ข้ามไปเนื้อหา

มณฑลเหอหนาน

พิกัด: 33°54′N 113°30′E / 33.9°N 113.5°E / 33.9; 113.5
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เหอหนาน)
มณฑลเหอหนาน

河南省
การถอดเสียงชื่อมณฑล
 • ภาษาจีน河南省 (Hénán Shěng)
 • อักษรย่อHA / HEN / อวี้ ( )
ตามเข็มนาฬิกาจากด้านบน:
แผนที่แสดงที่ตั้งของมณฑลเหอหนาน
แผนที่แสดงที่ตั้งของมณฑลเหอหนาน
พิกัด: 33°54′N 113°30′E / 33.9°N 113.5°E / 33.9; 113.5
ตั้งชื่อจากเหอ ( ) – แม่น้ำ (แม่น้ำเหลือง)
หนาน ( nán) – ทิศใต้
"ทิศใต้ของแม่น้ำเหลือง"
เมืองหลวง
(และเมืองใหญ่สุด)
เจิ้งโจว
จำนวนเขตการปกครอง17 จังหวัด, 159 อำเภอ, 2,455 ตำบล
การปกครอง
 • เลขาธิการพรรคหวาง กั๋วเชิง (王国生)
 • ผู้ว่าการหยิน หง (尹弘)
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด167,000 ตร.กม. (64,000 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 17
ความสูงจุดสูงสุด2,413.8 เมตร (7,919.3 ฟุต)
ประชากร
 (ค.ศ. 2017)[2]
 • ทั้งหมด95,590,000 คน
 • อันดับอันดับที่ 3
 • ความหนาแน่น570 คน/ตร.กม. (1,500 คน/ตร.ไมล์)
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 7
ประชากรศาสตร์
 • องค์ประกอบทางชาติพันธุ์ฮั่น – 98.8%
หุย – 1%
 • ภาษาและภาษาถิ่นภาษาจีนกลางที่ราบภาคกลาง, ภาษาจีนจิ้น
รหัส ISO 3166CN-HA
GDP (ค.ศ. 2018)4.81 ล้านล้านเหรินหมินปี้
725.92 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[3] (อันดับที่ 5)
 • ต่อหัว50,058 เหรินหมินปี้
USD 7,562 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 19)
HDI (ค.ศ. 2018)0.732[4] (สูง) (อันดับที่ 18)
เว็บไซต์henan.gov.cn
มณฑลเหอหนาน
"เหอหนาน" เขียนด้วยตัวอักษรจีน
ภาษาจีน河南
ไปรษณีย์Honan
ความหมายตามตัวอักษร"ทิศใต้ของแม่น้ำ (เหลือง)"
ชื่อย่อ
ภาษาจีน

เหอหนาน (จีน: 河南; พินอิน: Hénán) หรือ ห้อหลำ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน เป็นมณฑลหนึ่งในภาคกลางของสาธารณรัฐประชาชนจีน มีชื่อเดิมคือ จงหยวน หรือ จงโจว (中州) ซึ่งแปลตรงตัวว่า "ที่ราบตอนกลาง" หรือ "ตอนกลาง" บริเวณมณฑลเหอหนานเป็นแหล่งกำเนิดของอารยธรรมจีน โดยมีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 3,000 ปี และยังคงเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการเมืองของจีนมาจนถึงประมาณ 1,000 ปีที่แล้ว

มณฑลเหอหนานเป็นที่ตั้งของแหล่งมรดกหลายแห่ง เช่น อินซฺวี เมืองหลวงแห่งราชวงศ์ชาง และวัดเส้าหลิน รวมถึงเมืองหลวงโบราณของจีนสี่แห่งจากทั้งหมดแปดแห่ง ได้แก่ ลั่วหยาง อันหยาง ไคเฟิง และเจิ้งโจว ก็ตั้งอยู่ในมณฑลเหอหนาน นอกจากนี้ การฝึกฝนไท่เก๊ก (ตระกูลเฉิน) ก็เริ่มขึ้นในหมู่บ้านเฉินเจียโกว มณฑลเหอหนาน เช่นเดียวกับตระกูลหยางและตระกูลอู่ที่เกิดขึ้นในภายหลัง[5]

