ภาวะพร่องฮอร์โมนควบคุมการเจริญเติบโต
ภาวะพร่อมฮอร์โมนควบคุมการเจริญเติบโต | |
---|---|
ชื่ออื่น | การขาดโกรตฮอร์โมน, ภาวะแคระเหตุต่อมใต้สมอง |
โกรตฮอร์โมน | |
สาขาวิชา | วิทยาต่อมไร้ท่อ |
อาการ | ตัวเตี้ย[1] |
ภาวะแทรกซ้อน | น้ำตาลในเลือดต่ำ, คอเลสเตอรอลสูง, กระดูกเปราะ[1][2] |
ประเภท | เป็นแต่กำเนิด, ชนิดรับมา[1] |
สาเหตุ | โกรตฮอร์โมนต่ำ[3] |
ปัจจัยเสี่ยง | พันธุรกรรม, การบาดเจ็ล, การติดเชื้อ, เนื้องอก, ได้รับการฉายแสง[2] |
วิธีวินิจฉัย | ระดับฮอร์โมนในเลือด[2] |
โรคอื่นที่คล้ายกัน | ภาวะเอสจีเอ, กลุ่มอาการเทอร์เนอร์, กลุ่มอาการนูแนน, กลุ่มอาการพราเดอร์-วิลลิ[2] |
การรักษา | โกรตฮอร์โมนทดแทน[1] |
ความชุก | ไม่ทราบแน่ชัด[2] |
ภาวะพร่องฮอร์โมนควบคุมการเจริญเติบโต หรือ การขาดโกรตฮอร์โมน (อังกฤษ: Growth hormone deficiency; GHD) เป็นภาวะทางการแพทย์ที่เกิดจากการมีโกรตฮอร์โมนไม่เพียงพอ (GH)[3] โดยมีอาการที่เด่นชัดที่สุดคือการมีส่วนสูงเตี้ย[1] ในทารกอาจมาด้วยภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำหรือองคชาตเล็ก[2] ในผู้ใหญ่อาจมาด้วยภาวะมวลกล้ามเนื้อลด, คลอเรสเตอรอลสูง หรือ กระดูกเปราะ[1]
GHD สามารถแบ่งเป็นประเภทเกิดแต่กำเนิด หรือเกิดขึ้นในภายหลังของชีวิต[1] สาเหตุอาจรวมถึงพันธุกรรม, บาดเจ็บทางกาย, การติดเชื้อ, เนื้องอก หรือจากการรับรังสีรักษา[2] ยีนที่อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับภาวะนี้ เช่น GH1, GHRHR หรือ BTK[3] หนึ่งในสามของผู้ป่วยไม่ปรากฏสาเหตุเฉพาะ[2] กลไกการเกิดโดยทั่วไปเกี่ยวข้องกับปัญหาที่ต่อมใต้สมอง[2] ในผู้ป่วยบางรายอาจพบเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาพร่องฮอร์โมนต่อมใต้สมองอื่น ๆ ซึ่งอาจเรียกว่าภาวะพร่องฮอร์โมนต่อมใต้สมองชนิดผสม[4] การวินิจฉัยใช้การตรวจเลือดดูระดับฮอร์โมนที่เกี่ยวข้อง[2]
การรักษาใช้การทดแทนโกรตฮอร์โมนซึ่งได้มาจากการสังเคราะห์[1] ความชุกของภาวะนี้ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด[2] ผู้ป่วยหลายรายได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่เป็นเด็ก[1] ในขณะที่รูปแบบที่เกิดจากความผิดปกติในยีนสามารถพบได้ประมาณ 1 ใน 7,000 คนของประชากร[3] ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยส่วนใหญ่เป็นผู้ชายมากกว่าผู้หญิง[2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 1.8 "Growth hormone deficiency". Genetic and Rare Diseases Information Center (GARD) – an NCATS Program (ภาษาอังกฤษ). 2016. สืบค้นเมื่อ 12 December 2017.
- ↑ 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 2.11 "Growth Hormone Deficiency". NORD (National Organization for Rare Disorders). 2016. สืบค้นเมื่อ 12 December 2017.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 "isolated growth hormone deficiency". Genetics Home Reference (ภาษาอังกฤษ). February 2012. สืบค้นเมื่อ 12 December 2017.
- ↑ "Combined pituitary hormone deficiency". Genetics Home Reference (ภาษาอังกฤษ). August 2010. สืบค้นเมื่อ 13 December 2017.
การจำแนกโรค | |
---|---|
ทรัพยากรภายนอก |