่ในยุคอัศวินยุคกลางที่ยังยกย่องสตรีอยู่ ซึ่งสูงศักดิ์พอที่จะใช้เป็นชื่อเครื่องราชอิสริยาภรณ์ได้ โดยมีภาษิตที่ว่า "คนที่คิดร้ายจะต้องได้บาป" (Honi soit qui mal y pense)[ต้องการอ้างอิง]

การพระราชทาน

[แก้]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์การ์เทอร์
เสื้อคลุมเเละหมวกเเห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์การ์เทอร์ สามารถพระราชทานได้ ตามพระราชอัธยาศัย[ต้องการอ้างอิง] โดยมี 24 สำรับด้วยกัน และไม่มีการจัดสร้างเพิ่ม[ต้องการอ้างอิง]

องค์ประกอบ

[แก้]

สมาชิกสามัญ

[แก้]
Knight Companion ในระหว่างการเดินสวนสนามไปยังวิหาร St George's Chapel สำหรับพิธีการ์เทอร์

จำนวนผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์การ์เทอร์นั้นจำกัดเพียงแค่พระมหากษัตริย์ เจ้าชายแห่งเวลส์ และสำหรับผู้ได้รับพระราชทานอื่นๆ อีกไม่เกิน 24 สำรับ ซึ่งไม่รวมถึงสมาชิกประเภทพิเศษอีกจำนวนมาก โดยการพระราชทานนั้นขึ้นอยู่กับพระราชอัธยาศัย[2] โดยการออกพระนามสำหรับพระมหากษัตริย์นั้นจะเรียกว่า "Sovereign of the Garter" และเจ้าชายแห่งเวลส์เป็น "Royal Knight Companion of the Garter"[3]

ผู้ได้รับพระราชทานที่เป็นบุรุษจะเรียกว่า "Knights Companion" และสตรี "Ladies Companion" ในอดีต ธรรมเนียมการคัดเลือกผู้ได้รับพระราชทานนั้นจะมาจากการคัดเลือกตัวแทนจากสมาชิก โดยแต่ละสมาชิกจะเสนอชื่อจำนวนเก้าชื่อ โดยจะต้องมีผู้ที่ถือบรรดาศักดิ์เอิร์ลหรือสูงกว่าจำนวน 3 คน ผู้ที่มีบรรดาศักดิ์เป็นบารอนหรือสูงกว่าจำนวน 3 คน และผู้ที่มีบรรดาศักดิ์เป็นอัศวินหรือสูงกว่าจำนวน 3 คน โดยพระมหากษัตริย์จะทรงเลือกเสนอชื่อจำนวนเท่าใดก็ได้เพื่อที่จะแทนตำแหน่งที่ว่างลง โดยพระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งสิทธิ์ขาดในการเลือกผู้ที่จะพระราชทานให้ โดยมิจำเป็นจะต้องเลือกผู้ที่ได้รับเสียงมากที่สุดจากการเสนอชื่อ โดยการเสนอชื่อโดยสมาชิกนั้นกระทำครั้งสุดท้ายในปีค.ศ. 1860 และจากนั้นมาพระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้แต่งตั้งโดยมิต้องมีการเสนอชื่อใดๆ โดยสมาชิกแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ โดยเกณฑ์การพระราชทานนั้นได้ถูกเปลี่ยนแปลงเป็นลายลักษณ์อักษรในปีค.ศ. 1953[4]: 198 

ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา พระมหากษัตริย์จะทรงเลือกผู้ได้รับพระราชทานโดยมีพระบรมราชวินิจฉัยจากคำเสนอแนะของคณะรัฐบาล ในปีค.ศ. 1946 โดยการตกลงระหว่างคลีเมนต์ แอตลี นายกรัฐมนตรี และวินสตัน เชอร์ชิล ผู้นำฝ่ายค้าน ได้เสนอให้พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งสิทธิ์ขาดแต่เพียงพระองค์เดียวในการเลือกผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่เกี่ยวข้องกับอัศวินที่มีลำดับเกียรติสูงสุดอีกคราหนึ่ง[5] ซึ่งรวมถึงเครื่องราชอิสริยาภรณ์การ์เทอร์ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ทริสเติล และ เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญแพทริก (พ้นสมัยพระราชทาน) ดังนั้นพระมหากษัตริย์จะทรงเลือก Knights Companion และ Ladies Companion โดยพระบรมราชวินิจฉัยของพระองค์เอง[6]

