ข้ามไปเนื้อหา

พหุนิยมทางศาสนา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พหุนิยมทางศาสนา เป็นทฤษฎีหนึ่งที่นักวิชาการและนักเทวะวิทยาตะวันตกที่ได้รับอิทธิพลจากการทัศนะเฉพาะในการให้คำตอบแก่บางคำถามเกี่ยวกับเรื่องความเชื่อและนำเสนอเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม

พหุนิยมทางศาสนาได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงหลายศตวรรษโดยการนำเสนอของจอห์นฮิกในโลกแห่งคริสตจักร เขาเห็นว่าชาวคริสต์จำนวนมากได้รับอิทธิพลจากศาสนาต่าง ๆ ที่มีคนดีสะอาดบริสุทธิ์เกิดขึ้น เขาจึงกล่าวว่า ดังนั้นเราต้องไม่กล่าวว่ามะซีห์คือพระเจ้า และเฉพาะท่านเท่านั้นที่จะเป็นสื่อให้เข้าสู่สรวงสวรรค์ หากเฉพาะชาวคริสต์เท่านั้นที่จะได้เข้าสวรรค์แล้วความดีงามต่าง ๆ จากศาสนิกอื่นเล่าจะเป็นเช่นไร?

Pluralism เป็นศัพท์วิชาการที่ได้รับมาจากวัฒนธรรมตะวันตก ที่เริ่มขึ้นในจารีตของคริสตจักร โดยใช้ศัพท์คำนี้เรียกคนที่หลายตำแหน่งในคริสตจักร ปัจจุบันในวัฒนธรรมศาสนาให้ความหมายว่าการมีแนวคิดหนึ่งที่ยอมรับความเชื่อและแนวทางที่หลากหลาย จากตรงนี้เองที่พหุนิยมศาสนาถูกนำมากล่าวถึง ดังนั้นพหุนิยมศาสนาจึงเป็นผลพวงและการค้นพบในยุคสมัยใหม่นั่นเอง

สิ่งจำเป็นของพหุนิยมทางศาสนา

[แก้]

ปัจจุบันพหุนิยมศาสนา ได้ให้ความหมายใหม่ที่แตกต่างไปจากความหมายเดิม นั่นก็คือแก่นแท้อันบริสุทธิ์และทางรอดพ้นไม่ได้ถูกจำกัดอยู่ในศาสนา นิกายใดเท่านั้น ทว่าเชื่อว่าแก่นแท้อันบริสุทธิ์ คือ จุดร่วมเดียวกันในศาสนาทั้งหมด ศาสนา นิกาย และหลักปฏิบัติต่าง ๆ ที่มีนั้นคือการสำแดงออกมาอย่างหลากหลายจากแก่นแท้อันบริสุทธิ์นั้น ดังนั้น ศาสนาและนิกายทั้งหมดคือทางรอดพ้นด้วยกันทั้งสิ้น

จำกัดนิยมและครอบคลุมนิยม

[แก้]

ในโลกตะวันตกนอกจากพหุนิยมศาสนาแล้วยังมีอีกสองแนวคิดในโลกตะวันตก คือ จำกัดนิยมและครอบคลุมนิยม จำกัดนิยม หมายถึง ชาวคริสต์เท่านั้นที่ได้รับทางรอดพ้น ไม่ใช่เพราะว่าแก่นแท้อันบริสุทธิ์นั้นมีอยู่ในศาสนาคริสต์เท่านั้น ทว่าเนื่องจากการสำแดงของพระเจ้านั้นถูกเกิดขึ้นเฉพาะในมะซีห์เท่านั้น (ในความเชื่อของชาวคริสต์ อีซาและพระเจ้ามีอาตมันเดียวกัน) และเนื่องจากทางรอดพ้นมีอยู่ในกลุ่มที่ได้รับความโปรดปรานแห่งพระเจ้าจากหนทางของการสำแดงของพระองค์สู่มนุษย์ที่มีเกิดขึ้นเฉพาะกับมะซีห์เท่านั้น ดังนั้นหนทางแห่งการรอดพ้นจึงมีเฉพาะในศาสนาคริสต์เท่านั้น คาร์ล บาร์ธ นักเทวะวิทยาชาวคริสต์ นิกายโปรแตสแตนต์ คือหนึ่งในผู้ที่ยอมรับทฤษฎีนี้

ในมุมมองของครอบคลุมนิยมนั้นเชื่อว่าทางรอดพ้นนั้นมีหนึ่งเดียวเท่านั้น และทางรอดพ้นนี้มีอยู่ในศาสนาเดียวเท่านั้น ทว่าในขณะเดียวกันผู้คนทั้งหมดสามารถที่จะก้าวเข้าสู่หนทางนี้ได้แม้ว่าจะไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขเฉพาะที่มีอยู่ในศาสนานั้นก็ตาม ครอบคลุมนิยมยอมรับหลักการของพหุนิยมว่าเป็นความโปรดปรานของพระเจ้าที่ทรงสำแดงแก่ศาสนิกชนของศาสนาต่าง ๆ ที่หลากหลาย แต่ละคนสามารถพบกับทางรอดพ้นได้แแม้ว่าเขาจะไม่เคยได้ยินหลักความเชื่อของศาสนาที่สัจธรรมก็ตาม คาร์ล แรนเนอร์ นักเทวะวิทยาชาวคริสต์ นิกายคาทอลิกก็เป็นหนึ่งในผู้ที่ยอมรับทฤษฎีนี้

นิยามของพหุนิยมทางศาสนา

[แก้]

ยังไม่มีนิยามที่สมบูรณ์ที่เป็นมติเอกฉันท์สำหรับพหุนิยมศาสนา แต่เราก็มีข้อมูลเกี่ยวกับการใช้คำนี้ในหลายกรณีดังนี้

1) พหุนิยมทางศาสนา ism ในศาสนาหมายถึงเสริมความปรองดองและ coexistence,เงียบสงบ เพื่อหลีกเลี่ยงสงครามและขัดแย้งกัน ในคำอื่นคือ کثرتها เป็นทางสังคม realities ยอมรับและผลประโยชน์ของสังคม นี่ไม่ใช่เช่นกันที่จะตกแต่ควร coexist ไม่มีอันนั้น ในดินแดนของศาสนาขึ้นนะ สองศาสนารึยังว่า àˆà£àà‡ในเจาะจงและแตกต่างจากกันและกัน ร่วมกันให้เกียรติผมหน่อยแล้วและย่อมกับคนอื่นมาเกี่ยวข้องนี่ยังไม่ใช่ตอนนั้นใครใด ๆ ตัวเองที่ถูกต้องทฤษฎีแล้วที่เหลือปลอมเขารู้แต่ในกซ้อมที่ fraternal ชีวิต

บ้างก็ถือว่าการยืดหยุ่นไม่ใช่เป็นพหุนิยม พวกเขากล่าวว่า ในการยืนหยุ่นมนุษย์มีเสรีภาพและให้เกียรติในสิทธิของผู้อื่นแม้เขาจะเชื่อว่าความจริงแท้ทั้งหมดนั้นมีเพียงเขาเท่านั้นก็ตาม

นิยามนี้ได้อธิบายพหุนิยมไว้สามลักษณะ ได้แก่: หนึ่ง ผู้ที่ยึดมั่นในศาสนาต้องศึกษาค้นคว้าหลักศรัทธาของศาสนาทั้งหมดด้วยหนทางของสติปัญญาอย่างมีตรรกะ ตามหลักญาณวิทยาและตรรกวิทยา เพื่อค้นหาศาสนาที่ถูกต้อง

บางโองการจากอัลกุรอานก็กล่าวไว้ในลักษณะนี้เช่นกัน เช่น โองการที่ 18 อัลกุรอานบท อัซซุมัร ว่า "บรรดาผู้ที่สดับฟังคำกล่าว แล้วปฏิบัติตามที่ดีที่สุดของมัน ชนเหล่านี้คือบรรดาผู้ที่อัลลอฮฺทรงชี้แนะแนวทางที่ถูกต้องแก่พวกเขาและชนเหล่านี้พวกเขาคือผู้ที่มีสติปัญญาใคร่ครวญ" หรือโองการที่ 17 อัลกุรอานบทอัลฮัจญ์ "แท้จริงบรรดาผู้ศรัทธา และบรรดาชาวยิว และพวกซอบิอีน และพวกนะศอรอ และพวกบูชาไฟ และบรรดาผู้ตั้งภาคี แท้จริงอัลลอฮ์จะทรงตัดสินใจในระหว่างพวกเขาในวันกิยามะฮ์ แท้จริงอัลลอฮ์ทรงเป็นพยานต่อทุกสิ่ง" หรือโองการที่ 62 อัลกุรอานบทอัลบะเกาะเราะฮ์ "แท้จริงบรรดาผู้ศรัทธา และบรรดาผู้ที่เป็นยิว และบรรดาผู้ที่เป็นคริสเตียน และอัศ-ซอบิอีน ผู้ใดก็ตามที่ศรัทธาต่ออัลลอฮฺและวันปรโลก และประกอบสิ่งที่ดีแล้ว พวกเขาก็จะได้รับรางวัลของพวกเขา ณ พระผู้เป็นเจ้าของพวกเขา และไม่มีความหวาดกลัวใด ๆ แก่พวกเขา และทั้งพวกเขาก็จะไม่เสียใจ"

สอง การแลกเปลี่ยนความคิดและการสนทนาระหว่างศาสนา ตามมุมมองของนักจิตวิทยา หมายความว่าบรรดาผู้นับถือแต่ละศาสนา แต่ละนิกาย เปิดใจกว้างเพื่อนั่งสนทนากับศาสนิกชนอื่น ด้วยการยึดหยุ่นเพื่อทำลายความวุ่นวายในสังคม แม้ว่าจะไม่ได้ผลลัพธ์ของญาณวิทยาตรงกันก็ตาม

สาม การสนทนาระหว่างศาสนาบนพื้นฐานของความลังเลในหลักความเชื่อศาสนาของตน

การอธิบายตามการตั้งสมมติฐานเช่นนี้ นอกจากจะทำลายระบบการสนทนาและเนื้อหาของเรื่องแล้วก็ยังเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับหลักธรรมคำสอนของสำนักคิดอะฮ์ลุลบัยต์ (ครองครัวของท่านศาสดามุฮัมหมัด (ศ็อลฯ) อิมามอาลี (อ.) กล่าวถึงการยืนหยัดและปกป้องศาสนาไว้ว่า ความผาสุกที่ประเสริฐสุดคือการยืนหยัดในศาสนา (ฆุรอรุลฮิกัม หน้า 85)

2) หมายถึงศาสนาเดียวที่ถูกส่งลงมาจากพระเจ้าแต่มีหลากหลายรูปแบบ ตามความเชื่อของอิสลาม คริสต์ ยะฮุดี อิสลามและโซโรอัสเตอร์ ตามความหมายเฉพาะ ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นแก่นแท้เดียวกัน ไม่มีความแตกต่างในแก่นของศาสนาแต่แตกต่างกันที่ความเข้าใจในศาสนา ผู้หนึ่งเข้าใจบัญชาของพระเจ้าไปในลักษณะหนึ่งเขากลายเป็นยะฮูดี อีกกลุ่มหนึ่งเข้าใจอีกแบบหนึ่งก็กลายเป็นคริสต์ อีกกลุ่มเข้าใจอีกอย่างก็กลายเป็นมุสลิม เราจะต้องไม่กล่าวว่าศาสนานี้ถูกต้อง ศาสนานั้นไม่ถูกต้อง นิกายนี้ถูกต้อง นิกายนี้ไม่ถูกต้อง ต้องไม่ถกเถียงกันในเรื่องนี้ เนื่องจากแต่ละคนก็เข้าไปตามศักยภาพและสภาวะเงื่อนไขของตน สิ่งที่อยู่ในสิทธิ์ของเราคือการที่เราไม่อาจตัดสินความเข้าใจที่หลากหลายทั้งหมดนี้ได้อย่างถ่องแท้แน่นอนว่าอ้นไหนดีกว่าหรือถูกต้องกว่า ทว่าเราสามารถที่จะให้ความเข้าใจอันหนึ่งดีกว่าความเข้าใจอีกอันหนึ่งได้ด้วยบริบทใดบริบทหนึ่ง เราไม่มีทางเที่ยงตรงอันเดียว ทว่าเรามีทางต่าง ๆ ที่เป็นทางเที่ยงตรง พหุนิยมหมายถึงการยอมรับความเข้าใจและการรู้จักที่หลากหลายในสิ่งที่เป็นแก่นแท้อันเดียวกัน แม้ว่าระหว่างมันจะมีความขัดแย้งกันก็ตาม

3) ทัศนะที่สองอย่างน้อยก็ตั้งสมมติฐานไว้ว่าแก่นแท้อันเดียวที่ถูกยอมรับ ณ พระเจ้า คือ อิสลาม ที่เป็นศาสนาสัจธรรม แต่เราไม่อาจเข้าถึงได้ ดังนั้นแต่ละคนจะเข้าใจอย่างไรทั้งหมดก็คือสัจธรรมทั้งสิ้น แต่ทัศนะที่สามนี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง กล่าวคือ สัจธรรมและแก่นแท้ก็มีหลากหลายเช่นกัน ซึ่งทำให้ไม่ประสบปัญหาความขัดแย้งระหว่างกัน ไม่อาจพูดได้ว่า อันนั้นมี อันนี้ไม่มี ถูกหรือผิด ทั้งสองคือความจริงและสัจธรรมด้วยกันทั้งสิ้น

4)แก่นแท้และสัจธรรมคือประมวลหนึ่งที่มีองค์ประกอบต่าง ๆ ซึ่งจะพบแต่ละองค์ประกอบมีอยู่ในศาสนาต่าง ๆ ดังนั้นสัจธรรมและแก่นแท้ไม่ได้รวมอยู่ในศาสนาใดศาสนาหนึ่ง เราไม่มีศาสนาที่ครอบคลุมทั้งหมด ทว่าแต่ละศาสนาต่างก็มีแก่นแท้และสัจธรรมที่เป็นส่วนหนึ่งของประมวลสัจธรรม สรุปก็คือไม่มีศาสนาใดที่ครอบคลุมสัจธรรมไว้ทั้งหมดและบริสุทธิ์จากความเป็นโมฆะ ไม่มีทั้งในมุสลิม และศาสนิกชนอื่น เราไม่สามารถกล่าวได้ว่าศาสนาของฉันเป็นศาสนาที่ครอบคลุมสัจธรรมไว้ทั้งหมด

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูล

[แก้]