ข้ามไปเนื้อหา

ญะบะลุนนูร

พิกัด: 21°27′29″N 39°51′41″E / 21.45806°N 39.86139°E / 21.45806; 39.86139
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ญะบะลุนนูร
جَبَل ٱلنُّوْر
ญะบะลุนนูรในบริเวณใกล้เคียงมักกะฮ์
จุดสูงสุด
ความสูง
เหนือระดับน้ำทะเล
642 เมตร (2,106 ฟุต)
พิกัด21°27′29″N 39°51′41″E / 21.45806°N 39.86139°E / 21.45806; 39.86139
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์
Map of Saudi Arabia Showing the location of Jabal al-Nour
Map of Saudi Arabia Showing the location of Jabal al-Nour
ญะบะลุนนูร
ที่ตั้งของญะบะลุนนูรในประเทศซาอุดีอาระเบีย
ที่ตั้งแคว้นมักกะฮ์ ฮิญาซ ประเทศซาอุดีอาระเบีย
เทือกเขาทิวเขาฮิญาซ

ญะบะลุนนูร (อาหรับ: جَبَل ٱلنُّوْر) เป็นภูเขาใกล้มักกะฮ์ในแคว้นฮิญาซ ประเทศซาอุดีอาระเบีย[1] ตัวภูเขามีถ้ำฮิรออ์ (غَار حِرَاء) ที่เป็นจุดสำคัญของมุสลิมทั่วโลก เพราะเป็นที่ที่นบี (ศาสดา) มุฮัมมัดใช้เวลานั่งสมาธิในนี้ และเชื่อกันโดยทั่วไปว่าเป็นที่ที่ได้รับการเปิดเผยครั้งแรก ซึ่งเป็น 5 อายะฮ์แรกของซูเราะฮ์อัลอะลักจากเทวทูตญิบรีล[2]

ศัพทมูลวิทยา

[แก้]

เนื่องจากเป็นที่ที่มุฮัมมัดได้รับการเปิดเผยครั้งแรกและได้รับ 5 อายะฮ์แรกของอัลกุรอาน ภูเขานี้จึงได้ชื่อว่า ญะบะลุนนูร ("ภูเขาแห่งแสง" หรือ "ภูเขาแห่งการรู้แจ้ง")[3] กล่าวกันว่า วันที่มีการประทานครั้งแรกอยู่ในคืนวันที่ 10 สิงหาคม ค.ศ. 610 หรือวันจันทร์ที่ 21 เราะมะฎอน ทำให้มุฮัมมัดมีอายุ 40 ปี 6 เดือน และ 12 วันตามปฏิทินจันทรคติ หรือ 39 ปี 3 เดือน และ 22 วันตามปฏิทินกริกอเรียน[4]

ลักษณะ

[แก้]

ลักษณะทางกายภาพหนึ่งที่ทำให้ญะบะลุนนูรแตกต่างจากภูเขาลูกอื่น คือ จุดยอดเขาที่ดูเหมือนภูเขาสองลูกตั้งทับกัน บนเขาไม่มีน้ำหรือพืชชนิดไหนเลยนอกจากหนาม ฮิรออ์อยู่สูงกว่าษะบีร (ثَبِيْر)[a] และล้อมรอบด้วยยอดแหลมและชัน ที่มุฮัมมัดกับผู้ติดตามบางส่วนเคยขึ้นไป[7]

ถ้ำฮิรออ์

[แก้]
ทางเข้าถ้ำฮิรออ์บนภูเขา

การเดินขึ้นเขาถึงถ้ำต้องเดินไป 1,750 ก้าว ตัวถ้ำมีความยาว 3.7 เมตร (12 ฟุต) และกว้าง 1.60 เมตร (5 ฟุต 3 นิ้ว)[2] ตั้งอยู่ที่ความสูง 270 เมตร (890 ฟุต)[8] ในช่วงพิธี ฮัจญ์ มีผู้เยี่ยมชมประมาณ 5,000 คนเพื่อมาดูสถานที่ที่มุฮัมมัดได้รับโองการแรกจากญิบรีล[8]

เรื่องมีอยู่ว่า ความต้องการสันโดษที่เพิ่มขึ้น ทำให้มุฮัมมัดต้องอยู่อย่างสันโดษและทำสมาธิบนเนินหินรอบมักกะฮ์[9] ท่านอยู่ในถ้ำในหนึ่งเดือนทุกปี มีส่วนร่วมในการ ตะฮันนุษ (تَحَنُّث)[b][3][12]

ภาพ

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. ยอดเขาที่มินา[5][6]
  2. มีหลายความหมาย[10][11] หนึ่งในนั้นคือ "การให้เหตุผลด้วยตนเอง" ที่เผ่ากุเรชทำในช่วง ญาฮิลียะฮ์

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Jabal al-Nour (The Mountain Of Light) and Ghar Hira (Cave of Hira)". 16 September 2015.
  2. 2.0 2.1 "In the Cave of Hira'". Witness-Pioneer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-15. สืบค้นเมื่อ 2018-04-11.
  3. 3.0 3.1 Weir, T.H.; Watt, W. Montgomery. "Ḥirāʾ". ใน Bearman, P.; Bianquis, Th.; Bosworth, C.E.; van Donzel, E.; Heinrichs, W.P. (บ.ก.). Encyclopaedia of Islam (2nd ed.). Brill Online. สืบค้นเมื่อ 7 October 2013.
  4. Mubārakpūrī, Ṣafī R. (1998). When the Moon Split. Riyadh.
  5. "T̲h̲abīr", Encyclopedia of Islam (2 ed.), Brill, 2017, สืบค้นเมื่อ 2018-04-11
  6. Schadler, Peter (2017). "4". John of Damascus and Islam: Christian Heresiology and the Intellectual Background to Earliest Christian-Muslim Relations. Brill. p. 158. ISBN 978-9004356054.
  7. Weir, T. H.. "Ḥirāʾ." Encyclopaedia of Islam, First Edition (1913-1936). Edited by M. Th. Houtsma, T.W. Arnold, R. Basset, R. Hartmann. Brill Online, 2013. Reference. Augustana College. 07 October 2013 <http://referenceworks.brillonline.com/entries/encyclopaedia-of-islam-1/hira-SIM_2820>
  8. 8.0 8.1 "Archived copy". Saudi Tourism. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-08. สืบค้นเมื่อ 2018-04-11.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  9. Peterson, Daniel C. (2013). Muhammad, prophet of Allah. Grand Rapids, Mich.
  10. "Taḥannut̲h̲", Encyclopedia of Islam (2 ed.), Brill, 2017, สืบค้นเมื่อ 2018-04-11
  11. Kister, M. J. (1968), ""Al-Taḥannuth": An Inquiry into the Meaning of a Term" (PDF), Kister.huji.ac.il, pp. 223–236, สืบค้นเมื่อ 2018-04-11
  12. al-Tabarī, Abū Ja'far Muhammad B. Jarīr (1988). Watt, W. Montgomery; McDonald, M.V. (บ.ก.). Ta'rīkh al-rusul wa'l-mulūk [The history of al-Tabarī]. Vol. 6. Albany, N.Y.: State University of New York Press.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]