พระเจ้ามโหตรประเทศ
พระเจ้ามโหตรประเทศ | |||||
---|---|---|---|---|---|
เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ | |||||
ครองราชย์ | พระยาเชียงใหม่ พ.ศ. 2389 - 2396[1] พระเจ้าเชียงใหม่ พ.ศ. 2396 - 2397[1] | ||||
รัชสมัย | 8 ปี | ||||
ก่อนหน้า | พระยาพุทธวงศ์ | ||||
ถัดไป | พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ | ||||
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว | ||||
อุปราช | พระยาอุปราชพิมพิสาร พระยาอุปราชหน่อคำ | ||||
พระยาอุปราชนครเชียงใหม่ | |||||
ดำรงพระยศ | พ.ศ. 2369 - 2389 | ||||
ก่อนหน้า | พระยาพุทธวงศ์ | ||||
ถัดไป | พระยาอุปราชพิมพิสาร | ||||
เจ้าหลวง | พระยาพุทธวงศ์ | ||||
พิราลัย | 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2397 | ||||
ราชเทวี | แม่เจ้าสุวรรณคำแผ่น | ||||
| |||||
พระบุตร | 19 องค์ | ||||
ราชสกุล | ณ เชียงใหม่ | ||||
ราชวงศ์ | ทิพย์จักร | ||||
พระบิดา | พระยาธรรมลังกา | ||||
พระมารดา | แม่เจ้าจันฟอง |
พระเจ้ามโหตรประเทศ (ไทยถิ่นเหนือ: ) (พระนามเดิม เจ้ามหาวงส์) เป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์ทิพย์จักร ทรงครองราชย์ในระหว่างปี พ.ศ. 2390 ถึงปี พ.ศ. 2397[2] และทรงเป็นเจ้าผู้ครองนครที่ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเลื่อนพระเกียรติยศขึ้นเป็น "พระเจ้าประเทศราช" องค์ที่ 4 (16 พฤษภาคม พ.ศ. 2397 - 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2397) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4
พระประวัติ
[แก้]เจ้าหลวงเชียงใหม่แห่ง ราชวงศ์ทิพย์จักร | |
---|---|
พระเจ้ากาวิละ | |
พระยาธรรมลังกา | |
พระยาคำฟั่น | |
พระยาพุทธวงศ์ | |
พระเจ้ามโหตรประเทศ | |
พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ | |
พระเจ้าอินทวิชยานนท์ | |
เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ | |
เจ้าแก้วนวรัฐ | |
พระเจ้ามโหตรประเทศมีพระนามเดิมว่า เจ้ามหาวงส์[3] หรือเจ้าขนานมหาวงส์[4] เป็นราชโอรสในพระยาธรรมลังกา เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 2
ปี พ.ศ. 2369 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งพระยาอุปราชพุทธวงศ์เป็นพระยาเชียงใหม่ และตั้งเจ้าขนานมหาวงส์เป็นพระยาอุปราชเมืองเชียงใหม่แทน[5] หลังจากพระยาเชียงใหม่พุทธวงศ์ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2389 พระยาอุปราชมหาวงศ์และเจ้าพิมพิสารแห่งนครเชียงใหม่ได้นำช้างพลายสีประหลาดลงไปถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งนั้นได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งพระยาอุปราชมหาวงศ์เป็นพระยาเชียงใหม่ และแต่งตั้งเจ้าพิมพิสารเป็นพระยาอุปราชเมืองเชียงใหม่[6][7]
ในปีพ.ศ. 2396 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดฯ ให้พระยาสีหราชฤทธิไกรเชิญพระสุพรรณบัฏกับเครื่องสูงมาพระราชทานถวายพระยาเชียงใหม่มหาวงศ์และโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น พระเจ้ามโหตรประเทศราชาธิบดี นพิสีมหานคราธิฐาน ภูบาลบพิตร สถิตในอุตมชิยางคราชวงศ์ เจ้านครเชียงใหม่[8][9] ในขณะนั้นยังประชวรอยู่ ครั้นได้เป็นพระเจ้าเชียงใหม่ได้ 5 เดือน 28 วัน[8] ถึงวันเดือนยี่เหนือ แรม 9 ค่ำ ปีจุลศักราช 1216 (ตรงกับวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2397) พระโรคกำเริบมากขึ้น พระเจ้ามโหตรประเทศฯ สละราชสมบัติ
พระราชตระกูล
[แก้]เจ้าพี่น้อง
[แก้]พระเจ้ามโหตรประเทศ เป็นพระราชบุตรองค์เดียวของพระเจ้าธรรมลังกา
พระโอรส-ธิดา
[แก้]พระเจ้ามโหตรประเทศ อภิเษกสมรสกับเจ้าพิมพา อยู่ในราชตระกูลเจ้าเจ็ดตน มีพระนามตามลำดับ ดังนี้
- เจ้ามหาวงส์ หรือเจ้าน้อยมหาวงษ์ เจ้า หลวงเมืองฝาง
- เจ้ามหาพรหม
ฐานันดรศักดิ์
[แก้]- ประสูติ - พ.ศ. 2347เจ้ามหาวงศ์
- พ.ศ. 2369 - 2389 พระยาอุปราชเมืองเชียงใหม่
- พ.ศ. 2389 - 2396 พระยาเชียงใหม่
- พ.ศ. 2396 - 2397 พระเจ้าเชียงใหม่
พงศาวลี
[แก้]พงศาวลีของพระเจ้ามโหตรประเทศ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- เชิงอรรถ
- ↑ 1.0 1.1 เจ้านายฝ่ายเหนือ และตำนานรักมะเมียะ, หน้า 16
- ↑ รุ่งพงษ์ ชัยนาม. ประวัติศาสตร์ล้านนา : ประวัติศาสตร์ไทยที่คนไทยไม่ค่อยมีโกาสได้ศึกษา. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- ↑ ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับเชียงใหม่ 700 ปี, หน้า 160
- ↑ ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับเชียงใหม่ 700 ปี, หน้า 149
- ↑ พงศาวดารโยนก, หน้า 450
- ↑ พงศาวดารเมืองนครเชียงใหม่ เมืองนครลำปาง เมืองลำพูนไชย, หน้า 15
- ↑ พงศาวดารโยนก, หน้า 455
- ↑ 8.0 8.1 พงศาวดารเมืองนครเชียงใหม่ เมืองนครลำปาง เมืองลำพูนไชย, หน้า 17
- ↑ ปราณี ศิริธร. เพชรล้านนา (เชียงใหม่: สุริวงศ์สตอลล์, 2509), 1: หน้า 175-186
- บรรณานุกรม
- ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับเชียงใหม่ 700 ปี. เชียงใหม่ : ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ สถาบันราชภัฏเชียงใหม่, 2538. 320 หน้า. ISBN 974-8150-62-3
- ประชากิจกรจักร, พระยา. พงศาวดารโยนก. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2557. 496 หน้า. ISBN 978-616-7146-62-1
- มหาอำมาตยาธิบดี (หรุ่น ศรีเพ็ญ), พระยา. พงศาวดารเมืองนครเชียงใหม่ เมืองนครลำปาง เมืองลำพูนไชย. พระนคร : โรงพิมพ์พระจันทร์, 2505. 35 หน้า. [พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระพิจิตรโอสถ (รอด สุตันตานนท์)]
- วรชาติ มีชูบท. เจ้านายฝ่ายเหนือ และตำนานรักมะเมียะ. กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์บุ๊คส์, 2556. 428 หน้า. ISBN 978-616-220-054-0
- อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว และเดวิด เค วัยอาจ (ปริวรรต). ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่. กรุงเทพฯ : ตรัสวิน, 2543. 220 หน้า. ISBN 9747047683
ก่อนหน้า | พระเจ้ามโหตรประเทศ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระยาพุทธวงศ์ | เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ (พ.ศ. 2389 — 2397) |
พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงษ์ |