ข้ามไปเนื้อหา

ยุทธการโทบะ–ฟูชิมิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยุทธการโทบะ–ฟูชิมิ
ส่วนหนึ่งของ สงครามโบชิง
Encounter of Toba
การปะทะที่โทบะ
Encounter of Tominomori
การปะทะที่โทมิโนโมริ
Encounter of Takasegawa
การปะทะที่ทากาเซงาวะ
วันที่27–31 มกราคม ค.ศ. 1868
สถานที่
พื้นที่ระหว่างเกียวโตและโอซากะ
ผล ชัยชนะของฝ่ายพระจักรพรรดิ
คู่สงคราม

ราชสำนักพระจักรพรรดิ
แคว้นซัตสึมะ
แคว้นโชชู
แคว้นโทซะ

ร่วมภายหลัง:
แคว้นโยโดะ
แคว้นสึ
รัฐบาลโชกุน
แคว้นไอซุ
แคว้นคูวานะ
แคว้นทากามัตสึ,
แคว้นสึ,
แคว้นมัตสึยามะ,
แคว้นโองากิ
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
จักรพรรดิเมจิ
ไซโง ทากาโมริ
คิริโนะ โทชิอากิ
เจ้าชายโคมัตสึ เจ้าอากิฮิโตะ
โชกุนโยชิโนบุ
ทาเกนากะ ชิเงกาตะ
ทากิงาวะ โทโมอากิระ
ซากูมะ โนบูฮิซะ
มัตสึไดระ ซาดาอากิ
และคนอื่น ๆ
กำลัง
5,000 นาย 15,000 นาย
ความสูญเสีย
ตาย 96, บาดเจ็บ 230[1] ตายราว 295, บาดเจ็บราว 710[2][3][4]

ยุทธการโทบะ–ฟูชิมิ (ญี่ปุ่น: 鳥羽・伏見の戦いโรมาจิToba-Fushimi no Tatakai) เป็นการศึกที่สำคัญในช่วงสงครามโบชิงของญี่ปุ่น ซึ่งเป็นการต่อสู้ระหว่างฝ่ายสนับสนุนองค์จักรพรรดิกับฝ่ายสนับสนุนระบอบโชกุน การปะทะเริ่มขึ้นเมื่อ 27 มกราคม ค.ศ. 1868 เมื่อกองทัพของฝ่ายสนับสนุนองค์จักรพรรดิอันประกอบด้วยทหารจากแคว้นโชชู แคว้นซัตสึมะ และแคว้นโทซะ เคลื่อนพลเข้าปะทะใกล้ฟูชิมิ ชานเมืองเกียวโต ซึ่งเป็นที่ประทับขององค์จักรพรรดิ การปะทะครั้งนี้กินเวลากว่าสี่วัน โดยฝ่ายกองทัพโชกุนพ่ายแพ้อย่างสิ้นเชิงแม้ว่าจะมีจำนวนทหารมากกว่าถึงสองเท่า เนื่องจากกองทัพในพระจักรพรรดิใช้รูปแบบการรบสมัยใหม่ตามแบบอย่างตะวันตกและมีอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัยกว่ามาก

ในวันที่ 30 มกราคมอันเป็นวันที่สามของการศึก ฝ่ายกองทัพโชกุนตระหนักว่าสู้ไม่ไหวจึงมีคำสั่งถอนทัพ ในขณะที่โชกุนโยชิโนบุซึ่งตั้งรับอยู่ที่นครโอซากะ ได้รับปากกับบรรดาแม่ทัพว่าตัวเขาจะนำทัพออกรบด้วยตนเอง แต่ในคืนนั้นเขาได้หลบหนีออกจากปราสาทโอซากะหมายจะไปขึ้นเรือรบไคโยมารุเพื่อหนีไปยังนครเอโดะ (โตเกียว) อย่างไรก็ตาม ที่ท่าเรือโชกุนกลับพบว่าเรือรบไคโยมารุยึงมาไม่ถึง เขาจึงลี้ภัยขึ้นเรือ USS Iroquois ของสหรัฐ ซึ่งจอดทอดสมออยู่ในอ่าวโอซากะ ในขณะที่เรือรบไคโยมารุมาถึงในเช้าวันรุ่งขึ้น

ในวันที่ 31 มกราคม เมื่อฝ่ายแม่ทัพของโชกุนทราบว่าโชกุนได้ทิ้งพวกเขาไปแล้ว พวกเขาก็เคลื่อนพลออกจากปราสาทโอซากะ และยอมจำนนต่อกองทัพในพระจักรพรรดิโดยไร้การขัดขืน ในขณะที่โชกุนโยชิโนบุเองก็ไม่ประสงค์จะสู้ต่ออีกแล้ว

