มหาวิทยาลัยบริสตอล
ละติน: Universitas Bristolliensis (Bris.) | |
คติพจน์ | ลาติน: Vim promovet insitam อังกฤษ: Learning promotes one's innate power ไทย: การเรียนรู้คือการพัฒนาตนเอง[1] |
---|---|
สถาปนา | พ.ศ. 2452 - ได้รับพระบรมราชโองการให้เป็นมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2419 - วิทยาลัยอุดมศึกษาบริสตอล |
ที่ตั้ง | , 51°27′23″N 02°36′16″W / 51.45639°N 2.60444°W |
วิทยาเขต | ในเมือง |
เครือข่าย | กลุ่มรัสเซล กลุ่มโคอิมบรา เครือข่ายมหาวิทยาลัยโลก ยูนิเวอร์ซิตียูเค กลุ่มสถาบันด้านอากาศและอากาศยานยุโรป (PEGASUS) |
เว็บไซต์ | bristol.ac.uk |
มหาวิทยาลัยบริสตอล (University of Bristol) เป็นสถาบันอุดมศึกษาเน้นวิจัยขนาดใหญ่ ตั้งในใจกลางเมือง (และเคาน์ตี) บริสตอล สหราชอาณาจักร[2] มีชื่อเสียงด้านแพทยศาสตร์และวิทยาศาสตร์ และมีนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลหลายท่าน อาทิ พอล ดิแรก ฮันส์ เบเทอ ฯลฯ มหาวิทยาลัยเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยอิฐแดง (Red brick university) ร่วมกับมหาวิทยาลัยที่ก่อตั้งในยุคเดียวกัน และเป็นสมาชิกก่อตั้งของกลุ่มรัสเซล ซึ่งเป็นกลุ่มมหาวิทยาลัยวิจัยในสหราชอาณาจักร[3] ยิ่งไปกว่านั้น มหาวิทยาลัยได้เป็นสมาชิกกลุ่มกูอิงบรา ซึ่งเป็นกลุ่มสถาบันอุดมศึกษาโบราณในยุโรปอีกด้วย[4]
มหาวิทยาลัยบริสตอลมีประวัติการก่อตั้งยาวนาน และมีชื่อเสียงทางวิชาการอย่างยิ่ง ซึ่งจะเห็นได้จากจำนวนสมาชิกราชบัณฑิตยสถานด้านแพทยศาสตร์ 21 คน ภาคีสมาชิกราชบัณฑิตยสถานอังกฤษ 13 คน สมาชิกราชวิทยสมาคม ถึง 40 คน[5] อย่างไรก็ตาม มหาวิทยาลัยมีจำนวนนักศึกษาน้อยกว่ามหาวิทยาลัยเวสต์ออฟอิงแลนด์ซึ่งเป็นสถาบันข้างเคียง
ประวัติ
[แก้]ยุคเริ่มแรก
[แก้]มหาวิทยาลัยบริสตอลก่อตั้งเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2419 ในฐานะวิทยาลัยอุดมศึกษาบริสตอล ซึ่งต่อมาได้ควบรวมเข้ากับโรงเรียนเทคนิคพาณิชยนาวี (ก่อตั้ง พ.ศ. 2138 ควบรวม พ.ศ. 2452) [6] และ วิทยาลัยแพทย์บริสตอล (ก่อตั้ง พ.ศ. 2376 ควบรวม พ.ศ. 2436) [7][8] โดยมีอิซัมบาร์ด โอเวน (Isambard Owen) หลานอาของอิซัมบาร์ด บรูเนล เป็นอธิการบดีคนแรก และมีเฮนรี โอเวอร์ตัน วิลส์ (Henry Overton Wills) เป็นนายกสภาคนแรก โดยอธิการบดีได้เลือกสรรสีแดงซึ่งเป็นสีของโตรกเอวอน (Avon Gorge) หลังฝนตก เป็นสีประจำมหาวิทยาลัย เมื่อแรกตั้ง มหาวิทยาลัยมีนักศึกษาปริญญาตรีเพียง 288 คน และนักศึกษาอื่นอีก 400 คน นับเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในสหราชอาณาจักรที่เปิดรับนึกศึกษาทั้งชายและหญิงเสมอภาคกัน[9] ถึงกระนั้น ก่อนปี พ.