ยอร์กเชอร์พุดดิง
ยอร์กเชอร์พุดดิง | |
ชื่ออื่น | ยอร์กเชอร์ |
---|---|
ประเภท | พุดดิง |
แหล่งกำเนิด | สหราชอาณาจักร |
ภูมิภาค | ตอนเหนือของประเทศอังกฤษ |
ส่วนผสมหลัก | นมหรือน้ำ แป้ง และไข่ |
ยอร์กเชอร์พุดดิง (อังกฤษ: Yorkshire pudding) เป็นพุดดิงอบที่ทำจากแป้งนวดเหลวที่มีส่วนผสมได้แก่ไข่ แป้ง และนมหรือน้ำ[1] ยอร์กเชอร์พุดดิงเป็นเครื่องเคียงที่นิยมรับประทานในสหราชอาณาจักรซึ่งสามารถเสิร์ฟได้หลายรูปแบบขึ้นอยู่กับส่วนผสม ขนาด และอาหารที่จะรับประทานคู่ ถ้าเสิร์ฟเป็นอาหารเรียกน้ำย่อยจะเสิร์ฟคู่กับเกรวีหอมใหญ่ ถ้าเสิร์ฟเป็นอาหารจานหลักจะเสิร์ฟร่วมกับเนื้ออบและน้ำเกรวี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเนื้ออบวันอาทิตย์ตามธรรมเนียมบริติชดั้งเดิม แต่ก็ยังสามารถใช้เป็นจานรองสำหรับบรรจุไส้กรอกและมันฝรั่งบดได้ด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มไส้กรอกลงไปเพื่อทำเป็นอาหารอีกจานหนึ่งที่เรียกว่าโทดอินเดอะโฮลได้ด้วย วลี "ยอร์กเชอร์พุดดิง" ปรากฏในงานตีพิมพ์ครั้งแรกโดยฮันนาห์ กลาส นักเขียนตำราอาหารชาวอังกฤษในศตวรรษที่ 18
ยอร์กเชอร์พุดดิงมีลักษณะคล้ายกับพอปโอเวอร์ของอเมริกันซึ่งทำจากส่วนผสมเดียวกัน[2] และคล้ายกับแพนเค้กของชาวดัตช์ที่เรียกว่าดัดช์เบบี[3]
ประวัติศาสตร์
[แก้]เมื่อผู้คนในสหราชอาณาจักรเริ่มใช้แป้งสาลีเป็นหลักเพื่ออบเค้กและพุดดิง คนครัวทางตอนเหนือของประเทศอังกฤษก็เริ่มคิดหาวิธีที่จะใช้ดริปปิงหรือมันที่หยดลงมาจากเนื้อระหว่างอบเพื่อทอดพุดดิงในระหว่างที่อบเนื้อ ใน ค.ศ. 1737 ตำราอาหาร เดอะโฮลดิวทีออฟอะวูมัน ของเซอร์อเล็กซานเดอร์ วิลเลียม จอร์จ เคสซีย์ ได้กล่าวถึงวิธีการปรุง "ดริปปิงพุดดิง" ไว้ว่า:[4]
Make a good batter as for pancakes; put in a hot toss-pan over the fire with a bit of butter to fry the bottom a little then put the pan and butter under a shoulder of mutton, instead of a dripping pan, keeping frequently shaking it by the handle and it will be light and savoury, and fit to take up when your mutton is enough; then turn it in a dish and serve it hot.
วิธีการปรุงในลักษณะเดียวกันปรากฏในหนังสือ ดิอาร์ตออฟคุกเคอรีเมดเพลนแอนด์อีซี ของฮันนาห์ กลาส ใน ค.ศ. 1747 ฮันนาห์ได้เปลี่ยนชื่อเรียกจาก "ดริปปิงพุดดิง" เป็น "ยอร์กเชอร์พุดดิง" ซึ่งยอร์กเชอร์พุดดิงในสมัยนั้นจะแบนราบกว่าแบบที่ปรากฏในปัจจุบัน[5] วิลเลียม ซิตเวลล์เสนอว่าชื่อ "ยอร์กเชอร์" นั้นน่าจะมาจากการที่พื้นที่ยอร์กเชอร์เป็นแหล่งถ่านหินที่เป็นที่รู้จักแหล่งหนึ่ง ซึ่งให้ความร้อนสูง ความร้อนจากถ่านหินของยอร์กเชอร์น่าจะมีส่วนทำให้แป้งพุดดิงกรอบกว่าปกติ[6]
เดิมทีเดียวนั้นยอร์กเชอร์พุดดิงจะเสิร์ฟเป็นอาหารเรียกน้ำย่อยโดยราดน้ำเกรวีข้นลงไปด้วย เพื่อถ่วงท้องแขกไม่ให้รับประทานเนื้อในอาหารจานหลักซึ่งมีราคาแพงกว่ามากเกินไป[7] เนื่องจากน้ำเกรวีจากเนื้ออบถูกใช้ในอาหารเรียกน้ำย่อยไปแล้ว อาหารจานหลักในช่วงนั้นได้แก่เนื้อและผักก็มักจะเสิร์ฟเคียงกับซอสผักชีฝรั่งหรือซอสขาว[8] ในครอบครัวที่ยากจนจะรับประทานยอร์กเชอร์พุดดิงเป็นมื้อหลัก โดยใช้ดริปปิงหรือไขมันสัตว์[9]ร่วมกับแป้ง ไข่ และนม และจะรับประทานเคียงกับเกรวีหรือซอสเพื่อให้พุดดิงชุ่ม
วิธีปรุง
[แก้]ยอร์กเชอร์พุดดิงจะปรุงโดยการเทแป้งนวดเหลวที่ทำจากนม แป้ง และไข่ลงในถาดอบที่ทาน้ำมันและอบให้ร้อนเอาไว้ล่วงหน้าแล้ว อาจใช้ถ้วยขนาดเล็กหรือถาดสำหรับทำมัฟฟินแทนได้ถ้าต้องการยอร์กเชอร์พุดดิงขนาดเล็ก ส่วนผสมของแป้งนวดโดยทั่วไปจะใช้แป้ง 140 กรัม ไข่ 4 ฟอง และนม 200 มิลลิลิตร[10] อย่างไรก็ตาม ถ้าใช้น้ำแทนนมจะได้ส่วนผสมที่เบาบางและอบได้กรอบกว่า แต่จะหวานน้อยกว่า[11] นอกจากนี้ยังสามารถทอดในกระทะเหล็กหล่อหรืออุปกรณ์ในลักษณะคล้ายคลึงกันได้ด้วย[12][13] ตำราอาหารใน ค.ศ. 1926 ยังระบุว่ายอร์กเชอร์พุดดิงสามารถเสิร์ฟเป็นของหวานได้ โดยใช้กระดาษรองอบกันไขมันปิดด้านบนเพื่อนึ่งให้สุกและเสิร์ฟเคียงกับแยม เนย และน้ำตาล[14]
