คิม อิล-ซ็อง
คิม อิล-ซ็อง | |
---|---|
김일성 | |
คิม ป. คริสต์ทศวรรษ 1960 | |
เลขาธิการพรรคแรงงานเกาหลี | |
ดำรงตำแหน่ง 12 ตุลาคม 1966 – 8 กรกฎาคม 1994 | |
เลขาธิการ | |
ก่อนหน้า | ตนเอง (ในฐานะประธาน) |
ถัดไป | คิม จ็อง-อิล |
ประธานาธิบดีเกาหลีเหนือ | |
ดำรงตำแหน่ง 28 ธันวาคม 1972 – 8 กรกฎาคม 1994 | |
หัวหน้ารัฐบาล | ดูรายชื่อ
|
รองประธานาธิบดี | ดูรายชื่อ
|
ก่อนหน้า | สถาปนาตำแหน่ง[a] |
ถัดไป | ยกเลิกตำแหน่ง[b] |
ประธานพรรคแรงงานเกาหลี | |
ดำรงตำแหน่ง 24 มิถุนายน 1949 – 12 ตุลาคม 1966 | |
รองประธาน | ดูรายชื่อ
|
ก่อนหน้า | คิม ดู-บง |
ถัดไป | ตนเอง (ในฐานะเลขาธิการพรรค) |
นายกรัฐมนตรีเกาหลีเหนือ | |
ดำรงตำแหน่ง 9 กันยายน 1948 – 28 ธันวาคม 1972 | |
รองนายกรัฐมนตรีเกาหลีเหนือคนแรก | คิม อิล |
รองนายกรัฐมนตรีเกาหลีเหนือ | ดูรายชื่อ
|
ก่อนหน้า | สถาปนาตำแหน่ง |
ถัดไป | คิม อิล |
ผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพประชาชนเกาหลี | |
ดำรงตำแหน่ง 5 กรกฎาคม 1950 – 24 ธันวาคม 1991 | |
ก่อนหน้า | เช ย็อง-ก็อน |
ถัดไป | คิม จ็อง-อิล |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | คิม ซ็อง-จู 15 เมษายน ค.ศ. 1912 นัมนี จังหวัดเฮอังใต้ โชเซ็น จักรวรรดิญี่ปุ่น(ปัจจุบันคือมันกย็องแด เปียงยาง ประเทศเกาหลีเหนือ) |
เสียชีวิต | 8 กรกฎาคม ค.ศ. 1994 บ้านพักฮยังซัน เทศมณฑลฮยังซัน จังหวัดพย็องอันเหนือ ประเทศเกาหลีเหนือ | (82 ปี)
ที่ไว้ศพ | วังสุริยะคึมซูซัน เปียงยาง |
เชื้อชาติ | เกาหลีเหนือ |
พรรคการเมือง | พรรคแรงงานเกาหลี |
การเข้าร่วม พรรคการเมืองอื่น |
|
คู่สมรส |
|
บุตร | 6 คน, รวมคิม จ็อง-อิล, คิม มัน-อิล, คิม กย็อง-ฮี และคิม พย็อง-อิล |
บุพการี | |
ความสัมพันธ์ | ตระกูลคิม |
ลายมือชื่อ | |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | |
สังกัด | |
ประจำการ |
|
ยศ | |
หน่วย | กองปืนไรเฟิลแยกที่ 88, กองทัพแดง |
บังคับบัญชา | ทั้งหมด (ผู้บัญชาการทหารสูงสุด) |
ผ่านศึก | |
ชื่อเกาหลี | |
โชซ็อนกึล | 김일성 |
ฮันจา | |
อาร์อาร์ | Gim Il(-)seong |
เอ็มอาร์ | Kim Ilsŏng |
ชื่อเกิด | |
โชซ็อนกึล | 김성주 |
ฮันจา | |
อาร์อาร์ | Gim Seong(-)ju |
เอ็มอาร์ | Kim Sŏngju |
สมาชิกสถาบันกลาง
ตำแหน่งอื่น ๆ
| |
คิม อิล-ซ็อง (เกาหลี: 김일성; ชื่อเกิด คิม ซ็อง-จู;[c] 15 เมษายน ค.ศ. 1912 – 8 กรกฎาคม ค.ศ. 1994) เป็นผู้นำคนแรกของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตั้งแต่ก่อตั้งประเทศเมื่อ พ.ศ. 2492 ถึง พ.ศ. 2515 และดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีตั้งแต่ พ.ศ. 2515 กระทั่งถึงแก่อสัญกรรมเมื่อ พ.ศ. 2537[2] นอกจากนี้ยังดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคแรงงานเกาหลี ตั้งแต่ พ.ศ. 2493 จนถึง พ.ศ. 2537 คิม อิล-ซ็องเป็นที่รู้จักกว้างขวางในฐานะผู้เผด็จการในระบอบคอมมิวนิสต์ของประเทศเกาหลีเหนือ โดยดำรงตำแหน่งอยู่ในอำนาจในฐานะผู้นำของประเทศเกาหลีเหนือเป็นเวลายาวนานถึงสี่สิบกว่าปี ดำรงตำแหน่งในช่วงสำคัญในประวัติศาสตร์อันได้แก่สงครามเย็นและสงครามเกาหลี มีการพัฒนาลัทธิบูชาบุคคลขึ้นมาสำหรับคิม อิล-ซ็องโดยเฉพาะ หลังคิม อิล-ซ็อง ถึงแก่อสัญกรรมไปแล้ว รัฐบาลเกาหลีเหนือภายใต้การนำของประธานาธิบดีคิม จ็อง-อิล บุตรชาย ได้ให้สมญานามแก่เขาว่า "ประธานาธิบดีตลอดกาล" (Eternal President เกาหลี: 영원한 주석; ฮันจา: Yeongwonhan Juseok)[3] เมื่อ พ.ศ. 2554
ชีวิตวัยเยาว์
[แก้]ภูมิหลังครอบครัว