ศ. 2449 นักศึกษาหญิงยังไม่ได้รับอนุญาตให้เรียนวิชาแพทยศาสตร์[10] มหาวิทยาลัยได้รับเงินทุนประเดิมส่วนหนึ่งจากตระกูลฟราย (Fry) และตระกูลวิลส์ ซึ่งทั้งสองเป็นตระกูลพ่อค้ายาสูบ ทำให้มหาวิทยาลัยเริ่มมีความมั่นคงสามารถลงทุนเพื่อการศึกษาของนักศึกษาได้ และเจริญขึ้นตามลำดับ โดยในปี พ.ศ. 2444 จอร์จ วิลส์ (George Wills) ได้รับที่ดินผืนหนึ่งทางตะวันตกของเมืองสำหรับใช้เป็นลานกีฬาของมหาวิทยาลัย ครั้นถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง มหาวิทยาลัยประสบปัญหาทางการเงินอย่างรุนแรง คือสูญเสียรายได้จากค่าเล่าเรียนถึงร้อยละ 20 กระนั้นทางราชการก็ได้บัญชาให้มหาวิทยาลัยวิจัยแก๊สพิษและวัตถุระเบิดเพื่อที่จะได้รับเงินสนับสนุนเพิ่ม กระนั้น ปัญหาไม่ได้จำกัดแต่ช่วงสงครามเท่านั้น แต่ได้ขยายออกไปหลังสงครามด้วย การที่มีสงครามนี้เอง ทำให้มหาวิทยาลัยได้ทำงานวิจัยที่เป็นประโยชน์ออกมามากจนมีชื่อเสียงเพิ่มขึ้น รวมไปถึงได้เปิดโอกาสให้สตรีเข้ามามีบทบาทในงานบริหารการศึกษา อาทิ แต่งตั้งวินิเฟรด เชปแลนด์ (Winifred Shepland) เป็นนายทะเบียนหญิงคนแรกของมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักร ถึงกระนั้น อาคารบางหลังของมหาวิทยาลัยได้รับความเสียหาย พร้อมกับหนังสือจำนวนมากที่ขนมาจากราชวิทยาลัยลอนดอน
ยุคสงคราม
[แก้]มหาวิทยาลัยได้จัดสร้างห้องปฏิบัติการฟิสิกส์เฮนรี วิลส์ ขึ้นใกล้ ๆ กับโรงเรียนประถมบริสตอล (Bristol Grammar School) มีนักวิทยาศาสตร์หลายท่านมาทำงานในห้องปฏิบัติการนี้ หนึ่งในนั้น มีพอล ดิแรก ซึ่งจบการศึกษาปริญญาตรีด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่มหาวิทยาลัย ก่อนจะไปศึกษาปริญญาเอกด้านคณิตศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ก่อนจะมาสร้างผลงานจนได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ประจำปี พ.ศ. 2476[11] นอกเหนือจากนี้ เออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ด[12] เซซิล พาวเวลล์ (Cecil Powell) (พ.ศ. 2493) [13] ฮันส์ เบเทอ (พ.ศ. 2510) และเนวิลล์ ฟรานซิส (Nevill Francis) (พ.ศ. 2550) [14] หลังจากที่จอร์จ วิลส์ ถึงแก่กรรมในปี พ.ศ. 2444 แล้ว จอร์จ อัลเฟรด วิลส์ (George Alfred Wills) และเฮนรี เฮอร์เบิร์ต วิลส์ (Henry Herbery Wills) บุตร ได้อุทิศเงินสร้างอาคารอนุสรณ์ตระกูวิลส์ ซึ่งปัจจุบันใช้เป็นสถานีทำการสอนสำนักวิชานิติศาสตร์และสาขาวิชาโลกศาสตร์ของมหาวิทยาลัย และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นอาคารอนุรักษ์[15] อาคารหลังดังกล่าวสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2456 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2468[16] นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2453 ได้ซื้ออาคารวิกตอเรียรูมส์ (Victoria Rooms) สำหรับใช้เป็นสโมสรนักศึกษา [9] ซึ่งปัจจุบันเป็นภาควิชาดุริยศาสตร์ของมหาวิทยาลัย และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นอาคารอนุรักษ์เช่นกัน[17] ครั้นถึง พ.ศ. 2472 วินสตัน เชอร์ชิลล์ ได้รับตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัย[9]จากนั้นมีริชาร์ด ฮอลเดน รับตำแหน่งต่อ[10][18]
