ประกอบ รัตนพันธ์
ประกอบ รัตนพันธ์ | |
---|---|
กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 9 ธันวาคม พ.ศ. 2566 (0 ปี 329 วัน) | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2493 อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ |
คู่สมรส | เนาวรัตน์ รัตนพันธ์ |
ประกอบ รัตนพันธ์ (เกิด 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2493) กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช 5 สมัย อดีตประธานคณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 24 และอดีตข้าราชการครู สังกัดกรมอาชีวศึกษา
ประวัติ
[แก้]ประกอบ เกิดวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2493 ที่อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ด้านครอบครัวสมรสกับนางเนาวรัตน์ รัตนพันธ์ (สกุลเดิม: ภัทรานุกรม) ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี มีบุตร 3 คน[1]
สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมปลายจากโรงเรียนเกษตรกรรมตรัง จังหวัดตรัง ระดับปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต (ศึกษาศาสตร์-เกษตร) และปริญญาโท วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (ส่งเสริมการเกษตร) จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
การทำงาน
[แก้]ประกอบ รัตนพันธ์ เคยรับราชการเป็นครูสังกัดกรมอาชีวศึกษา และเคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครศรีธรรมราช (ผู้อำนวยการ ระดับ 8) [2] ต่อมาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกตั้งอีกในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2548 พ.ศ. 2550 และ พ.ศ. 2554
ประกอบ รัตนพันธ์ ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมาธิการการศึกษา ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 24 ซึ่งก่อนนั้นเคยดำรงตำแหน่งรองประธานคณะกรรมาธิการดังกล่าว ในสภาผู้แทนราษฎรชุดก่อนมาแล้ว
ในปี 2564 เขาเป็นหนึ่งในผู้ถูกเสนอชื่อต่อกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อชิงตำแหน่งรัฐมนตรีแทนนายถาวร เสนเนียม[3] และในปี 2565 ชิงตำแหน่งรัฐมนตรีแทนนายนิพนธ์ บุญญามณี แต่ไม่ได้รับเลือกจากกรรมการบริหารพรรคทั้ง 2 ครั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]ประกอบ รัตนพันธ์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 5 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2546 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[6]
- พ.ศ. 2542 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนายประกอบ รัตนพันธ์[ลิงก์เสีย]
- ↑ "สัมภาษณ์คนดัง : ประกอบ รัตนพันธ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-12-18. สืบค้นเมื่อ 2013-02-07.
- ↑ เปิด 4 ชื่อดีกรี ส.ส. 5 สมัยลุ้นนั่งรัฐมนตรี 'ปชป.' ครั้งแรก
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๒, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๐, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน เก็บถาวร 2022-07-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๑๙, ๒๐ ตุลาคม ๒๕๔๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-11-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๑๐๓, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- สภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 23 เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน