ข้ามไปเนื้อหา

รอยนูนหลังร่องกลาง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Somatosensory cortex)
รอยนูนหลังร่องกลาง (Postcentral gyrus)
รอยนูนหลังร่องกลางของสมองในมนุษย์
เขตบร็อดแมนน์ 3 มีสีแดง เขตบร็อดแมนน์ 1 มีสีเขียว เขตบร็อดแมนน์ 2 มีสีเหลือง
รายละเอียด
ตัวระบุ
ภาษาละตินGyrus postcentralis
นิวโรเนมส์105
นิวโรเล็กซ์ IDbirnlex_1070
TA98A14.1.09.128
TA25469
FMA61896
ศัพท์ทางกายวิภาคของประสาทกายวิภาคศาสตร์
ภาพไหวของรอยนูนหลังร่องกลาง

รอยนูนหลังร่องกลาง[1] (อังกฤษ: postcentral gyrus, gyrus postcentralis) ด้านข้างของสมอง เป็นโครงสร้างที่โดดเด่นในสมองกลีบข้างของมนุษย์ และเป็นจุดสังเกตที่สำคัญ เป็นที่อยู่ของคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายปฐมภูมิ[2] (primary somatosensory cortex) เป็นเขตรับสัญญาณความรู้สึกหลักของระบบรับความรู้สึกทางกาย (somatosensory system) และเหมือนกับเขตรับความรู้สึกอื่น ๆ เขตนี้มีแผนที่ปริภูมิของความรู้สึกซึ่งเรียกว่า "cortical homunculus"[3]

คอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายปฐมภูมิในยุคต้น ๆ มีขอบเขตที่กำหนดโดยงานวิจัยกระตุ้นผิวสมองของไวล์เดอร์ เพ็นฟิลด์ และงานวิจัยศักย์ผิวสมองของบาร์ด วูลซีย์ กับมาร์แชลล์ ที่เป็นไปในช่วงเวลาเดียวกัน แม้ว่าในเบื้องต้นจะกำหนดอย่างคร่าว ๆ ว่าเป็นส่วนเดียวกับเขตบร็อดแมนน์ 3-1-2 งานวิจัยในภายหลังของจอน คาสส์ เสนอว่า เพื่อความเหมือนกันกับเขตรับรู้ความรู้สึกอื่น ๆ ควรที่จะกล่าวเขตบร็อดแมนน์ 3 ว่าเป็นคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายปฐมภูมิ เนื่องจากว่าเขตนั้นได้รับสัญญาณมากที่สุดจาก thalamocortical radiations (วิถีประสาททาลามัส-คอร์เทกซ์) ซึ่งมาจากลานสัญญาณที่รับรู้การสัมผัส

ขอบเขต

[แก้]

รอยนูนหลังร่องกลางด้านข้างมีขอบเขต คือ

เขตบร็อดแมนน์ 3-1-2

[แก้]

เขตบร็อดแมนน์ 3-1-2 รวมกันเป็นคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายของสมองในมนุษย์ (หรือย่อว่า S1) เพราะว่า คอร์บิเนียน บร็อดแมนน์ (นักประสาทวิทยาที่จำแนกเขตบร็อดแมนน์) ผ่าสมองเป็นไปในแนวทแยง เขาจึงได้พบเขตที่ 1 ก่อน แต่ว่าถ้าเรียงจากหน้าไปหลัง คอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายปฐมภูมิเป็นส่วนเดียวกับเขตบร็อดแมนน์ 3-1-2

เขตบร็อดแมนน์ 1 อยู่ที่ส่วนยอดของรอยนูนหลังร่องกลาง ส่วนเขตบร็อดแมนน์ 3 แบ่งเป็นเขตย่อย 3a และ 3b อีก โดยที่เขตด้านหน้าของเขต 3a อยู่ที่จุดล่างสุดของร่องกลาง (central sulcus) และตามมาด้วยเขต 3b, เขต 1, และเขต 2 ซึ่งไปสุดที่จุดล่างสุดของร่องหลังร่องกลาง (postcentral sulcus)

เขต 3b ในปัจจุบันได้รับการพิจารณาว่า เป็นคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายปฐมภูมิ เพราะว่า

  1. เป็นเขตที่รับสัญญาณประสาทที่หนาแน่นที่สุดจาก pulvinar nuclei ของ ทาลามัส
  2. เซลล์ประสาทในเขตนี้ทำการตอบสนองต่อตัวกระตุ้นความรู้สึกทางกายในระดับสูง แต่ไม่มีปฏิกิริยาต่อตัวกระตุ้นอื่น ๆ
  3. รอยโรคในเขตนี้ทำการรับรู้ความรู้สึกทางกายให้เสียหาย
  4. การกระตุ้นเขตนี้ด้วยไฟฟ้าผ่านอิเล็กโทรด ก่อให้เกิดประสบการณ์รับรู้ความรู้สึกทางกาย

