พระบาอาต
พระบาอาจ | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
พระมหากษัตริย์พระนคร | |||||||||
ครองราชย์ | พ.ศ.1898-1900 | ||||||||
รัชกาลก่อนหน้า | พระบาสาต | ||||||||
รัชกาลถัดไป | พระกฎุมบงพิสี | ||||||||
ประสูติ | ไม่ปรากฏ | ||||||||
สวรรคต | พ.ศ.1900 | ||||||||
| |||||||||
ราชวงศ์ | ราชวงศ์ตรอซ็อกผแอม | ||||||||
พระราชบิดา | พระบรมลำพงษ์ราชา |
พระบาอาต หรือ พระบาอัฐ (เขมร: បាសាត) พระมหากษัตริย์แห่งจักรวรรดิเขมร ภายใต้การปกครองของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 แห่งอาณาจักรอยุธยา[1]
พระบาอาต พงศาวดารเขมรในประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๑[2] ระบุว่าเป็นพระโอรสของพระบรมลำพงษ์ราชา พระมหากษัตริย์เขมรพระองค์ก่อน แต่พงศาวดารเขมร ฉบับนักองค์เองระบุแตกต่างออกไปว่าเป็นพระโอรสของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 แห่งอาณาจักรอยุธยา
หลังจากกองทัพอยุธยาซึ่งนำโดยสมเด็จพระบรมราชาธิราช (ขุนหลวงพะงั่ว) สามารถตีนครธม ราชธานีเขมรแตกแล้วสมเด็จพระบรมราชาธิราชจึงแต่งตั้งพระบาสาต พระราชโอรสของพระบรมลำพงษ์ราชาหรือสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์เขมร เมื่อ พ.ศ. 1895 โดยขึ้นต่ออาณาจักรอยุธยา
ถ้าพระบาอาต เป็นพระโอรสของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 จริงสามารถอธิบายการปกครองในลักษณะนี้ได้ว่า สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ทรงส่งพระโอรสของพระองค์ทั้ง 3 ไปปกครองจักรวรรดิเขมรแทนพระราชวงศ์เดิม ส่วนหนึ่งเพราะต้องการผนวกอำนาจการปกครองของเขมรให้มาอยู่ภายใต้อำนาจของอยุธยา โดยอาศัยฐานะรัฐเครือญาติ
พระบาอาต ขึ้นครองราชย์สืบต่อจากพระเชษฐาอีก 2 หรือ 3 ปี (พ.ศ. 1897-1900 หรือ 1898-1900) ก็สวรรคตอีกพระองค์หนึ่ง พระกฎุมบงพิสี พระอนุชาอีกพระองค์จึงขึ้นครองราชย์ต่อมาอีก 1 เดือน (ใน พ.ศ. 1900) แล้วพระศรีสุริโยวงษ์ (เจ้าพญากลเมฆ (นักโพรก) ตามพงศาวดารเขมร ฉบับนักองค์เอง) พระราชวงศ์เขมรเดิมจึงได้ครองราชย์สืบต่อมา
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประวัติ The Series ชุด พระมหากษัตริย์ในอาเซียน ตอน พระบาสาต พระบาอาต และพระกฎุมบงพิสี
- ↑ ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา แปลโดย พันตรีหลวงเรืองเดชอนันต์ (ทองดี ธนรัชต์). นนทบุรี. สำนักพิมพ์ศรีปัญญา. 2550[ระบุข้อมูลทางบรรณานุกรมไม่ครบ]