[แก้]คิมมีชื่อเกิดว่าคิม ซ็อง-จู เป็นบุตรของพ่อชื่อคิม ฮย็อง-จิก กับแม่ชื่อคัง พัน-ซ็อก เขามีน้องชายสองคนที่มีชื่อว่า คิม ช็อล-จู และคิม ย็อง-จู[4]: 3 คิม ช็อล-จูเสียชีวิตขณะสู้รบต่อพวกญี่ปุ่นและคิม ย็อง-จูเข้าร่วมรัฐบาลเกาหลีเหนือและถือเป็นผู้สืบทอดถัดจากพี่ชายก่อนถูกถอนออกจากตำแหน่ง[5][6]
กล่าวกันว่าครอบครัวของคิมจากตระกูลช็อนจูคิมมีต้นกำเนิดจากช็อนจู จังหวัดช็อลลาเหนือ ใน ค.ศ. 1860 Kim Ung-u ทวดของเขา ตั้งถิ่นฐานที่ย่านมันกย็องแดของเปียงยาง มีรายงานว่าคิมถือกำเนิดในหมู่บ้านขนาดเล็กที่มีชื่อว่า Mangyungbong (เวลานั้นมีชื่อว่า Namni) ใกล้เปียงยางในวันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1912[7][8]: 12 หนังสืออัตชีวประวัติกึ่งทางการของคิมใน ค.ศ. 1964 ระบุว่าเขาเกิดในบ้านของแม่ที่ Chingjong ภายหลังเติบโตที่ Mangyungbong[9]: 73
ครอบครัวของเขาหาทางหนีให้พ้นจากความยากจน คิมกล่าวว่าเขาเติบโตในครอบครัวที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายเพรสไบทีเรียนอย่างเคร่งครัด ตาของเขาเป็นศาสนาจารย์นิกายโปรเตสแตนต์ และพ่อของเขาเคยเข้าโรงเรียนสอนศาสนาและเคยเป็นพระอาวุโสในคริสต์จักรเพรสไบทีเรียน[10][11] บันทึกรัฐบาลเกาหลีเหนืออย่างเป็นทางการระบุว่า ครอบครัวคิมมีส่วนในกิจกรรมต่อต้านญี่ปุ่นและหลบหนีไปยังแมนจูเรียใน ค.ศ. 1920 พวกเขาไม่พอใจที่ญี่ปุ่นยึดครองคาบสมุทรเกาหลีเหมือนกับครอบครัวเกาหลีส่วนใหญ่[8]: 12 ทางญี่ปุ่นปราบปรามฝ่ายต่อต้านของเกาหลีอย่างรุนแรง ส่งผลให้มีการจับกุมและคุมขังพลเมืองเกาหลีมากกว่า 52,000 คนใน ค.ศ. 1912 เพียงปีเดียว[8]: 13 สิ่งนี้บังคับให้ครอบครัวเกาหลีหลายกลุ่มหลบหนีออกจากคาบสมุทรเกาหลีและตั้งถิ่นฐานในแมนจูเรีย[12]
ถึงกระนั้น พ่อแม่ของคิม โดยเฉพาะแม่ของเขา มีบทบาทในการต่อสู้ต่อต้านญี่ปุ่นที่กำลังกวาดล้างคาบสมุทร[8]: 16 โดยจุดประสงค์นั้นไม่ชัดเจน – ทั้งในด้านภารกิจ ชาตินิยม หรือทั้งสองอย่าง[13]: 53
การรบในแมนจูเรีย
[แก้]คิม อิล-ซ็อง ได้รับการศึกษาขั้นต้นที่มณฑลจี๋หลิน เนื่องจากเติบโตมาในแมนจูเรีย คิม อิล-ซ็อง จึงพูดภาษาจีนกลางเป็นหลักและบางหลักฐานบอกว่า คิม อิล-ซ็อง นั้นพูดภาษาเกาหลีได้น้อยมากในวัยเยาว์[14] ชีวประวัติซึ่งแต่งโดยรัฐบาลเกาหลีเหนือบรรยายว่าคิม อิล-ซ็อง มีบทบาทและมีความกระตือรือร้นในการเคลื่อนไหวปลดแอกเกาหลีจากการปกครองของญี่ปุ่น และยึดมั่นในลัทธิคอมมิวนิสต์ จนกระทั่งถูกทางการสาธารณรัฐจีนจับกุมตัว ซึ่งรายละเอียดเหล่านี้ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นข้อเท็จจริงหรือไม่ ไม่พบหลักฐานรายละเอียดว่า คิม ซ็อง-จู เข้าร่วมลัทธิคอมมิวนิสต์ได้อย่างไร เมื่อ พ.ศ. 2474 คิม ซ็อง-จู เข้าร่วมพรรคคอมมิวนิสต์จีน ในปีเดียวกันนั้นเองเกิดเหตุการณ์มุกเดน เป็นเหตุให้จักรวรรดิญี่ปุ่นยกทัพเข้ารุกรานแมนจูเรีย นำไปสู่สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 2 คิม ซ็อง-จู จึงได้เข้าร่วมทหารกองโจรคอมมิวนิสต์จีนต่อสู้เพื่อต้านทานการรุกรานของญี่ปุ่น ระหว่างการต่อสู้ต้านทานญี่ปุ่นภายใต้ธงของรัฐบาลจีนนั้น คิม ซ็อง-จู ได้รู้จักกับเว่ย์ เจิ้งหมิน (Wei Zhengmin) ผู้บังคับบัญชาชาวจีนซึ่งมีอิทธิพลต่อแนวความคิดทางด้านลัทธิคอมมิวนิสต์และเปรียนเสมือนเป็นอาจารย์ของคิม ซ็อง-จู
พ.ศ. 2478 คิม ซ็องจูเปลี่ยนชื่อของตนเองเป็นคิม อิล-ซ็อง คิม อิล-ซ็อง ไต่เต้าสายการบังคับบัญชาของกองทัพจีนในแมนจูเรียขึ้นมาตามลำดับ จนกระทั่งได้เป็นผู้บังคับบัญชามีกองกำลังเป็นของตนเอง สงครามจีน-ญี่ปุ่นอันเป็นส่วนหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่สองยืดเยื้อยาวนานจนกระทั่งกองทัพฝ่ายจีนในแมนจูเรียถูกลดทอนกำลังลงและสูญเสียผู้บังคับบัญชาไปมาก คิม อิล-ซ็อง ซึ่งในขณะนั้นเป็นหนึ่งในผู้บังคับบัญชาเพียงไม่กี่คนของจีนที่ยังมีชีวิตรอด ถูกกองทัพญี่ปุ่นโจมตีจนต้องล่าถอยข้ามแม่น้ำอามูร์เข้าไปยังอาณาเขตของสหภาพโซเวียต เมื่อ พ.ศ. 2483 คิม อิล-ซ็อง พำนักอยู่ที่เมืองเวียตสกอย (Vyatskoye) ดินแดนฮาบารอฟสค์ (Khabarovsk Krai) ประเทศรัสเซียในปัจจุบัน และเข้าร่วมกองทัพแดง ของสหภาพโซเวียต ที่เมืองเวียดสกอยในปี พ.ศ. 2484 คิม อิล-ซ็อง ได้สมรสกับนางคิม จ็อง-ซุก (เกาหลี: 김정숙) นางคิม จ็อง-ซุก ได้ให้กำเนิดบุตรชายคนแรกคือ คิม จ็อง-อิล ในปีเดียวกัน[15]