และแม้ว่า เขต 3a ก็รับสัญญาณประสาทที่หนาแน่นจากทาลามัสเช่นกัน แต่ว่า เขตนี้มีความเกี่ยวข้องกับการรับรู้อากัปกิริยา (proprioception)

เขต 1 และ 2 รับสัญญาณประสาทที่หนาแน่นจากเขต 3b และสัญญาณจากเขต 3b ที่ส่งไปยังเขต 1 โดยมากส่งข้อมูลสืบเนื่องกับผิว (texture เช่นความรู้สึกเกี่ยวกับเนื้อผ้า) ส่วนสัญญาณที่ส่งไปยังเขต 2 เน้นขนาดและรูปร่าง ดังนั้น เราจึงสามารถพยากรณ์ได้อย่างแม่นยำว่า รอยโรคที่จำกัดอยู่ในเขตเหล่านี้ย่อมก่อให้เกิดความบกพร่องในการแยกแยะความรู้สึกเกี่ยวกับผิว ขนาด และรูปร่าง

คอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายก็แบ่งเป็นชั้น ๆ เหมือนกันเขตคอร์เทกซ์ใหม่อื่น ๆ และเหมือนกับคอร์เทกซ์รับรู้ความรู้สึกอื่น ๆ (เช่นคอร์เทกซ์สายตาและคอร์เทกซ์การได้ยิน) แอกซอนจากทาลามัสจะเข้าไปสู่ชั้น 4 ของคอร์เทกซ์ ซึ่งก็จะส่งแอกซอนไปยังชั้นอื่น ๆ สืบต่อไป และเหมือนกับคอร์เทกซ์รับรู้ความรู้สึกอื่น ๆ เซลล์ประสาทของ S1 จับกลุ่มโดยสัญญาณขาเข้าและโดยการตอบสนองที่คล้ายคลึงกัน เป็นคอลัมน์ในคอร์เทกซ์ที่แผ่ไปในทั้งความหนาของเปลือกสมอง (ดังที่แสดงโดยเวอร์นอน เมานต์แคสเติล คือ จับกลุ่มเป็นชั้นที่สลับกันระหว่างชั้นนิวรอนที่ปรับตัวอย่างช้า ๆ และชั้นที่ปรับตัวอย่างรวดเร็ว) คอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายก็แบ่งเป็นชั้น ๆ เหมือนกันเขตคอร์เทกซ์ใหม่อื่น ๆ และเหมือนกับคอร์เทกซ์รับรู้ความรู้สึกอื่น ๆ (เช่นคอร์เทกซ์สายตาและคอร์เทกซ์การได้ยิน) แอกซอนจากทาลามัสจะเข้าไปสู่ชั้น 4 ของคอร์เทกซ์ ซึ่งก็จะส่งแอกซอนไปยังชั้นอื่น ๆ สืบต่อไป และเหมือนกับคอร์เทกซ์รับรู้ความรู้สึกอื่น ๆ เซลล์ประสาทของ S1 จับกลุ่มโดยสัญญาณขาเข้าและโดยการตอบสนองที่คล้ายคลึงกัน เป็นคอลัมน์ในคอร์เทกซ์ที่แผ่ไปในทั้งความหนาของเปลือกสมอง (ดังที่แสดงโดยเวอร์นอน เมานต์แคสเติล คือ จับกลุ่มเป็นชั้นที่สลับกันระหว่างชั้นนิวรอนที่ปรับตัวอย่างช้า ๆ และชั้นที่ปรับตัวอย่างรวดเร็ว)

ตำแหน่งของเขตบร็อดแมนน์ 3-1-2 ก็คือ จากส่วนล่างที่สุดของร่องกลางไปยังส่วนยอดของรอยนูนหลังร่องกลาง เป็น 3a-3b-1-2 ตามลำดับ

เขตเหล่านี้มีเซลล์ที่ส่งแอกซอนไปยังคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายทุติยภูมิ (secondary somatosensory cortex)

cortical (sensory) homunculus

[แก้]

ดังที่แสดงโดยไวล์เดอร์ เพ็นฟิลด์ และนักวิจัยอื่น ๆ คอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายมีการจัดระเบียบเป็นแผนที่ภูมิลักษณ์ของกาย (somatotopy[4]) มีรูปร่างเป็น cortical homunculus[3] ซึ่งก็คือ ขาและลำตัวอยู่ใกล้ ๆ ส่วนกลางของสมอง (ดูรูป SH1 และ SH2 ข้างบน) แขนและมืออยู่ถัดต่อมา และใบหน้าอยู่ในส่วนล่าง ถึงอาจจะไม่ชัดเจนมากนักในรูป เขตที่แสดงริมฝีปากและมือจะมีขนาดใหญ่ใน cortical homunculus เพราะว่า มีเซลล์ประสาทในเปลือกสมองที่ประมวลข้อมูลที่มาจากเขตเหล่านั้นจำนวนมากกว่าเขตอื่น ๆ เพราะความรู้สึกในบริเวณเหล่านั้นละเอียดกว่าอวัยวะส่วนอื่น ๆ

