ข้ามไปเนื้อหา

กองบัญชาการกองทัพไทย

พิกัด: 13°53′11″N 100°33′54″E / 13.8864°N 100.565°E / 13.8864; 100.565
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก กองบัญชาการทหารสูงสุด)
กองบัญชาการกองทัพไทย
จักร สมอ และปีก (แทนทหาร3เหล่าทัพ)
เครื่องหมายราชการกองบัญชาการกองทัพไทย
ประจำการ27 กันยายน พ.ศ. 2500
(67 ปี 31 วัน)
ประเทศ ไทย
กองบัญชาการเลขที่ 127 ซอยงามวงศ์วาน 47 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
คำขวัญเทิดราชัน ทันสมัย พัฒนา
เว็บไซต์www.rtarf.mi.th
ผู้บังคับบัญชา
ผู้บัญชาการทหารสูงสุดพลเอก ทรงวิทย์ หนุนภักดี
ผบ. สำคัญรายนามผู้บัญชาการทหารสูงสุด

กองบัญชาการกองทัพไทย (อังกฤษ: Royal Thai Armed Forces Headquarters) เป็นส่วนราชการขึ้นตรงต่อ กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม[1] ซึ่งแปรสภาพมาจากกองบัญชาการทหารสูงสุด (Supreme Command Headquarters) มีหน้าที่ควบคุม อำนวยการ สั่งการและกำกับดูแลการดำเนินงานของส่วนราชการในกองทัพไทยในการเตรียมกำลัง การป้องกันราชอาณาจักร และการดำเนินการเกี่ยวกับการใช้กำลังทหารตามอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหมให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดมีผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ[2] มีที่ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 127 ซอยงามวงศ์วาน 47 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210

ผู้บังคับบัญชาปัจจุบัน ประกอบด้วย

ประวัติ

[แก้]
พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ กองบัญชาการกองทัพไทย

ก่อนหน้านี้ กองบัญชาการทหารสูงสุดได้จัดตั้งขึ้นมาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรกในช่วงปี พ.ศ. 2483 เนื่องในกรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส และในปีถัดมา จากการที่ไทยเข้าร่วมสงครามมหาเอเชียบูรพา เพื่อทำหน้าที่ด้านบัญชาการรบในแต่ละคราว จัดเป็นกองบัญชาการเฉพาะกิจ โดยมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในเวลานั้น ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด ซึ่งเมื่อเสร็จสิ้นสงครามแต่ละคราวแล้ว ทางราชการจึงได้ยุบกองบัญชาการทหารสูงสุดลง

ตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดได้รับการรื้อฟื้นอีกครั้ง เมื่อจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด ในวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2500 โดยมีกรมเสนาธิการกลาโหม กระทรวงกลาโหม ทำหน้าที่เป็นส่วนบัญชาการของผู้บัญชาการทหารสูงสุด

ต่อมา ใน พ.ศ. 2503 ทางราชการได้เล็งเห็นความจำเป็นในการจัดตั้งกองบัญชาการทหารสูงสุดเป็นการถาวร เพื่อทำหน้าที่ในการเตรียมกำลังรบและป้องกันประเทศ จึงได้มีการแปรสภาพกรมเสนาธิการกลาโหมเป็นกองบัญชาการทหารสูงสุด พร้อมทั้งปรับปรุงและเพิ่มหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้สามารถดำเนินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พุทธศักราช 2503

ในระยะเริ่มแรก กองบัญชาการทหารสูงสุด ได้แบ่งส่วนราชการออกเป็น 4 ฝ่าย คือ ฝ่ายเสนาธิการ ฝ่ายกิจการพิเศษ ฝ่ายยุทธบริการ และฝ่ายการศึกษา ต่อมาได้มีการปรับโครงสร้างองค์กรอีกหลายครั้ง จนกระทั่งในปัจจุบันนี้ กองบัญชาการทหารสูงสุดจึงได้แบ่งส่วนราชการออกเป็น 5 ส่วน คือ ส่วนบังคับบัญชา ส่วนเสนาธิการร่วม ส่วนปฏิบัติการ ส่วนกิจการพิเศษ และส่วนการศึกษา[8]

ใน พ.ศ. 2551 ได้มีการจัดส่วนราชการในกระทรวงกลาโหมใหม่ ตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พุทธศักราช 2551 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2551 ซึ่งตามมาตรา 17 ของพระราชบัญญัติฉบับนี้ กองบัญชาการทหารสูงสุดได้แปรสภาพเป็นกองบัญชาการกองทัพไทย โดยเป็นส่วนราชการในกองทัพไทย กระทรวงกลาโหม มีหน้าที่ควบคุม อำนวยการ สั่งการ และกำกับดูแลการดำเนินงานของส่วนราชการในกองทัพไทย ในการเตรียมกำลัง การป้องกันราชอาณาจักร และการดำเนินการเกี่ยวกับการใช้กำลังทหารตามอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหมให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด มีผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นผู้รับผิดชอบ[1][9]

การจัดส่วนราชการ

[แก้]

กองบัญชาการกองทัพไทยจัดผังการแบ่งส่วนราชการ ดังนี้[2][10]

ส่วนบังคับบัญชา ส่วนเสนาธิการร่วม
ส่วนกิจการพิเศษ ส่วนปฏิบัติการ ส่วนการศึกษา

ดูเพิ่ม

[แก้]

การทหารในประเทศไทย

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พุทธศักราช 2551" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-05-29. สืบค้นเมื่อ 2008-04-18.
  2. 2.0 2.1 "พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการและกำหนดหน้าที่ของส่วนราชการกองทัพบก กองบัญชาการกองทัพไทย กระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2552" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-28. สืบค้นเมื่อ 2010-01-09.
  3. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 141 ตอนพิเศษ 262 ง 21 กันยายน พ.ศ. 2567
  4. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 141 ตอนพิเศษ 262 ง 21 กันยายน พ.ศ. 2567
  5. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 141 ตอนพิเศษ 262 ง 21 กันยายน พ.ศ. 2567
  6. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 141 ตอนพิเศษ 262 ง 21 กันยายน พ.ศ. 2567
  7. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 141 ตอนพิเศษ 262 ง 21 กันยายน พ.ศ. 2567
  8. "ประวัติกองบัญชาการทหารสูงสุด (เว็บไซต์กองบัญชาการกองทัพไทย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-30. สืบค้นเมื่อ 2013-01-28.
  9. อันว่าด้วย .... "กองบัญชาการกองทัพไทย"
  10. เว็บไซต์กองบัญชาการกองทัพไทย

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

13°53′11″N 100°33′54″E / 13.8864°N 100.565°E / 13.8864; 100.565