ผู้นำเกาหลีเหนือ
[แก้]หนทางสู่ผู้นำเกาหลีเหนือ
[แก้]เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2488 จักรวรรดิญี่ปุ่นประกาศยอมจำนนต่อสงครามโลกครั้งที่สอง และทัพโซเวียตเข้ายึดเมืองเปียงยาง เกาหลีพ้นจากการเป็นอาณานิคมของญี่ปุ่น และด้วยมติของสหประชาชาติให้เกาหลีอยู่ในภาวะทรัสตี (Trusteeship) โดยสหภาพโซเวียตเข้ากำกับดูแลดินแดนเกาหลีทางตอนเหนือ ในขณะที่สหรัฐอเมริกากำกับดูแลเกาหลีทางตอนใต้ โจเซฟ สตาลิน (Joseph Stalin) ผู้นำสหภาพโซเวียตต้องการสรรหาผู้นำชาวเกาหลีซึ่งจะปกครองเกาหลีส่วนเหนือที่อยู่ภายใต้การล่าอาณานิคมของโซเวียตต่อไป ลาฟเรนตี เบเรีย (Lavrentiy Beria) ได้แนะนำคิม อิล-ซ็อง ต่อสตาลิน[7][16][17] ให้เป็นผู้ปกครองดินแดนเกาหลีเหนือ คิม อิล-ซ็อง จึงเดินทางกลับมายังเกาหลีโดยเทียบท่าที่เมืองวอนซันในเดือนกันยายน พ.ศ. 2488[17][18] ในเดือนธันวาคมสหภาพโซเวียตประกาศให้คิม อิล-ซ็อง เป็นหัวหน้าพรรคแรงงานล่าอาณานิคมเกาหลี[19] แม้ว่าพรรคแรงงานแห่งเกาหลีเดิมนั้นมีที่ทำการอยู่ที่โซล และมีหัวหน้าอยู่ก่อนแล้วคือพัก ฮ็อน-ย็อง (เกาหลี: 박헌영) ด้วยการสนับสนุนของสหภาพโซเวียต คิม อิล-ซ็อง จึงสามารถก้าวขึ้นเป็นผู้นำคอมมิวนิสต์สูงสุดของเกาหลีเหนือได้สำเร็จ[17][19]
นอกเหนือจากคิม อิล-ซ็อง สหภาพโซเวียตได้พยายามที่จะรวบรวมบุคคลและองค์กรต่าง ๆ ของชาวเกาหลีที่ให้การสนับสนุนลัทธิคอมมิวนิสต์เข้ามาสู่รัฐบาลเกาหลีเหนือ ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2489 พรรคประชาชนใหม่ของคิม ดู-บง (เกาหลี: 김두봉) และพรรคแรงงานเกาหลีที่โซลของนายพัก ฮ็อน-ย็อง ถูกยุบรวมเข้ากับพรรคแรงงานแห่งเกาหลีของนายคิม อิล-ซ็อง กลายเป็นสภาประชาชนชั่วคราวแห่งเกาหลีเหนือ โดยมีคิม อิล-ซ็อง เป็นผู้นำ แต่ทว่าตำแหน่งหัวหน้าพรรคแรงงานนั้นตกเป็นของคิม ดู-บง ในฐานะผู้นำของสภาประชาชนคิม อิล-ซ็อง ได้ปฏิรูประบบที่ดินในเกาหลี ซึ่งในสมัยการปกครองของญี่ปุ่นนั้นดินแดนส่วนใหญ่ในเกาหลีมีนายทุนชาวญี่ปุ่นเป็นเจ้าของ คิม อิล-ซ็อง ได้จัดสรรที่ดินใหม่ทั้งหมดตามหลักการของลัทธิคอมมิวนิสต์
เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2490 สหประชาชาติมีมติให้รัฐบาลที่มาจากเลือกตั้งที่โซลมีอำนาจปกครองทั่วทั้งคาบสมุทรเกาหลี ซึ่งเป็นข้อตกลงที่สหภาพโซเวียตไม่เห็นชอบด้วย เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2491 รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งที่โซลนำโดยอี ซึง-มัน (Yi Seung-man; เกาหลี: 이승만) ประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐเกาหลีในเดือนต่อมากันยายน พ.ศ. 2491 สหภาพโซเวียตจึงยกระดับสภาประชาชนเกาหลีเหนือขึ้นเป็น สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (Democratic People's Republic of Korea; DPRK) โดยมีนายคิม อิล-ซ็อง เป็นนายกรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีคิม อิล-ซ็อง จัดตั้งกองทัพล่าอาณานิคมเกาหลี เพื่อเป็นกองกำลังทหารประจำรัฐ คิม อิล-ซ็อง รวบรวมพรรคคอมมิวนิสต์อื่น ๆ ในเกาหลีจัดตั้งเป็น แนวร่วมล่าอาณานิคมเพื่อเอกภาพแห่งปิตุภูมิ (Democratic Front of the Reunification of the Fatherland) โดยมีพรรคแรงงานล่าอาณานิคมแห่งเกาหลีของคิม อิล-ซ็อง เป็นแกนนำหลัก