ความสำคัญเกี่ยวข้องกับโรค

[แก้]

รอยโรคในคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายปฐมภูมิก่อให้เกิดกลุ่มอาการที่ส่อถึงรอยโรค ซึ่งก็คือ agraphesthesia[5], astereognosia[6], ภาวะไม่รู้แรงสั่นสะเทือน, ภาวะไม่รับรู้อากัปกิริยา, และภาวะไม่รู้การสัมผัสแบบเบา ๆ (เพราะว่านิวรอนที่ส่งสัญญาณต่อในระดับที่สามในวิถีประสาท medial lemniscus ไม่สามารถเชื่อมไซแนปส์ไปในคอร์เทกซ์) นอกจากนั้นแล้ว รอยโรคอาจก่อให้เกิดภาวะละเลยข้างเดียว (unilateral neglect) ถ้ามีอยู่ที่ซีกสมองที่ไม่เป็นใหญ่ (เช่นคนถนัดขวามีสมองซีกซ้ายเป็นใหญ่ ถ้ามีรอยโรคในสมองซีกขวา อาจมีภาวะละเลยข้างเดียวทางกายด้านซ้าย)

ภาพต่าง ๆ

[แก้]

เชิงอรรถและอ้างอิง

[แก้]
  1. "ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ gyrus ว่า "รอยนูน". ส่วน Postcentral แปลตรงตัวว่า "หลังกลาง" แต่ว่าโดยกายวิภาค เป็นรอยนูนที่อยู่เป็นลำดับต่อจากร่องกลาง (central sulcus)
  2. "ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ somatopathy ว่า "โรคทางกาย", ของ "sensory" ว่า "รับความรู้สึก", และของ "primary" ว่า "ปฐมภูมิ"
  3. 3.0 3.1 Cortical homunculus เป็นแผนที่ภูมิลักษณ์ของส่วนต่าง ๆ ในร่างกายในคอร์เทกซ์สั่งการหลักและคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายปฐมภูมิ คือส่วนในสมองของมนุษย์ที่มีบทบาทในการเคลื่อนไหว และการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างระบบสั่งการและระบบรับรู้ความรู้สึก
  4. แผนที่ภูมิลักษณ์ของกาย (somatotopy) เป็นความสัมพันธ์ระหว่างจุดหนึ่งในร่างกายกับอีกจุดหนึ่งในระบบประสาทกลาง โดยปกติแล้ว จุดในร่างกายจะสัมพันธ์กับอีกจุดหนึ่งในคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกาย (คือรอยนูนหลังร่องกลาง) คอร์เทกซ์นี้มีการจัดระเบียบเป็น cortical homunculus มีจุดต่างๆ ที่สัมพันธ์กับจุตต่าง ๆ ในร่างกาย เขตในร่างกายต่าง ๆ เช่นไส้ติ่ง นิ้ว องคชาต และใบหน้า มีจุดที่สัมพันธ์กันในคอร์เทกซ์ เขตในร่างกายที่มีการสั่งการหรือมีความรู้สึกที่ละเอียด เช่นนิ้วมือ มีจุดที่ใหญ่กว่าในคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกาย เปรียบเทียบกับเขตในร่างกายที่ไม่มีการสั่งการหรือมีความรู้สึกที่หยาบ เช่นลำตัว มีจุดที่เล็กกว่า บางส่วนของร่างกายเช่นอวัยวะภายใน ไม่มีจุดที่สัมพันธ์กันในคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกาย
  5. agraphesthesia เป็นความสับสนในความรู้สึกกระทบสัมผัสตามผิวหนัง คือไม่สามารถที่จะรู้จำตัวเลขหรืออักษรที่เขียนลงบนฝ่ามือ หลังจากมีความเสียหายในสมองกลีบข้าง
  6. astereognosia เป็นความไม่สามารถในการบ่งชี้ว่าวัตถุคืออะไร โดยเพียงแค่สัมผัสและไม่ใช้สายตา นี่เป็นประเภทหนึ่งของภาวะไม่รู้สัมผัส (tactile agnosia) ที่คนไข้ไม่สามารถระบุวัตถุที่จับหรือถืออยู่ได้ แม้ว่าจะสามารถรับความรู้สึกได้อย่างไม่บกพร่อง

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]