ยุคหลังสงคราม
[แก้]หลังสงคราม มหาวิทยาลัยเริ่มกลับมาพัฒนาเต็มตัวอีกครั้ง โดยในปี พ.ศ. 2489 มหาวิทยาลัยเปิดสาขาวิชาการละครเป็นที่แรกในสหราชอาณาจักร[9] พร้อม ๆ กับตั้งเงินทุนสำหรับให้ทหารผ่านศึกใช้ในการศึกษาและตั้งตัว จำนวนนักศึกษาที่มาเรียนมีมากขึ้น ๆ จนมหาวิทยาลัยต้องจัดหาอาคารใหม่ในปี พ.ศ. 2498 เพื่อรองรับนักศึกษาวิศวกรมศาสตร์ ต่อมาได้มีการย้ายไปยังอาคารใหม่ที่กว้างขวางกว่าเดิม รวมถึงจัดหาสถานที่ตั้งสโมสรนักศึกษาใหม่ในย่านตำบลคลิฟตันในปี พ.ศ. 2503 แทนอาคารวิกตอเรียรูมส์ที่คับแคบ กระนั้นอาคารใหม่ก็มีรูปแบบสถาปัตยกรรมไม่สวยงามเท่าอาคารเดิม จนได้รับคำตำหนิอย่างมาก[19] .[20] ต่อมา มหาวิทยาลัยจัดทำแผนแม่บทที่จะย้ายสโมสรนักศึกษาอีกครั้ง[21][22] พร้อมกันนี้เอง จำนวนหอพักทั้งของมหาวิทยาลัยและเอกชนมีเพิ่มมากขึ้น เพื่อรองรับจำนวนนักศึกษาจากต่างเมือง
ล่าสุดมหาวิทยาลัยได้มีการลงทุนวิจัย ดังนี้ พ.ศ. 2543 จัดตั้งศูนย์วิจัยและวิสาหกิจ.[23] พ.ศ. 2545 จัดตั้งศูนย์กีฬา [24] พ.ศ. 2547 จัดตั้งห้องปฏิบัติการวิศวกรรมพลศาสตร์ มูลค่า 18.5 ล้านปอนด์ สำหรับใช้ศึกษาด้านพลศาสตร์ของเครื่องยนต์ นับเป็นห้องปฏิบัติการที่ทันสมัยที่สุดในยุโรป[25] พ.ศ. 2548 จัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านการเรียนการสอนเคมี (Centre for Excellence in Teaching & Learning (CETL)) แห่งเดียวในสหราชอาณาจักร[26] กันยายน พ.ศ. 2552 เปิดศูนย์วิทยาศาสตร์นาโนและควอนตัมสนเทศ มูลค่า 11 ล้านปอนด์ ศึกษาวิจัยงานด้านควอนตัม อาทิ แก้วทำความสะอาดตัวเอง (self-cleaning glass) และได้ชื่อว่าเป็นอาคารที่เงียบที่สุด [27]
นอกเหนือจากนี้มหาวิทยาลัยมีแผนปรับปรุงพื้นที่ย่านมหาวิทยาลัย[28] หนึ่งในนั้นมหาวิทยาลัยได้เริ่มก่อสร้างอาคารชีวศาสตร์ (bioscience) ใหม่ มูลค่า 50 ล้านปอนด์ เพื่อเป็นสถานศึกษาวิจัยชั้นสูง เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2554[29]
ส่วนงาน
[แก้]มหาวิทยาลัยประกอบด้วยคณะวิชา 6 คณะ ทำการเรียนการสอนในสาขาวิชาต่าง ๆ ดังนี้[30]
คณะอักษรศาสตร์
[แก้]- ภาควิชาศิลปกรรมศาสตร์[31]
- สาขาวิชาโบราณคดีและมานุษยวิทยา
- สาขาวิชาภาพยนตร์และโทรทัศน์
- สาขาวิชาดุริยศาสตร์
- สาขาวิชาปรัชญา
- สาขาวิชาภาพยนตร์
- ภาควิชามนุษยศาสตร์
- สาขาวิชาโบราณวิทยาและประวัติศาสตร์โบราณ
- สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
- สาขาวิชาประวัติศาสตร์
- สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลป์
