ข้ามไปเนื้อหา

ชินวัฒน์ หาบุญพาด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชินวัฒน์ หาบุญพาด
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด22 พฤษภาคม พ.ศ. 2496 (71 ปี)
อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2518–2530)
ชาติไทย (2530–2531)
มวลชน (2531–2534)
พลังธรรม (2534–2541)
ไทยรักไทย (2541–2549)
พลังประชาชน (2549–2551)
เพื่อไทย (2552–2564)
พลัง (2564–ปัจจุบัน)

ชินวัฒน์ หาบุญพาด (เกิด 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2496) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[1] นายกสมาคมพิทักษ์ผลประโยชน์ผู้ขับรถแท็กซี่ ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ขับรถแท็กซี่ ที่ชื่นชอบ ทักษิณ ชินวัตร ผู้ก่อตั้งและผู้จัดรายการของสถานีวิทยุชุมชนคนแท็กซี่ เอฟเอ็ม 92.75 เมกกะเฮิร์ทซ์ และเอฟเอ็ม 107.5 เมกกะเฮิร์ทซ์ และแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ รุ่นที่ 2

ประวัติ

[แก้]

ชินวัฒน์ หาบุญพาด เกิดเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2496 อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี เป็นนายกสมาคมพิทักษ์ผลประโยชน์ผู้ขับรถแท๊กซี่ เป็นนักจัดรายการคลื่นวิทยุชุมชนคนแท็กซี่ เข้ามาเคลื่อนไหวทางการเมือง โดยเข้ามาสนับสนุน ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เรียกร้องให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 รวมทั้งร่วมกับกลุ่มคาราวานคนจนที่สวนจตุจักร และร่วมเข้าปิดล้อมอาคารเนชั่นทาวเวอร์ ที่ตั้งบริษัท เนชั่นมัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) จากนั้นในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2549 ร่วมกับพวก 10 คนเข้ารื้อเต๊นท์ เวที และเครื่องขยายเสียงของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่หน้าสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งที่อาคารศรีจุลทรัพย์[2] โดยนอกจากจะเป็นแกนนำกลุ่มคาราวานคนจนแล้ว ยังมีบทบาทอยู่ใน"ชมรมคนรักชาติ" ของประยูร ครองยศ เจ้าของรายการวิทยุ"เมืองไทยรายวัน" ด้วย

วิทยุชุมชนคนแท็กซี่ของชินวัฒน์เฟื่องฟูอย่างมากในสมัยเนวิน ชิดชอบ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รับหน้าที่แก้ปัญหาจราจร ช่วงที่ ยูนิตี้เรดิโอ เอฟเอ็ม 89.75 วิทยุชุมชนเพื่อความสมานฉันท์ของคนในชาติ เปิดดำเนินการชูพงศ์และชินวัฒน์ ก็มีชื่อเป็นผู้ดำเนินรายการร่วมกับ จตุพร พรหมพันธุ์ และณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ[3]

งานการเมือง

[แก้]

ในช่วงการต้านรัฐประหารของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ชินวัฒน์เข้าร่วมกับกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) โดยได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในแกนนำรุ่นที่ 2 และได้รับเลือกให้ลงสมัคร ส.ส.ในระบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 72 ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554[4] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาได้เลื่อนขึ้นเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนพลตำรวจเอก ประชา พรหมนอก[5]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ครม.ตั้ง ขรก.การเมือง"ปู 2"ครบทุกตำแหน่ง "วัน อยู่บำรุง"นั่งที่ปรึกษา รมช.คค.-"ผดุง"ตามโผเลขาฯ มท.1 เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจาก มติชน
  2. ข้อมูลประวัติ 9 แกนนำใหม่ นปก.
  3. "เบื้องหลังวิทยุชุมชน-คนรักทักษิณ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-06. สืบค้นเมื่อ 2009-03-01.
  4. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
  5. ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ให้ผู้มีชื่ออยู่ในลำดับถัดไปในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง เลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง (นายชินวัฒน์ หาบุญพาด)
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2022-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๒๒๔, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๑๘๑, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]