ดมีตรี โปโนมาเรฟ (ผู้บังคับเรือดำน้ำ)
ดมีตรี กรีกอร์เยวิช โปโนมาเรฟ | |
---|---|
ชื่อพื้นเมือง | Дмитрий Григорьевич Пономарёв |
เกิด | 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1908 อาร์ฮันเกลสค์ จักรวรรดิรัสเซีย |
เสียชีวิต | 21 กันยายน ค.ศ. 1982 เลนินกราด สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย สหภาพโซเวียต | (84 ปี)
รับใช้ | สหภาพโซเวียต (ตั้งแต่ ค.ศ. 1929) |
ประจำการ | ค.ศ. 1930 – ค.ศ. 1954 |
ชั้นยศ | นาวาเอก |
บังคับบัญชา | ฐานทัพเรือปิตราปัฟลัฟสค์ของกองเรือแปซิฟิก |
การยุทธ์ | สงครามโซเวียต–ญี่ปุ่น |
บำเหน็จ | วีรชนแห่งสหภาพโซเวียต |
ดมีตรี กรีกอร์เยวิช โปโนมาเรฟ (รัสเซีย: Дмитрий Григорьевич Пономарёв; อังกฤษ: Dmitry Grigorievich Ponomarev; 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1908 – 26 ธันวาคม ค.ศ. 1982) เป็นผู้บังคับการเรือดำน้ำโซเวียตที่ได้รับบำเหน็จวีรชนแห่งสหภาพโซเวียตสำหรับปฏิบัติการในสงครามโซเวียต–ญี่ปุ่น
ประวัติ
[แก้]ดมีตรีเกิดในครอบครัวชนชั้นแรงงานในอาร์ฮันเกลสค์ เขาสำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยนาวีอาร์ฮันเกลสค์ (ภายหลังตั้งชื่อเป็นวิทยาลัยการเดินเรือแห่งรัฐแอดมิรัลมาคารอฟ) ในปี ค.ศ. 1929 และเริ่มต้นในฐานะนักเดินเรือบนเรือสินค้า ส่วนในปี ค.ศ. 1930 เขาเข้าร่วมกับกองทัพแดงที่ซึ่งเขารับใช้จนถึงปี ค.ศ. 1931 ตั้งแต่ ค.ศ. 1933 ถึง ค.ศ. 1935 เขาเป็นนักเรียนด้านการศึกษาด้านการดำน้ำที่ตั้งชื่อโดยเซียร์เกย์ คีรอฟ ส่วนในปี ค.ศ. 1935 เขาเริ่มออกเป็นผู้ช่วยผู้บังคับการกองเรือดำน้ำของกองเรือแปซิฟิก ซึ่งภายหลังได้กลายเป็นผู้บังคับการเรือดำน้ำตัวเอง (กองพลที่ 33 และกองพลที่ 31 ของเรือดำน้ำใน ค.ศ. 1939) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1940 เขาเป็นผู้บัญชาการฐานทัพเรือปิตราปัฟลัฟสค์ของกองเรือแปซิฟิก ดมีตรีเป็นผู้มีส่วนร่วมในสงครามโซเวียต–ญี่ปุ่น ในปี ค.ศ. 1945 ระหว่างการบุกครองหมู่เกาะคูริล เขาได้เตรียมพร้อม และในสภาพอากาศที่มีอุปสรรคได้ประสบความสำเร็จในการผ่านทางทะเล โดยดำเนินการปฏิบัติการยกพลขึ้นบกสู่เกาะที่มีป้อมของชูชาและปารามูเชอร์ รวมทั้งได้จัดวางการต่อต้านจุดแข็งและตำแหน่งอาวุธของศัตรู สำหรับความสำเร็จในปฏิบัติการนี้ ส่งผลให้เขาได้รับตำแหน่งวีรชนแห่งสหภาพโซเวียต หลังจากนั้น เขายังคงรับใช้กองทัพเรือต่อไป ในปี ค.ศ. 1948 โปโนมาเรฟได้จบหลักสูตรด้านวิชาการ ตั้งแต่ ค.ศ. 1954 เขาอาศัยอยู่ในเลนินกราด และเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1982[1][2]
บำเหน็จ
[แก้]- วีรชนแห่งสหภาพโซเวียต
- เครื่องอิสริยาภรณ์เลนิน
- เครื่องอิสริยาภรณ์ธงแดง
- เครื่องอิสริยาภรณ์สงครามของผู้รักชาติ ชั้นที่ 1
- สองเครื่องอิสริยาภรณ์ดาวแดง[2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Пономарев Дмитрий Григорьевич". Flot. สืบค้นเมื่อ November 28, 2018.
- ↑ 2.0 2.1 "Пономарев Дмитрий Григорьевич". Warheroes. สืบค้นเมื่อ November 28, 2018.
บรรณานุกรม
[แก้]- Prohatskiy, К.P. (1982). Золотые звезды тихоокеанцев [Gold stars of the military serving on the Pacific Ocean] (ภาษารัสเซีย). Vladivostok, USSR: Far-East book publishing house. pp. 282–285.
- ГЕРОИ ОГНЕННЫХ ДНЕЙ. УЧАСТНИКИ ОСВОБОЖДЕНИЯ ЮЖНОГО САХАЛИНА И КУРИЛЬСКИХ ОСТРОВОВ В АВГУСТЕ 1945 ГОДА — ГЕРОИ СОВЕТСКОГО СОЮЗА [Heroes of fiery days: Participants of liberation of the Southern Sakhalin and the Kuril Islands in August, 1945 - Hero of the Soviet Union] (ภาษารัสเซีย). South-Sakhalinsk. 2011. pp. 41–42.[ลิงก์เสีย]
- Pashkov, A.M. (2012). Ономастика Сахалинской области [Onomastics of the Sakhalin region] (ภาษารัสเซีย). South-Sakhalinsk. pp. 72, 108, 140. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-25. สืบค้นเมื่อ 2020-07-06.