นายกรัฐมนตรีคิม อิล-ซ็อง นิยมการบริหารประเทศในแบบของโจเซฟ สตาลิน จนนำมาเป็นแบบอย่าง คิม อิล-ซ็อง เริ่มการสร้างลัทธิบูชาตัวบุคคล (cult of personality) ของเขาเองขึ้นมา เริ่มมีการเรียกคิม อิล-ซ็อง ว่า "ท่านผู้นำ" (Great Leader) รูปปั้นเสมือนของคิม อิล-ซ็อง ก็เริ่มปรากฏขึ้นในสมัยนี้เช่นกัน
นางคิม จ็อง-ซุก สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งภรรยาคนแรกของคิม อิล-ซ็อง ผู้เป็นมารดาของคิม จ็อง-อิล ได้ให้กำเนิดบุตรชายคนที่สองคือ คิม มัน-อิล (เกาหลี: 김만일) ใน พ.ศ. 2487 และได้ให้กำเนิดบุตรสาวคนโตคนแรกคือ คิม คย็อง-ฮี (เกาหลี: 김경희) เมื่อ พ.ศ. 2489 แต่ทว่าคิม มัน-อิล ได้เสียชีวิตจากการจมน้ำในสระว่ายน้ำใน พ.ศ. 2490 ด้วยอายุเพียงสามปี จากนั้นใน พ.ศ. 2492 นางคิม จ็อง-ซุก ก็เสียชีวิตจากการให้กำเนิดบุตรคนที่สี่ คิม อิล-ซ็อง สมรสใหม่ในอีกสามปีต่อมา พ.ศ. 2495 กับเลขานุการส่วนตัว คิม ซ็อง-แอ (เกาหลี: 김성애) ระหว่างช่วงสงครามเกาหลี
สงครามเกาหลี
[แก้]เมื่อจัดตั้งรัฐทั้งสองในคาบสมุทรเกาหลีเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทั้งสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตได้ถอนกำลังของตนออกจากคาบสมุทรเกาหลีใน พ.ศ. 2492 นายกรัฐมนตรีคิม อิล-ซ็อง เล็งเห็นว่ากองกำลังทหารของฝ่ายเกาหลีใต้นั้นอ่อนแอเมื่อปราศจากการสนับสนุนของสหรัฐอเมริกา จึงเสนอต่อสตาลินว่าจะเข้ารุกรานเกาหลีใต้เพื่อรวมคาบสมุทรเกาหลีให้เป็นหนึ่งภายใต้การปกครองของรัฐบาลคอมมิวนิสต์[20][21][22] ซึ่งฝ่ายสตาลินนั้นเห็นด้วยเนื่องจากคาดการณ์ว่าสหรัฐอเมริกาซึ่งได้ถอนกำลังไปหมดแล้วจะไม่เข้าช่วยฝ่ายเกาหลีใต้ สตาลินจึงจัดให้มีการฝึกการรบและติดอาวุธที่ทันสมัยให้แก่กองทัพล่าอาณานิคมประชาชนเกาหลีเพื่อเตรียมการณ์สำหรับการรุกรานเกาหลีใต้[23] สำหรับฝ่ายสาธารณรัฐประชาชนจีน ภายใต้การนำของเหมา เจ๋อตงนั้น ยังคงลังเลที่จะให้การสนับสนุนแก่เกาหลีเหนือ เนื่องจากเหมาเจ๋อตงมีความเห็นว่าฝ่ายสหรัฐอเมริกาจะต้องเข้าช่วยเกาหลีใต้อย่างแน่นอน
เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2493 คิม อิล-ซ็อง มอบหมายให้ ชเว ยง-ก็อน (เกาหลี: 최용건) ผู้บังคับบัญชาสูงสุดของกองทัพประชาชนเกาหลี นำกองทัพประชาชนเกาหลีเข้ารุกรานเกาหลีใต้ข้ามเส้นขนานที่ 38 และเข้าบุกยึดนครโซลได้ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติประณามการกระทำของฝ่ายเกาหลีเหนือและลงมติให้ประเทศสมาชิกส่งกองกำลังรวมในนามของสหประชาชาติเข้าต้านทานการรุกรานของเกาหลีเหนือ ฝ่ายสหรัฐอเมริกาภายใต้การนำของประธานาธิบดีแฮร์รี เอส. ทรูแมน ตัดสินใจนำส่งทัพเข้าช่วยเหลือฝ่ายเกาหลีใต้ ทัพอเมริกาเอาชนะทัพเกาหลีเหนือได้ในยุทธการวงรอบปูซาน และทัพผสมนานาชาติในนามของสหประชาชาติยกพลขึ้นบกที่เมืองอินชอน ในเดือนกันยายนทัพฝ่ายเกาหลีใต้สามารถยึดนครโซลคืนไปได้ ทัพเกาหลีเหนือจึงล่าถอยกลับไปเหนือเส้นขนานที่ 38
การรุกรานเกาหลีใต้ของคิม อิล-ซ็อง ใน พ.ศ. 2493 เป็นความล้มเหลวครั้งใหญ่ของคิม อิล-ซ็อง ทัพผสมสหรัฐอเมริกาและสหประชาชาติเมื่อยุติการรุกรานของเกาหลีเหนือได้แล้ว ก็หวังผลการรวมคาบสมุทรเกาหลีไว้กับรัฐบาลที่โซล จึงยกพลขึ้นเหนือจากเส้นขนานที่ 38 ในเดือนตุลาคม เข้ารุกรานเกาหลีเหนือ เข้ายึดเมืองเปียงยางได้ กองทัพประชาชนเกาหลีแตกพ่าย คิม อิล-ซ็อง หลบหนีจากเมืองเปียงยางไปยังมณฑลจี๋หลินของสาธารณรัฐจีน เมื่อทัพสหรัฐอเมริกายกพลมาจนใกล้ถึงแม่น้ำยาลู ฝ่ายสาธารณรัฐประชาชนจีนภายใต้การนำของเหมาเจ๋อตงมีความเห็นว่าฝ่ายสหรัฐอเมริกานั้นเข้ามาคุกคามใกล้เคียงกับเขตแดนของสาธารณรัฐประชาชนจีนมากจนเกินทน จึงส่งเผิง เต๋อหฺวาย (จีน: 彭德怀, Péng Déhuái) นำกองทัพอาสาประชาชนเข้าช่วยฝ่ายเกาหลีเหนือ โดยฝ่ายสหรัฐอเมริกาและสหประชาชาติไม่ทันตั้งตัวถูกโจมตีจนล่าถอยกลับลงมาสู่เส้นขนานที่ 38 กองทัพสหประชาชาติ กองทัพอาสาประชาชนของจีน และกองทัพประชาชนเกาหลี เจรจาทำข้อตกลงสงบศึกในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2496 ที่หมู่บ้านพันมุนจ็อม (เกาหลี: 판문점) ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะกำหนดเขตปลอดทหาร ความกว้างสี่กิโลเมตรระหว่างเขตแดนของทั้งสองประเทศ
สงครามเกาหลีเป็นความล้มเหลวพ่ายแพ้ของคิม อิล-ซ็อง ด้วยการช่วยเหลือของกองทัพอาสาสมัครประชาชนของจีนจึงสามารถขับให้กองทัพสหรัฐอเมริกาและสหประชาชาติออกไปจากเกาหลีเหนือได้ อย่างไรก็ตามรัฐบาลเกาหลีเหนือในสมัยต่อมาได้บิดเบือนประวัติศาสตร์ในช่วงสงครามเกาหลี โดยกล่าวว่าฝ่ายสหรัฐอเมริกาเป็นผู้เริ่มการรุกรานเกาหลีเหนือก่อน[24] และเกาหลีเหนือได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้นในสงครามโดยที่สามารถขับไล่กองทัพล่าอาณานิคมของสหรัฐอเมริกาออกไปได้
รวบรวมอำนาจและกำจัดคู่แข่ง
[แก้]หลังสงครามเกาหลีเป็นช่วงเวลาแห่งการฟื้นฟูประเทศ คิม อิล-ซ็อง ริเริ่มแนวความคิดช็อลลีมา (Chollima Movement; เกาหลี: 천리마운동) หรือ "ม้าหมื่นลี้" เป็นแนวความคิดของการใช้ทรัพยากรธรรรมชาติและทรัพยากรคนอย่างหนักหน่วง ให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อที่จะฟื้นฟูประเทศจากสงครามเกาหลี ทำให้เกาหลีเหนือมีระบบเศรษฐกิจแบบบังคับ (command economy) ชาวเกาหลีเหนือจำนวนมากถูกเกณฑ์เข้าเป็นแรงงานในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ของรัฐบาล เพื่อเร่งผลผลิตออกมาใช้ในประเทศ
ในสมัยต้นของเกาหลีเหนือ คิม อิล-ซ็อง มิได้เป็นผู้นำคอมมิวนิสต์ที่มีอำนาจเพียงคนเดียวในเกาหลีเหนือ แต่ทว่ารัฐบาลเกาหลีเหนือในสมัยนั้นประกอบไปด้วยฝ่ายการเมืองถึงสี่ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายกองโจรแมนจูเรียคือฝ่ายของคิม อิล-ซ็อง ฝ่ายที่ให้การสนับสนุนสหภาพโซเวียต ฝ่ายที่ให้การสนับสนุนรัฐบาลจีน และฝ่ายคอมมิวนิสต์จากเกาหลีใต้ ซึ่งฝ่ายที่เป็นคู่แข่งที่สำคัญที่สุดของคิม อิล-ซ็อง คือ ฝ่ายที่ให้การสนับสนุนจีนหรือที่เรียกว่า ฝ่ายย็อนอัน (เกาหลี: 연안파) นำโดยนายคิม ดู-บง และชเว ชัง-อิก (เกาหลี: 최창익) พ.ศ. 2496 คิม อิล-ซ็อง โทษฝ่ายคอมมิวนิสต์เกาหลีใต้ ซึ่งนำโดยนายพัก ฮ็อน-ย็อง ว่าเป็นสาเหตุทำให้กองทัพประชาชนเกาหลีไม่ได้รับการตอบรับจากชาวเกาหลีใต้ในสงครามเกาหลี พัก ฮ็อน-ย็อง และสมาชิกฝ่ายคอมมิวนิสต์ต่างถูกจับกุมดำเนินคดีต่อหน้าสาธารณชน (show trial) และจำนวนมากถูกตัดสินโทษประหารชีวิตหรือหายไปอย่างไร้ร่องรอย พัก ฮ็อน-ย็อง ถูกตัดสินโทษประหารใน พ.ศ. 2498
ผู้นำโซเวียตคนใหม่ นิกิตา ครุสชอฟ มีนโยบายต่อต้านลัทธิสตาลิน โดยผู้นำคอมมิวนิสต์ต่าง ๆ ซึ่งมีความนิยมในตัวสตาลินต่างถูกขับออกจากอำนาจ คิม อิล-ซ็อง ผู้นิยมสตาลิน (Stalinist) ถูกทางการสหภาพโซเวียตเรียกเข้ารายงานตัวที่มอสโกใน พ.ศ. 2499 เพื่อพบครุสชอฟ ครุสชอฟได้กล่าวตำหนิถึงวิธีการบริหารประเทศแบบสตาลินของคิม อิล-ซ็อง ได้แก่ความเผด็จการและการสร้างลัทธิบูชาตัวบุคคล และเน้นย้ำให้คิม อิล-ซ็อง เห็นถึงหลักการของภาวะผู้นำร่วม (collective leadership)[25] ขณะที่คิม อิล-ซ็อง อยู่ที่เมืองมอสโคนั้น ฝ่ายย็อนอันได้ฉวยโอกาสนี้พยายามก่อการยึดอำนาจจากคิม อิล-ซ็อง โดยชเว ชัง-อิก ได้กล่าวสุนทรพจน์ตำหนิการบริหารประเทศของคิมว่ารวบอำนาจไว้ในมือของตนแต่เพียงผู้เดียวเป็นเผด็จการ แต่ทว่าสมาชิกพรรคคนอื่น ๆ ในรัฐบาลไม่เห็นด้วยกับการยึดอำนาจของฝ่ายย็อนอัน เมื่อคิม อิล-ซ็อง เดินทางกลับมาจึงสั่งให้มีการสอบสวนจับกุมผู้นำฝ่ายย็อนอันทั้งหลาย คิม ดู-บง ผู้นำฝ่ายย็อนอันแม้จะไม่ได้มีส่วนร่วมในการก่อการครั้งนี้แต่ก็ถูกตัดสินโทษประหารชีวิต เช่นเดียวกับชเว ชัง-อิก ผู้ริเริ่มในการก่อการครั้งนี้