แม้ว่าชื่อของมณฑลจะหมายถึง "ทิศใต้ของแม่น้ำ" (แม่น้ำเหลือง หรือที่เรียกว่าหวงเหอ)[6] แต่ก็มีพื้นที่หนึ่งในสี่ของมณฑลที่อยู่ทางเหนือของแม่น้ำเหลือง มณฑลเหอหนานมีพื้นที่ 167,000 ตารางกิโลเมตร (64,479 ตารางไมล์) ครอบคลุมพื้นที่ขนาดใหญ่ของที่ราบจีนตอนเหนือที่อุดมสมบูรณ์และมีประชากรหนาแน่น มณฑลที่อยู่ข้างเคียงโดยเรียงตามเข็มนาฬิกาเริ่มจากทิศตะวันตก ได้แก่ ฉ่านซี ชานซี เหอเป่ย์ ชานตง อานฮุย และหูเป่ย์ มณฑลเหอหนานเป็นมณฑลที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 3 ของประเทศ ด้วยจำนวนประชากรกว่า 94 ล้านคน มณฑลเหอหนานยังเป็นมณฑลที่มีหน่วยการปกครองย่อยมากเป็นอันดับ 7 ของประเทศ ถ้าเหอหนานเป็นประเทศ ก็จะเป็นประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 14 ของโลก รองจากอียิปต์ และเวียดนาม

มณฑลเหอหนานมีเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของประเทศ แต่อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อประชากรก็ยังต่ำเมื่อเทียบกับมณฑลอื่น ๆ ในภาคกลางและตะวันออก มณฑลเหอหนานถือเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจน้อยในประเทศจีน[7] เศรษฐกิจของมณฑลเติบโตตามราคาอะลูมิเนียมและถ่านหิน เช่นเดียวกับเกษตรกรรม อุตสาหกรรมหนัก การท่องเที่ยว และการค้าปลีก ส่วนของอุตสาหกรรมไฮเทคและภาคบริการยังด้อยพัฒนาและกระจุกตัวอยู่รอบ ๆ เจิ้งโจวและลั่วหยาง

ภูมิศาสตร์

[แก้]

มณฑลเหอหนานมีพื้นที่ติดต่อดังนี้

ภูมิประเทศ ทิศตะวันตกเป็นเทือกเขาทอดตัวยาวสลับซับซ้อน อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลมากกว่า 1,000 เมตร ทางตะวันออกเป็นพื้นที่ราบ สูงกว่าระดับน้ำทะเลราว 100 เมตร จุดที่สูงที่สุดของมณฑลอยู่ที่ยอดเหล่ายาช่า ในเมืองหลิงเป่า ซึ่งสูงกว่าระดับน้ำทะเลถึง 2413.8 เมตร ภูมิอากาศมีสภาพภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อนกึ่งอบอุ่น มีฤดู 4 ฤดูอย่างชัดเจน อุณหภูมิเฉลี่ยต่อปี 13-15 องศาเซลเซียส

เขตการปกครอง

[แก้]

มณฑลเหอหนานแบ่งออกเป็นเขตการปกครองระดับจังหวัดจำนวน 17 แห่ง โดยทั้งหมดมีฐานะเป็นนครระดับจังหวัด และยังมีนครระดับอำเภอที่บริหารโดยตรงอีก 1 แห่ง (หรือ นครระดับกิ่งจังหวัด)

นครระดับจังหวัดทั้ง 17 แห่ง และนครระดับอำเภอที่บริหารโดยตรงอีก 1 แห่ง ของมณฑลเหอหนานนั้น แบ่งย่อยเป็นเขตการปกครองระดับอำเภอ 158 แห่ง (ประกอบด้วย 52 เขต, 21 นครระดับอำเภอ, และ 85 อำเภอ และนครระดับกิ่งจังหวัดจี้ยฺหวันนั้นนับเป็นนครระดับอำเภอด้วย) ทั้งหมดนี้แบ่งย่อยลงไปอีกเป็นเขตการปกครองระดับตำบลอีก 2,440 แห่ง (ประกอบด้วย 866 เมือง, 1,234 ตำบล, 12 ตำบลชาติพันธุ์, และ 328 แขวง)

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Doing Business in China – Survey". Ministry of Commerce – People's Republic of China. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 August 2013. สืบค้นเมื่อ 5 August 2013.
  2. "China Statistical Yearbook 2018 - Populationat Year-end by Region". National Bureau of Statistics of China.
  3. 河南省2017年国民经济和社会发展统计公报 [Statistical Communiqué of Henan on the 2017 National Economic and Social Development] (ภาษาจีน). Statistical Bureau of Henan. 2018-02-27. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 June 2018. สืบค้นเมื่อ 2018-06-22.
  4. 《2013中国人类发展报告》 (PDF) (ภาษาจีน). United Nations Development Programme China. 2013. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 29 November 2013. สืบค้นเมื่อ 13 May 2014.
  5. "Archived copy". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 October 2018. สืบค้นเมื่อ 5 December 2018.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  6. Origin of the Names of China's Provinces เก็บถาวร 27 เมษายน 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, People's Daily Online. (จีน)
  7. "China dreams on hold: heartland city feels chill of economic slowdown". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 2019-05-28. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 June 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-06-13.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]