สมาชิกพิเศษ

[แก้]
จักรพรรดิไทโช ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์การ์เทอร์เต็มยศ สืบเนื่องจากการเป็นพันธมิตรระหว่างอังกฤษและญี่ปุ่น

สมาชิกพิเศษแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์การ์เทอร์ ซึ่งไม่ได้ถูกนับรวมใน 24 สำรับของสมาชิกสามัญ โดยผู้ที่ได้รับพระราชทานสมาชิกพิเศษนั้นหากเป็นสมาชิกในพระราชวงศ์ จะเรียกว่า "Royal Knights and Ladies of Garter" ซึ่งถูกสร้างขึ้นในปีค.ศ. 1786 ในรัชสมัยของพระเจ้าจอร์จที่ 3 เพื่อที่จะได้มีปริมาณเพียงพอสำหรับพระราชทานแก่พระราชโอรสของพระองค์ ต่อมาในปีค.ศ. 1805 ได้ทรงให้สร้างเพิ่มสำหรับพระราชทานให้แก่พระบรมวงศานุวงศ์สายพระเจ้าจอร์จที่ 2 และต่อมาในปีค.ศ. 1831 ได้ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้สร้างเพิ่มสำหรับพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์สายพระเจ้าจอร์จที่ 1[7]

ภายหลังจากการเสด็จขึ้นครองราชย์ของจักพรรดิอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งรัสเซียในปีค.ศ. 1813 สมาชิกพิเศษได้ถูกสร้างขึ้นเพิ่มเติมเพื่อพระราชทานให้แก่พระราชวงศ์ต่างประเทศ โดยออกพระนามผู้ที่ได้รับพระราชทานว่า "Stranger Knights and Ladies of the Garter"[8] โดยปกติแล้วการแต่งตั้งสมาชิกต่างประเทศนั้น หากเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่เกี่ยวข้องกับอัศวินตระกูลที่มีศักดิ์ต่ำกว่าจะถือว่าได้รับบรรดาศักดิ์เป็นอัศวินกิตติมศักดิ์

ตามธรรมเนียมปฏิบัติแล้ว พระมหากษัตริย์แห่งยุโรปทุกพระองค์จะได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เป็น "Stranger Knights and Ladies of the Garter" แต่อย่างไรก็ตามสมเด็จพระราชาธิบดีคอนสแตนตินที่ 2 แห่งกรีซ ก็ไม่ได้รับพระราชทานต่อจากพระราชบิดา เช่นกันกับสมเด็จพระราชาธิบดีอัลแบร์ที่ 2 แห่งเบลเยียม และสมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิปแห่งเบลเยียม เป็นพระมหากษัตริย์แห่งเบลเยี่ยมเพียงสองพระองค์ที่มิได้เป็นสมาชิกแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ อนึ่ง ในเวลาเดียวกัน สมเด็จพระราชินีนาถยูเลียนาแห่งเนเธอร์แลนด์ และพระราชธิดา สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์ซึ่งรับราชสมบัติต่อ โดยทั้งสองพระองค์ได้เป็นสมาชิกแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ในขณะที่พระราชมารดายังทรงพระชนม์ เช่นเดียวกับกรณีของสมเด็จพระราชาธิบดีควน การ์โลสที่ 1 แห่งสเปน และสมเด็จพระราชาธิบดีเฟลีเปที่ 6 แห่งสเปน

สมาชิกในปัจจุบัน

[แก้]

สมาชิกพระราชวงศ์

[แก้]

สมาชิกพิเศษ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Prince William to join Britain's most exclusive club as Knight of the Garter". Daily Mail. UK. 11 June 2008. สืบค้นเมื่อ 31 December 2009.
  2. Gay, Oonagh (20 March 2006). "Honours Standard Note: SN/PC/2832" (PDF). United Kingdom Parliament. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 16 October 2006. สืบค้นเมื่อ 7 November 2006.
  3. "College of St George – Windsor Castle – Orders of Chivalry". College of St George – Windsor Castle. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2010. สืบค้นเมื่อ 4 มิถุนายน 2010.
  4. Begent, P.J.; Chesshyre, H. (1999). The Most Noble Order of the Garter: 650 Years. London: Spink and Son. ISBN 1-902040-20-1.
  5. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ RH2
  6. "Select Committee on Public Administration Fifth Report". UK Parliament. 13 July 2004. สืบค้นเมื่อ 8 November 2006.
  7. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ ne
  8. "Royal Insight: June 2004: Focus: The Order of the Garter". The Royal Household. June 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 September 2007.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

แม่แบบ:เครื่องราชอิสริยาภรณ์สหราชอาณาจักร