ในปี พ.ศ. 2515 รัฐบาลเกาหลีเหนือประกาศร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เปลี่ยนแปลงระบบการปกครอง โดยให้นายคิม อิล-ซ็อง ดำรงตำแหน่งเป็น "ประธานาธิบดี" ซึ่งได้รับเลือกจากสภาประชาชนสูงสุด (Supreme People's Assembly) ซึ่งมีพรรคแรงงานแห่งเกาหลีมีเสียงข้างมากอยู่
กำเนิดแนวความคิดจูเช
[แก้]ความสัมพันธ์ที่ไม่ดีนักของรัฐบาลเกาหลีภายใต้การนำของคิม อิล-ซ็อง กับสหภาพโซเวียตนำโดยนิกิตา ครุสชอฟ และสาธารณรัฐประชาชนจีน ทำให้เกาหลีเหนือขาดความช่วยเหลือจากประเทศมหาอำนาจคอมมิวนิสต์ทั้งสอง หลังสงครามเกาหลีเศรษฐกิจของเกาหลีเหนือยังคงสามารถฟื้นฟูและอยู่รอดได้จากการผลิตภายในประเทศ อย่างไรก็ตามในช่วงทศวรรษ 1970 วิกฤตราคาน้ำมันโลก ประกอบกับการลงทุนมหาศาลของรัฐบาลเกาหลีเหนือไปกับการทหารทำให้เศรษฐกิจของเกาหลีเหนือถดถอยลง ในขณะที่เศรษฐกิจของประเทศคู่แข่งอย่างเกาหลีใต้กำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดดด้วยการปฏิวัติอุตสาหกรรมและทุนนิยม ในคณะเดียวกันนั้นคิม อิล-ซ็อง ได้ริเริ่มแนวความคิดจูเช (เกาหลี: 주체) อันเป็นแนวคิดลัทธิคอมมิวนิสต์แบบสตาลินนิสต์ในรูปแบบของเกาหลีเหนือเอง อันประกอบไปด้วยการพึ่งพาตนเองโดยสมบูรณ์แบบในสามด้าน ได้แก่ ทางด้านการเมือง (เป็นอิสระจากการครอบงำของทั้งโซเวียตและจีน) ทางเศรษฐกิจ และทางการทหาร รวมทั้งมีลัทธิบูชาตัวบุคคลของคิม อิล-ซ็อง หลังจากที่การกู้เงินจากต่างชาติเพื่อมาลงทุนในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ไม่ประสบความสำเร็จ รัฐบาลเกาหลีเหนือจึงตัดสินใจที่จะปิดประเทศตัดสัมพันธ์ทางการค้าและการทูตกับประเทศอื่น ๆ เกือบทั้งหมด รัฐบาลเกาหลีออกประกาศนโยบายจูเชออกมาอย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 2525
อย่างไรก็ตามนโยบายจูเชกลับยิ่งตอกย้ำซ้ำเติมเศรษฐกิจของเกาหลีเหนือให้ตกต่ำลงไปอีก เมื่อขาดความช่วยเหลือจากภายนอก เมื่อการผลิตภายในประเทศล้มเหลวในช่วงทศวรรษ 1990 อันเนื่องมากจากภัยธรรมชาติทำให้เกิดภาวะขาดแคลนอาหารข้าวยากหมากแพงขึ้นทั่วไปในประเทศ นำไปสู่ทุพภิกขภัยเกาหลีเหนือ ซึ่งรัฐบาลเกาหลีได้ให้ชื่อเหตุการณ์ภาวะอดอยากในครั้งนี้ว่า "การเดินทัพอันยากลำบาก" (เกาหลี: 고난의 행군) ในช่วง พ.ศ. 2537 ถึง 2541 ทำให้มีประชาชนขาวเกาหลีเหนือเสียชีวิตไปเป็นจำนวนประมาณ 240,000 ถึง 3,500,000 คน ในขณะเดียวกันนั้นรัฐบาลเกาหลีเหนือยังคงครอบงำประชาชนด้วยลัทธิจูเชและลัทธิบูชานายคิม อิล-ซ็อง ต่อไป และแก้ไขปัญหาภาวะความอดอยากอย่างไร้ประสิทธิภาพ
บั้นปลายชีวิตและการส่งต่ออำนาจ
[แก้]คิม อิล-ซ็อง หมายมั่นที่จะให้บุตรชายคนโตของตนที่เกิดจากภรรยาคนแรกคือ นายคิม จ็อง-อิล เป็นผู้สืบทอดตำแหน่งผู้นำของพรรคแรงงานแห่งเกาหลีต่อไป โดยใน พ.ศ. 2507 นายคิม จ็อง-อิล ได้รับการแต่งตั้งเข้าทำงานในแผนกจัดระเบียบและวางแนวทาง (Organization and Guidance Department) ของพรรคแรงงานแห่งเกาหลี อันเป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อปูทางสำหรับคิม จ็อง-อิล ให้ขึ้นสู่อำนาจโดยเฉพาะ ต่อมาใน พ.ศ. 2516 คิม จ็อง-อิล ได้รับการเลื่อนตำแหน่งให้เป็นเลขาธิการพรรคแรงงานแห่งเกาหลี ความก้าวหน้าทางการเมืองของคิม จ็อง-อิล ทำให้นานาชาติคาดการณ์ว่าเขาน่าจะเป็นผูสืบทอดต่อจากคิม อิล-ซ็อง ผู้เป็นบิดา พ.ศ. 2534 คิม จ็อง-อิล ได้รับตำแหน่งผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพประชาชนเกาหลี เป็นการแสดงออกของนายคิม อิล-ซ็อง ว่า คิม จ็อง-อิล ผู้เป็นบุตรชายนั้นเป็นผู้สืบทอดอำนาจอย่างแท้จริง การสืบทอดตำแหน่งต่อจากบิดาของนายคิม จ็อง-อิล ทำให้เกาหลีเหนือกลายเป็นรัฐเผด็จการแบบสืบทอด หรือสมบูรณาญาสิทธิราชย์โดยพฤตินัย
วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 ประธานาธิบดีคิม อิล-ซ็อง แห่งเกาหลีเหนือ ถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคหัวใจขาดเลือดเมื่ออายุ 82 ปี หลังจากการถึงแก่อสัญกรรมของคิม อิล-ซ็อง ผ่านไปแล้วกว่า 34 ชั่วโมง รัฐบาลเกาหลีเหนือจึงประกาศการถึงแก่อสัญกรรมของคิม อิล-ซ็อง อย่างเป็นทางการ และประกาศช่วงเวลาการไว้ทุกข์เป็นเวลาสิบวัน ซึ่งงานรื่นเริงทุกชนิดถูกห้าม มีชาวเกาหลีเหนือเข้าร่วมพิธีศพของประธานาธิบดีคิม อิล-ซ็อง กว่าหนึ่งพันคนในวันที่ 17 กรกฎาคม ศพของคิม อิล-ซ็อง ตั้งไว้ที่วังสุริยะคึมซูซัน (Kumsusan Palace of the Sun) ในเมืองเปียงยาง อันเป็นที่พำนักอยู่เดิมของประธานาธิบดีผู้ล่วงลับ
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]สิ่งสืบทอด
[แก้]
|
คิม อิล-ซ็องได้รับการเคารพนับถืออย่างเทพเจ้าในช่วงที่มีชีวิตอยู่ แต่ลัทธิบูชาบุคคลของเขาไม่ได้ขยายไปไกลกว่าของเขตประเทศตนเอง[26] มีรูปปั้นของเขาในประเทศเกาหลีเหนือมากกว่า 500 แห่ง คล้ายกับรูปปั้นและอนุสรณ์หลายแห่งที่ผู้นำในประเทศกลุ่มตะวันออกให้ติดตั้งไว้[27] รูปปั้นที่สำคัญที่สุดอยู่ที่มหาวิทยาลัยคิมอิลซ็อง สนามกีฬาคิม อิล-ซ็อง เนินเขามันซูแด สะพานคิม อิล-ซ็อง และรูปปั้นคิม อิล-ซ็องผู้เป็นอมตะ (Immortal Statue of Kim Il Sung) รูปปั้นบางส่วนถูกชาวเกาหลีเหนือบางคนที่ไม่เห็นด้วยทำลายด้วยระเบิดหรือทำให้เสียหายด้วยการวาดรอยขูดขีดเขียน[14]: 201 [28] มีการติดตั้งอนุสรณ์ Yŏng Saeng ("ชีวิตอมตะ") ทั่วประเทศเพื่ออุทิศแด่ "ผู้นำตลอดกาล" ที่ถึงแก่อสัญกรรมไปแล้ว[29]
ของขวัญหลายพันชิ้นจากผู้นำต่างประเทศหลายคนที่ให้คิม อิล-ซ็องได้รับการจัดแสดงที่นิทรรศการสันถวไมตรีนานาชาติ[30]
"วันแห่งสุริยะ" วันเกิดของคิม อิล-ซ็อง ได้รับการฉลองทุกปีในฐานะวันหยุดราชการในประเทศเกาหลีเหนือ[31]
ครอบครัว
[แก้]- ปู่: คิม โบ-ฮย็อน (เกาหลี: 김보현พ.ศ. 2414 - 2498)
- ย่า: ลี โบ-อิก (เกาหลี: 리보익 พ.ศ. 2419 - 2502)
- บิดา: คิม ฮย็อง-จิก (เกาหลี: 김형직 พ.ศ. 2427 – 2469)
- มารดา: คัง พัน-ซ็อก (เกาหลี: 강반석 พ.ศ. 2435 – 2475)
- พี่น้อง:
- คิม ช็อล-จู (เกาหลี: 김철주)
- คิม ย็อง-จู (เกาหลี: 김영주)
- ภรรยาคนแรก: คิม จ็อง-ซุก (เกาหลี: 김정숙 พ.ศ. 2460 – 2492)
- บุตรชายคนแรก: คิม จ็อง-อิล
- บุตรชายคนที่ 2: คิม มัน-อิล (เกาหลี: 김만일 พ.ศ. 2487 – 2490)
- บุตรสาวคนแรก: คิม กย็อง-ฮี (เกาหลี: 김경희 พ.ศ. 2489 – ปัจจุบัน) สมรสกับ ชัง ซ็อง-แท็ก
- ภรรยาคนที่ 2: คิม ซ็อง-แอ (เกาหลี: 김성애 พ.ศ. 2471 -2557)
- บุตรสาวคนที่ 2: คิม กย็อง-ซุก (เกาหลี: 김경숙 พ.ศ. 2494 – ปัจจุบัน)
- บุตรชายคนที่ 3: คิม พย็อง-อิล (เกาหลี: 김평일 พ.ศ. 2497 – ปัจจุบัน)
- บุตรชายคนที่ 4: คิม ย็อง-อิล (เกาหลี: 김영일 พ.ศ. 2498 – ปัจจุบัน)
- บุตรสาวคนที่ 3: คิม กย็อง-จิน (เกาหลี: 김경진)
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ Choi Yong-kun เคยดำรงตำแหน่งประมุขแห่งรัฐในฐานะประธานสมัชชาประชาชนสูงสุด
- ↑ Kim Yong-nam กลายเป็นประมุขแห่งรัฐในฐานะประธานสมัชชาประชาชนสูงสุด
- ↑ เกาหลี: 김성주
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 김, 성욱 (23 October 2010). 김일성(金日成). 한국역대인물 종합정보 시스템 (ภาษาเกาหลี). Academy of Korean Studies. สืบค้นเมื่อ 7 November 2022.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "김일성, 쿠바의 '혁명영웅' 체게바라를 만난 날". DailyNK (ภาษาเกาหลี). 15 April 2008.
