พาร์เซก
พาร์เซก | |
---|---|
พาร์เซก เป็นระยะทางจากดวงอาทิตย์ถึงวัตถุทางดาราศาสตร์ที่มีมุมพารัลแลกซ์อยู่ที่ 1 พิลิปดา (ไม่วัดขนาด) | |
ข้อมูลทั่วไป | |
ระบบการวัด | หน่วยดาราศาสตร์ |
เป็นหน่วยของ | ความยาว/ระยะทาง |
สัญลักษณ์ | pc |
การแปลงหน่วย | |
1 pc ใน ... | ... มีค่าเท่ากับ ... |
ระบบเมตริก (ระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศ) | 3.0857×1016 m ~31 เพตะเมตร |
หน่วยวัดแบบอังกฤษ และสหรัฐ | 1.9174×1013 ไมล์ |
หน่วยดาราศาสตร์ | 2.06265×105 au 3.26156 ly |
พาร์เซก (อังกฤษ: parsec; มาจาก parallax of one arcsecond ตัวย่อ: pc) เป็นหน่วยวัดระยะทางทางดาราศาสตร์ มีค่าเท่ากับความสูงของสามเหลี่ยมมุมฉากที่มีเส้นฐานยาว 1 หน่วยดาราศาสตร์และมีมุมยอด 1 พิลิปดา หรือเท่ากับ 648000π หรือ 206,265 หน่วยดาราศาสตร์ เทียบเป็นระยะทางได้ 3.2616 ปีแสง (3.26 ปีแสง) เท่ากับระยะทาง 31 ล้านล้านกิโลเมตร. ค่าพาร์เซกเป็นค่าที่นักดาราศาสตร์ใช้วัดระยะทางภายในดาราจักร การวัดระยะจากโลกถึงดาวฤกษ์ เรียกว่าการวัดพารัลแลกซ์ดาวฤกษ์ ดาวพร็อกซิมาคนครึ่งม้าเป็นดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้กับระบบสุริยะของเรามากที่สุด โดยอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ไปประมาณ 1.3 พาร์เซก หรือราว 4.2 ปีแสง[1] ดวงดาวส่วนใหญ่ที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ล้วนอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ไม่เกิน 500 พาร์เซก[ต้องการอ้างอิง]
พารัลแลกซ์ คือ ปรากฏการณ์ที่ผู้สังเกตมองจาก 2 จุด แล้วเห็นตำแหน่งของวัตถุเปลี่ยนไปเมื่อเทียบกับวัตถุอ้างอิง ทดลองได้โดยใช้มือถือวัตถุยื่นไปข้างหน้า แล้วสังเกตวัตถุดังกล่าวด้วยตาซ้าย และขวาจะสังเกตเห็นตำแหน่งของวัตถุเปลี่ยนไปหรือไม่
การคำนวณค่าพาร์เซก
[แก้]ตามคำนิยามในปีค.ศ. 2015 1 หน่วยดาราศาสตร์ของความยาวเส้นรองรับมุม 1 พิลิปดา (หรือ 1 อาร์กวินาที) ณ ใจกลางวงกลมที่มีรัศมี 1 พาร์เซก โดยการแปลงหน่วยองศาหน่วยนาทีหน่วยวินาทีไปเป็นเรเดียน
- และ
- (คำนิยามของหน่วยดาราศาสตร์ ในปีค.ศ. 2012)
ดังนั้น
- (ตามคำนิยามในปีค.ศ. 2015)
ดังนั้น
- (ไปยังเมตรที่ใกล้เคียงที่สุด)
ประมาณว่า,
ในภาพข้างบน (ไม่ตามสเกล), S คือดวงอาทิตย์ และ E คือโลก ณ จุดหนึ่งของวงโคจร ทำให้ระยะทาง ES เท่ากับ 1 หน่วยดาราศาสตร์ (au) มุม SDE คือ 1 พิลิปดา (13600 ขององศา) ดังนั้น ตามคำอธิบาย D คือจุดในอวกาศที่มีระยะทาง 1 พาร์เซกจากดวงอาทิตย์ ถ้าคำนวณผ่านตรีโกณมิติ ระยะทาง SD จะคำนวณแบบนี้:
เพราะหน่วยดาราศาสตร์มีความยาว 149597870700 เมตร[2] จึงคำนวณเป็นแบบนี้:
ดังนั้น 1 พาร์เซก | ≈ 206,264.806247096 หน่วยดาราศาสตร์ |
≈ 3.085677581×1016 เมตร | |
≈ 30.856775815 ล้านล้าน กิโลเมตร | |
≈ 19.173511577 ล้านล้าน ไมล์ |
ดังนั้น ถ้า 1 ly ≈ 9.46×1015 เมตร
- แล้ว 1 pc ≈ 3.261563777 ly
ตามวิธีทางคณิตศาสตร์ เพื่อคำนวณระยะทางที่มีหน่วยเชิงมุมจากเครื่องมีอในหน่วยพิลิปดา สูตรจะเป็นไปตามนี้:
โดย θ เป็นค่ามุมในหน่วยพิลิปดา ระยะทางระหว่างโลก-ดวงอาทิตย์มีค่าคงที่ (1 au หรือ 1.5813×10−5 ly) การคำนวณระยะทางดาว จะใช้หน่ายเดียวกันกับระยะทางโลก-ดวงอาทิตย์ (ป.ล. ถ้าระยะทางโลก-ดวงอาทิตย์ = 1 au หน่วยของระยะทางดาว คือหน่วยดาราศาสตร์; ถ้าระยะทางโลก-ดวงอาทิตย์ = 1.5813×10−5 ly หน่วยของระยะทางดาว คือปีแสง)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Benedict, G. F.; และคณะ. "Astrometric Stability and Precision of Fine Guidance Sensor #3: The Parallax and Proper Motion of Proxima Centauri" (PDF). Proceedings of the HST Calibration Workshop. pp. 380–384. สืบค้นเมื่อ 11 July 2007.
- ↑ International Astronomical Union, บ.ก. (31 August 2012), "RESOLUTION B2 on the re-definition of the astronomical unit of length" (PDF), RESOLUTION B2, Beijing: International Astronomical Union,
The XXVIII General Assembly of International Astronomical Union recommends [adopted] that the astronomical unit be redefined to be a conventional unit of length equal to exactly 149597870700 m, in agreement with the value adopted in IAU 2009 Resolution B2