- สาขาวิชาศาสนาและเทววิทยา
- ภาควิชาภาษาสมัยใหม่
- สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส
- สาชาวิชาภาษาเยอรมัน
- สาขาวิชาฮิสพานิก โปรตุเกส และลาตินอเมริกาศึกษา
- สาขาวิชาภาษาอิตาลี
- สาขาวิชาภาษารัสเซีย
คณะวิศวกรรมศาสตร์
[แก้]- ภาควิชาวิศวกรรมอากาศยาน
- ภาควิชาวิศวกรรมโยธา
- ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
- ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
- ภาควิชาคณิตศาสตร์วิศวกรรม
- ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล
- วิทยาลัยเมอร์ชานต์เวนเชอเรอร์ (Merchant Venturer School)[32] เป็นวิทยาลัยด้านสารสนเทศและโฟตอนิกส์
- วิทยาลัยควีนส์ (Queens School)[33] เป็นวิทยาลัยด้านวิศวกรรมเครื่องกล อากาศยาน และโยธา
คณะสัตวแพทยศาสตร์
[แก้]- ภาควิชาชีวเคมี
- ภาควิชาเวชศาสตร์เซลล์และโมเลกุล
- ภาควิชาสัณฐานวิทยาและเภสัชวิทยา
- ภาควิชาสัตวแพทยศาสตร์
- ศูนย์กายวิภาคเปรียบเทียบและคลินิก
คณะวิทยาศาสตร์
[แก้]- ภาควิชาชีววิทยา
- ภาควิชาเคมี
- ภาควิชาโลกศาสตร์
- ภาควิชาจิตวิทยาทดลอง
- ภาควิชาภูมิศาสตร์
- ภาควิชาคณิตศาสตร์
- ภาควิชาฟิสิกส์
- ศูนย์วิทยาศาสตร์นาโนและควอนตัมสนเทศ
- สถาบันคาบอต (Cabot Institute)
- ศูนย์วิจัยสุขภาคเอลิซาเบธ แบล็กเวล (Elizabeth Blackwell Institute for Health Research)
- ศูนย์วิจัยพื้นผิววัสดุ[34]
คณะแพทยศาสตร์
[แก้]- ภาควิชาแพทยศาสตร์
- ภาควิชาทันตแพทยศาสตร์
- ภาควิชาเวชศาสตร์สังคมและชุมชน
คณะสังคมศาสตร์และนิติศาสตร์
[แก้]- สถาบันบัณฑิตศึกษาด้านครุศาสตร์
- ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ การเงิน และการจัดการ
- ภาควิชานโยบายศึกษา
- ภาควิชาสังคมวิทยา การเมือง และการศึกษานานาชาติ
- ภาควิชานิติศาสตร์
- ภาควิชาภูมิศาสตร์ (ร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์)
ที่ตั้ง
[แก้]มหาวิทยาลัยบริสตอลมีที่ตั้งกระจายไปตามส่วนต่าง ๆ ของเมือง โดยไม่มีพื้นที่ติดต่อกันเหมือนมหาวิทยาลัยทั่ว ๆ ไป อาคารส่วนหนึ่งตกทอดมาตั้งแต่ครั้งเป็นวิทยาลัยอุดมศึกษา ออกแบบโดยชาร์ลส์ แฮนซัม (Charles Hansom) การก่อสร้างเป็นไปอย่างทุลักทุเลด้วยมหาวิทยาลัยในขณะนั้นขัดสนด้านการเงิน หลังจากนั้น จึงได้มีการสร้างอาคารอนุสรณ์อัลเบิร์ต ฟราย (Albert Fry) และอาคารอนุสรณ์ตระกูลวิลส์ เพื่ออุทิศแก่ผู้ให้เงินประเดิมก่อตั้งมหาวิทยาลัย[35] นอกจากนี้ ยังมีหอพักโกลด์นีย์ซึ่งจอร์จ วิลส์ ได้หวังว่าจะก่อสร้างหอพักนักศึกษาชายบริเวณนี้ แต่มีการคัดค้านโดยอนุสาสกเพราะอยู่ใกล้หอพักคลิฟตันซึ่งเป็นหอพักหญิง[36] ในที่สุดมหาวิทยาลัยต้องจัดหาที่ดินใหม่ที่ตำบลสโตกบิชอปเพื่อสร้างหอพักชายวิลส์แทน ส่วนคฤหาสน์เบอร์วอลล์ บ้านของจอร์จ โอตลีย์ ได้กลายเป็นหอพักและปัจจุบันใช้เป็นศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง[37]
