คดีระหว่างโอเบอร์กะเฟลกับฮ็อดจิส
คดีระหว่างโอเบอร์กะเฟลกับฮ็อดจิส | |
---|---|
Obergefell v. Hodges | |
ตราศาลสูงสุดสหรัฐ | |
สาระแห่งคดี | |
คำฟ้อง | ขอให้วินิจฉัยว่า 1. คำสั่งห้ามตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายอุปกรณ์ของรัฐโอไฮโอว่าด้วยการรับรองการสมรสเพศเดียวกันที่เข้าอย่างสมบูรณ์ในเขตอำนาจศาลอื่นขัดต่อวรรควิถีทางที่ถูกต้องและความคุ้มครองเท่าเทียมกันของรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐหรือไม่ 2. คำบอกปัดการรับรองคำวินิจฉัยการรับเป็นบุตรบุญธรรมซึ่งเด็กที่เกิดในรัฐโอไฮโอของคู่สมรสเพศเดียวกันของศาลรัฐพี่น้องขัดต่อวรรคศรัทธาบริบูรณ์และเครดิตของรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐหรือไม่ |
คู่ความ | |
โจทก์ | เจมส์ โอเบอร์กะเฟลและพวก |
จำเลย | ริชาร์ด ฮ็อดจิสและพวก |
ศาล | |
ศาล | ศาลสูงสุดสหรัฐ |
ตุลาการ | ประธาน: John Roberts ตุลาการสมทบ:
|
วินิจฉัย | |
" การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญครั้งที่ 14 กำหนดให้จดทะเบียนสมรสระหว่างบุคคลเพศเดียวกันสองคน และรับรองการสมรสระหว่างบุคคลเพศเดียวกันสองคนเมื่อการสมรสได้จดทะเบียนโดยชอบด้วยกฎหมายและที่ดำเนินการนอกรัฐ " | |
ลงวันที่ | 26 มิถุนายน 2558 |
กฎหมาย | การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฯ ครั้งที่ 14 |
หมายเหตุ | |
|
คดีระหว่างโอเบอร์กะเฟลกับฮ็อดจิส (อังกฤษ: Obergefell v. Hodges), 576 U.S. 644 (2015) เป็นคดีสิทธิพลเมืองหลักหมุด ซึ่งศาลสูงสุดแห่งสหรัฐวินิจฉัยว่าสิทธิมูลฐานในการสมรสได้รับประกันแก่คู่สมรสเพศเดียวกันทั้งวรรควิถีทางที่ถูกต้อง (Due Process Clause) และวรรคการคุ้มครองเท่าเทียม (Equal Protection Clause) ของการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐ ครั้งที่ 14 คำวินิจฉัยของศาลฯ กำหนดให้รัฐทั้งห้าสิบ เขตโคลัมเบีย และพื้นที่เกาะให้จัดการและรับรองการสมรสของคู่สมรสเพศเดียวกันด้วยกำหนดเวลาและเงื่อนไขเดียวกันกับการสมรสคู่สมรสต่างเพศ โดยมีสิทธิและหน้าที่ดุจกัน[1][2]
ระหว่างเดือนมกราคม 2555 และกุมภาพันธ์ 2557 โจทก์ในรัฐมิชิแกน โอไฮโอ เคนตักกีและเทนเนสซียื่นคำฟ้องคดีในศาลภาคกลางซึ่งลงเอยด้วยคดีระหว่างโอเบอร์กะเฟลกับฮ็อดจิส หลังศาลภาควินิจฉัยให้โจทก์ชนะ มีการอุทธรณ์คำวินิจฉัยไปยังศาลภาค 6 ในเดือนพฤศจิกายน 2557 หลังคำวินิจฉัยศาลอุทธรณ์ที่ยืดเยื้อในปีนั้นทั้งในศาลภาค 4, ภาค 7, ภาค 9 และภาค 10 ว่าคำสั่งห้ามการสมรสเพศเดียวกันระดับรัฐขัดต่อรัฐธรรมนูญ ศาลภาค 6 วินิจฉัยว่าศาลถูกผูกมัดด้วยคดีระหว่างเบเกอร์กับเนลสัน (Baker v. Nelson) และวินิจฉัยว่าคำสั่งห้ามนั้นชอบด้วยรัฐธรรมนูญ[3] ทำให้เกิดความเห็นต่างระหว่างศาลภาคและนำไปสู่การทบทวนของศาลสูงสุดอย่างเลี่ยงไม่ได้
ศาลฯ มีคำวินิจฉัยในวันที่ 26 มิถุนายน 2558 โอเบอร์กะเฟล ยกเลิก เบเกอร์ และกำหนดให้ทุกรัฐต้องออกทะเบียนสมรสแก่คู่สมรสเพศเดียวกัน และรับรองการสมรสเพศเดีวกันที่กระทำขึ้นในเขตอำนาจศาลอื่น [4] จึงทำให้การสมรสเพศเดียวกันชอบด้วยกฎหมายทั่วสหรัฐและทุกดินแดน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Obergefell v. Hodges, No. 14-556, slip op. เก็บถาวร 2019-10-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน at 22–23 (U.S. June 26, 2015) ("The Court now holds that same-sex couples may exercise the fundamental right to marry. ... [T]he State laws challenged by Petitioners in these cases are now held invalid to the extent they exclude same-sex couples from civil marriage on the same terms and conditions as opposite-sex couples.").
- ↑ Denniston, Lyle (June 26, 2015). "Opinion Analysis: Marriage Now Open to Same-Sex Couples". SCOTUSblog. สืบค้นเมื่อ July 2, 2015.
- ↑ Wolf, Richard (June 24, 2015). "Timeline: Same-Sex Marriage through the Years". USA Today. สืบค้นเมื่อ May 29, 2018.
- ↑ Obergefell, slip op. เก็บถาวร 2019-10-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน at 28 ("The Court, in this decision, holds same-sex couples may exercise the fundamental right to marry in all States.").