- ↑ Hoare, James E. (2012) Historical Dictionary of Democratic People's Republic of Korea
- ↑ Suh, Dae-sook (1988). Kim Il Sung: The North Korean Leader. New York: Columbia University Press. ISBN 0231065736.
- ↑ "80th Anniversary Of The Birth Of Kim Chol Ju Minisheet 1996". Propagandaworld (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-09-19.
- ↑ Hoare, James (2012-07-13). Historical Dictionary of Democratic People's Republic of Korea (ภาษาอังกฤษ). Scarecrow Press. ISBN 978-0-8108-6151-0.
- ↑ 7.0 7.1 "Soviet Officer Reveals Secrets of Mangyongdae". Daily NK. 2 January 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 February 2014. สืบค้นเมื่อ 15 April 2014.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 8.3 Baik Bong (1973). Kim il Sung: Volume I: From Birth to Triumphant Return to Homeland. Beirut, Lebanon: Dar Al-talia.
- ↑ Andrei Lankov (2004). The DPRK yesterday and today. Informal history of North Korea. Moscow: Восток-Запад (English: East-West). p. 73. 243895. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 August 2020. สืบค้นเมื่อ 13 May 2020.
- ↑ Kimjongilia – The Movie – Learn More เก็บถาวร 18 กันยายน 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Byrnes, Sholto (7 May 2010). "The Rage Against God, By Peter Hitchens". The Independent. London. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 May 2010.
- ↑ Sohn, Won Tai (2003). Kim Il Sung and Korea's Struggle: An Unconventional Firsthand History. Jefferson: McFarland. pp. 42–43. ISBN 978-0-7864-1589-2. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 November 2021. สืบค้นเมื่อ 7 November 2021.
- ↑ Lankov, Andrei (2002). From Stalin to Kim Il Sung: The Formation of North Korea 1945–1960. Rutgers University Press. ISBN 978-0813531175.
- ↑ 14.0 14.1 Jasper Becker (May 1, 2005). Rogue Regime : Kim Jong Il and the Looming Threat of North Korea. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-803810-8.
- ↑ Lintner, Bertil. Great Leader, Dear Leader: Demystifying North Korea under the Kim Clan. Chiang Mai, Thailand: Silkworm Books, 2005.
- ↑ http://ysfine.com/wisdom/wk01.html Beria/Kim Il-sung
- ↑ 17.0 17.1 17.2 http://www.scmp.com/article/727755/kim-il-sungs-secret-history
- ↑ Bradley K. Martin (2004). Under the Loving Care of the Fatherly Leader: North Korea and the Kim Dynasty. Thomas Dunne Books. p. 51. ISBN 978-0-312-32322-6.
- ↑ 19.0 19.1 Bradley K. Martin (2004). Under the Loving Care of the Fatherly Leader: North Korea and the Kim Dynasty. Thomas Dunne Books. p. 56. ISBN 978-0-312-32322-6.
- ↑ Weathersby, Kathryn, The Soviet Role in the Early Phase of the Korean War, The Journal of American-East Asian Relations 2, no. 4 (Winter 1993): 432
- ↑ Goncharov, Sergei N., Lewis, John W. and Xue Litai, Uncertain Partners: Stalin, Mao, and the Korean War (1993)
- ↑ Mansourov, Aleksandr Y., Stalin, Mao, Kim, and China’s Decision to Enter the Korean War, 16 September – 15 October 1950: New Evidence from the Russian Archives, Cold War International History Project Bulletin, Issues 6–7 (Winter 1995/1996): 94–107
- ↑ Blair, Clay, The Forgotten War: America in Korea, Naval Institute Press (2003).
- ↑ Ho Jong-ho et al. (1977) The US Imperialists Started the Korean War เก็บถาวร 2011-04-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ http://gopkorea.blogs.com/flyingyangban/2005/02/the_aborted_ove.html
- ↑ Young, Benjamin R. (6 April 2021). Guns, Guerillas, and the Great Leader: North Korea and the Third World (ภาษาอังกฤษ). Stanford University Press. p. 99. ISBN 978-1-5036-2764-2. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 November 2021. สืบค้นเมื่อ 25 November 2021.
Kim Il Sung was a godlike figure within the DPRK but his personality cult struggled to extend beyond the North Korean borders.
- ↑ Portal, Jane (2005). Art under control in North Korea. Reaktion Books. p. 82. ISBN 978-1-86189-236-2.
- ↑ "N.Korean Dynasty's Authority Challenged". The Chosun Ilbo. 13 February 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 September 2012. สืบค้นเมื่อ 9 November 2012.
- ↑ "Controversy Stirs Over Kim Monument at PUST". Daily NK. 9 April 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 April 2010. สืบค้นเมื่อ 24 April 2010.
- ↑ "North Korean museum shows off leaders' gifts". The Age. Reuters. 21 December 2006. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 March 2013. สืบค้นเมื่อ 9 May 2018.
- ↑ "Birthday of Kim Il-sung". Holidays, Festivals, and Celebrations of the World Dictionary (Fourth ed.). Omnigraphics. 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 June 2022. สืบค้นเมื่อ 3 May 2015 – โดยทาง TheFreeDictionary.com.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Nicolae Ceausescu's visit to Pyongyang, North Korea, in 1971
- "Conversations with Kim Il Sung" at the Wilson Center Digital Archive
- คิม อิล-ซ็อง ที่เว็บไซต์ Curlie
- บทความที่มีลิงก์เสียตั้งแต่May 2023
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2455
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2537
- คิม อิล-ซ็อง
- ผู้นำสูงสุดของเกาหลีเหนือ
- เลขาธิการพรรคแรงงานเกาหลี
- นายกรัฐมนตรีเกาหลีเหนือ
- ประธานาธิบดีเกาหลีเหนือ
- นักการเมืองเกาหลีเหนือ
- นักลัทธิคอมมิวนิสต์
- จอมพลสูงสุด
- จอมพลชาวเกาหลีเหนือ
- บุคคลจากเปียงยาง
- ผู้นำในสงครามเย็น
- เสียชีวิตจากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
- ลัทธิต่อต้านอเมริกา
- ทหารชาวโซเวียตในสงครามโลกครั้งที่สอง
- บุคคลที่เคยนับถือศาสนาคริสต์