อาคารสมัยใหม่หลายหลังได้ถูกสร้างขึ้นแซมเมื่อมหาวิทยาลัยขยายตัว อาทิ อาคารสภาคณาจารย์ ส่วนต่อเติมอาคารห้องปฏิบัติการฟิสิกส์เฮนรี วิลส์ [38] ส่วนบูรณะอาคารอนุสรณ์วิลส์ที่ถูกไฟไหม้ หอพักโกลด์นีย์[39] ฯลฯ จากการที่มหาวิทยาลัยได้สร้างอาคารในยุคร่วมสมัยนี้เอง ทำให้มหาวิทยาลัยมีอาคารแบบจอร์เจีย รวมถึงอาคารแบบยุคฟื้นฟูกรีก (Greek revival) จำนวนมาก หนึ่งในนั้นมีบ้านรอยัลฟอร์ด (สถาบันการศึกษาชั้นสูง) หอพักคลิฟตันฮิลล์ หอพักโกลด์นีย์.[40]
ตราสัญลักษณ์
[แก้]มหาวิทยาลัยมีตราอาร์มของตนเอง ซึ่งมีประวัติยาวนานมาก ตราอาร์มประกอบด้วยโล่สีขาว กลางมีกากบาทสีแดงตัดวางตัวในแนวตั้ง ตรงกลางมีเรือใบและประตูเมืองซึ่งนำมาจากตราประจำจังหวัดบริสตอล ด้านบนมีตะวันฉาย แทนตระกูลวิลส์ ด้านล่างมีหนังสือเปิดเป็นสีทอง มีข้อความ Nisi quia Dominus ด้านซ้ายมือมีรูปปลาโลมา แทนตระกูลโคลสตัน และด้านขวามือมีม้าพยศ แทนตระกูลฟราย[1] ตราอาร์มนี้ใช้ในพิธีการสำคัญ ๆ แต่ในการประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยใช้โลโก้ที่ประกอบด้วยดวงตะวัน ปลาโลมา ม้าพยศ และเรือวางไว้บนโล่รูปหนังสือ[41]
ครุยวิทยฐานะ
[แก้]มหาวิทยาลัยใช้ครุยวิทยฐานะแบบอังกฤษ คือ เสื้อคลุมทึบแขนยาว (ปริญญาตรี) แขนเย็บมีช่องสอดแขนตอนกลาง (ปริญญาโท) หรือแขนเปิดกว้างตกข้อมือ (ปริญญาเอก) ตอนหน้าของเสื้อเปิดออกกว้าง เสื้อสำหรับระดับปริญญาเอกจะใช้สีแดง[42]
อ้างอิง
[แก้]เชิงอรรถ
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "The University Arms". University of Bristol. สืบค้นเมื่อ 3 December 2007.
- ↑ เดิมอยู่ในเคาน์ตีเอวอน (Avon)
- ↑ "Russell Group Our Universities". สืบค้นเมื่อ 27 January 2012.
- ↑ "The Coimbra Group". List of Coimbra Group Members. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-02. สืบค้นเมื่อ 14 May 2007.
- ↑ "Nobel Prizes and Fellowships". University of Bristol. สืบค้นเมื่อ 1 May 2014.
- ↑ United Kingdom. "Education – The Society of Merchant Venturers, Bristol UK". Merchantventurers.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-29. สืบค้นเมื่อ 5 June 2009.
- ↑ "University of Bristol". The Guardian. London. 1 May 2007. สืบค้นเมื่อ 6 December 2007.
- ↑ "Bristol". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-28. สืบค้นเมื่อ 6 December 2007.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 9.3 "Bristol University History". History of the University. สืบค้นเมื่อ 13 May 2007.
- ↑ 10.0 10.1 "Papers of the University of Bristol". Archives Hub. สืบค้นเมื่อ 6 December 2007.