ในวัฒนธรรมร่วมสมัย
[แก้]ในสหราชอาณาจักรมีการฉลองวันยอร์กเชอร์พุดดิงแห่งชาติทุกวันอาทิตย์แรกของเดือนกุมภาพันธ์ตั้งแต่ ค.ศ. 2007[11][15][16][17] ส่วนในสหรัฐจะฉลองในวันที่ 13 ตุลาคม[18]
ยอร์กเชอร์พุดดิงในปัจจุบันนิยมทำให้ฟู ราชสมาคมเคมีแห่งสหราชอาณาจักรได้เสนอใน ค.ศ. 2008 ว่า "ยอร์กเชอร์พุดดิงจะไม่ใช่ยอร์กเชอร์พุดดิงถ้ามันสูงไม่ถึง 4 นิ้ว [10 เซนติเมตร]"[19]
บริษัทที-โมไบล์ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในสหราชอาณาจักรได้จัดอันดับความนิยมสิ่งที่ผู้คนรักเกี่ยวกับสหราชอาณาจักรใน ค.ศ. 2012 ยอร์กเชอร์พุดดิงได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในอันดับที่สิบ[20]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Siciliano-Rosen, Laura (22 October 2014). "Yorkshire Pudding". Encyclopaedia Britannica. สืบค้นเมื่อ 2 July 2018.
- ↑ McGee, Harold (16 November 2004). On Food and Cooking: The Science and lore of the Kitchen. p. 551. ISBN 9780684800011.
- ↑ Campbell-Schmitt, Adam (15 May 2018). "Dutch Baby or Yorkshire Pudding? Brits Argue Their Savory Dish Should Never Go Sweet". Food & Wine. สืบค้นเมื่อ 27 September 2018.
- ↑ Lady, A; Kenrick, William (1737). The Whole Duty of a Woman. London. pp. 468–9. สืบค้นเมื่อ 7 December 2017 – โดยทาง archive.org.
- ↑ Glasse, Hannah (1998) [1747]. The Art of Cookery Made Plain and Easy. Applewood Books. ISBN 978-1-55709-462-9.
- ↑ Sitwell, William (2015). A History of Food in 100 Recipes. William Collins. p. 136. ISBN 978-0-00-741200-6.
- ↑ "Old England Traditional Roast Beef and Yorkshire Pudding". food.com. สืบค้นเมื่อ 15 October 2015.
- ↑ "Secret of a perfect Yorkshire pud". BBC News. 14 November 2008. สืบค้นเมื่อ 14 November 2008.
- ↑ "The history and origins of the Yorkshire Pudding". Historic UK. สืบค้นเมื่อ 26 June 2022.
- ↑ "Best Yorkshire puddings". BBC Good Food. สืบค้นเมื่อ 8 March 2021.
- ↑ 11.0 11.1 Clay, Xanthe (30 January 2015). "Yorkshire puds aren't just for roasts – they're a cracking dessert, too". The Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 20 December 2017.
- ↑ "Best Yorkshire Puddings". BBC Good Food. February 2009.
- ↑ "Yorkshire pudding isn't for dessert". www.thegazette.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-11-24.
- ↑ "1926 Recipes – Puddings and Pastry". Recipes Past and Present. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-05-17. สืบค้นเมื่อ 16 May 2018.
- ↑ Lindsay, Duncan (7 February 2016). "National Yorkshire Pudding Day: 9 delicious and easy yorkie dishes to blow your taste buds". Metro. สืบค้นเมื่อ 20 December 2017.
- ↑ Gorringe, Anne (4 February 2016). "Don't get in a stew about Yorkshire puddings: Find out everything about the delicacy". Sunday Express. สืบค้นเมื่อ 17 May 2018.
- ↑ "National Yorkshire Pudding Day – Sunday 4 February 2018". Yorkshire's Best Guides. 29 January 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-23. สืบค้นเมื่อ 17 May 2018.
- ↑ Lemoine, Yvan (2010). FoodFest 365!: The Officially Fun Food Holiday Cookbook. Simon and Schuster. p. 39. ISBN 9781440510007. สืบค้นเมื่อ 20 May 2018.
- ↑ "Yorkshire pudding must be four inches tall, chemists rule". Royal Society of Chemistry. 12 November 2008. สืบค้นเมื่อ 8 January 2014.
- ↑ "Bacon Butty Best of British". SWNS digital. 3 February 2012. สืบค้นเมื่อ 27 April 2020.[ลิงก์เสีย]