- ↑ "Notable alumni – Faculty of Engineering". University of Bristol. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-26. สืบค้นเมื่อ 6 December 2007.
- ↑ "History of the Department". Department of Physics, University of Bristol. สืบค้นเมื่อ 6 December 2007.
- ↑ "The Nobel Prize in Physics 1950". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 6 December 2007.
- ↑ "Sir Nevill F. Mott". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 6 December 2007.
- ↑ "University Tower and Wills Memorial Building and attached front walls and lamps". National Monument Record. English Heritage. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-22. สืบค้นเมื่อ 6 December 2007.
- ↑ "Wills Memorial Building". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-05. สืบค้นเมื่อ 6 December 2007.
- ↑ "Victoria Rooms and attached railings and gates". National Monument Record. English Heritage. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-22. สืบค้นเมื่อ 6 December 2007.
- ↑ "Bristol University – Former Officers". University of Bristol. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 22 June 2007.
- ↑ "The Students' Union". University of Bristol Union. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-26. สืบค้นเมื่อ 6 December 2007.
- ↑ "What is the worst eyesore in the UK?". BBC News. 21 November 2003.
- ↑ "University of Bristol Strategic Masterplan" (PDF). University of Bristol. July 2006. p. 64. สืบค้นเมื่อ 6 December 2007.
- ↑ "Building Project – A Better Building for the Students' Union". Ubu.org.uk. สืบค้นเมื่อ 28 January 2011.
- ↑ Donald MacLeod (5 December 2005). "Bristol signs commercial research funding deal". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 3 December 2007.
- ↑ "Bristol University – Centre for Sport, Exercise & Health – About us". University of Bristol. 2 October 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-13. สืบค้นเมื่อ 20 December 2007.
- ↑ "Places – BLADE". University of Bristol. 20 December 2007. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 20 December 2007.
- ↑ "CETL – A£14M Boost for Teaching and Learning in Bristol Chemistry – 27/01/05". University of Bristol. 14 December 2007. สืบค้นเมื่อ 20 December 2007.
- ↑ "'Quietest' building in the world opens today". University of Bristol. สืบค้นเมื่อ 15 September 2011.
- ↑ Bowden, Chris (10 September 2007). "University of Bristol Masterplan". University of Bristol. สืบค้นเมื่อ 20 December 2007.
- ↑ "New £50 million University building to transform a key area of Bristol". University of Bristol. สืบค้นเมื่อ 21 October 2011.
- ↑ "Academic Departments and Research Centres by Faculty". University of Bristol. สืบค้นเมื่อ 10 August 2007.
- ↑ "Faculty of Arts: Schools and Department". สืบค้นเมื่อ 10 February 2015.
- ↑ "Merchant Venturers School of Engineering". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-10. สืบค้นเมื่อ 10 February 2015.
- ↑ "Queens School of Engineering". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-06. สืบค้นเมื่อ 10 February 2015.
- ↑ "University of Bristol: Interface Analysis Centre". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-15. สืบค้นเมื่อ 10 February 2015.
- ↑ Carleton (1984), p129
- ↑ Carleton (1984), p132
- ↑ "Burwalls Centre for Continuing Education". University of Bristol. สืบค้นเมื่อ 16 June 2008.
- ↑ Carleton (1984), p138
- ↑ Carleton (1984), p139
- ↑ Carleton (1984), p141
- ↑ "University of Bristol logo". University of Bristol. สืบค้นเมื่อ 3 December 2007.
- ↑ "Regulations for Academic and Official Costume". University of Bristol Regulations for Academic and Official Costume. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-26. สืบค้นเมื่อ 21 December 2007.
หนังสือ
[แก้]- Carleton, Don (1984) "University for Bristol: A History in Text and Pictures". University of Bristol P. ISBN 0-86292-200-3
- Delany, Rosalind (2002) "How Did This Garden Grow?: The History of the Botanic Gardens of the University of Bristol". Friends of Bristol University Botanic Garden ISBN 0-9543504-0-5
- Crossley Evans, M. J. (1994) "A History of Wills Hall University of Bristol". University of Bristol P. ISBN 0-86292-421-9
- Whittingham, Sarah (2003) "Wills Memorial Building". University of Bristol ISBN 0-86292-541-X
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]