ชนวนเหตุ

[แก้]

ในวันที่ 4 มกราคม ปี 1868 โชกุนแห่งตระกูลโทกูงาวะในถวายพระราชอำนาจคืนแก่จักรพรรดิ ถือเป็นจุดเริ่มต้นแห่งการปฏิรูปเมจิและเป็นจุดสิ้นสุดของรัฐบาลโชกุน แต่อย่างไรก็ตามแม้โชกุนโทกูงาวะ โยชิโนบุจะถวายพระราชอำนาจคืนไปแล้ว แต่อิทธิพลของเขาก็ยังคงมีต่อไป และอาจจะสามารถเรียกกำลังพลเพื่อซ่องสุมกองกำลังเพื่อชิงอำนาจคืนไปได้ แคว้นโจชูและซัตสึมะจึงใช้โอกาสนี้ในการกำจัดโชกุนให้สิ้นซาก

แม้ที่ปรึกษาขององค์จักรพรรดิเมจิที่ตอนนั้นมีพระชนม์มายุแค่ 15 พรรษา จะมีความสุขดีที่ปกครองประเทศไปพร้อมกับช่วยเหลือและสนับสนุนจากตระกูลโทกูงาวะ แต่นั้นทำให้ไซโง ทากาโมริไม่ค่อยพอใจเป็นอย่างมาก เขาใช้อิทธิพลและอำนาจของตัวเองในการข่มขู่เหล่าที่ปรึกษาให้ออกคำสั่งในการยึดทรัพย์ของพวกโทกูงาวะ

ภายใต้อิทธิพลของไซโงทำให้รัฐบาลออกคำสั่งในการริบคืนที่ดินของตระกูลโทกูงาวะมาเป็นขององค์จักรพรรดิ ซึ่งต่อมาในวันที่ 17 มกราคม 1868 โยชิโนบุประกาศไม่ยอมรับคำสั่งของรัฐ และเมื่อพวกซัตสึมะใช้ประเด็นนี้ในการยุแหย่กับโยชิโนบุต่อไปเรื่อยๆ ทำให้พวกเขาทนไม่ไหว โยชิโนบุ พร้อมด้วยข้าราชบริพารของโชกุนและเหล่าโรนินในเอโดะ มาตั้งมั่นที่ปราสาทโอซากาเพื่อเตรียมโจมตีเมืองเกียวโต และแน่นอนว่าเป็นสถานที่ที่พวกโจชูและซัตสึมะใช้อำนาจขององค์จักรพรรดิในการสั่งการเหล่าทหารรอตั้งรับพร้อมอยู่แล้ว

เปิดฉากการรบ

[แก้]

การต่อสู้เริ่มขึ้นเมื่อกองกำลังของฝ่ายโชกุนปิดล้อมเมืองเกียวโต โดยในระหว่างการปิดล้อมมีการส่งสาสน์เตือนไปยังราชสำนักเกียวโต เพื่อให้จักรพรรดิ ผู้สำเร็จราชการและที่ปรึกษาแผ่นดิน รวมทั้งพวกแคว้นโจชูและซัตสึมะยอมจำนนรู้ถึงการโจมตีที่กำลังจะเกิด และให้ยอมจำนนแต่โดยดี

โดยกองกำลังทหารของฝ่ายโชกุนนั้นมีกำลังพลกว่า 15,000 คน ซึ่งมีมากกว่ากองกำลังพันธมิตรซัตโจถึง 3 เท่า โดยกองกำลังหลักมาจากทหารจากแคว้นไอซุ แคว้นคุวานะและกองทหารชินเซ็นกุมิ และแม้ทหารส่วนมากจะเป็นทหารรับจ้าง แต่ในจำนวนนี้ก็มีทหารทีได้รับการฝึกมาอย่างดีจากฝรั่งเศสรวมอยู่ด้วย ซึ่งในแต่ละกองกำลังของทั้งสองฝ่ายก็มีจุดดี จุดด้อยแตกต่างกันไป อย่างเช่นกองกำลังของฝ่ายไอซุมีความพร้อมมากกว่าของซตสึมะ กองกำลังบาคุฟุมีจำนวนมากที่สุด และกองกำลังของโจชูที่มีความทันสมัยมากที่สุด

แต่ถึงกระนั้นแม้กองกำลังของโชกุนจะมีจำนวนมาก แต่ตัวโชกุนเองก็มักจะสั่งการพลาดและไม่มีความเป็นผู้นำพอ ทำให้ในแต่ละการศึกมักจะพลาดบ่อยๆ

แม้ทางฝ่ายของพันธมิตรซัตโจจะมีกำลังพลน้อยกว่า แต่พวกเขามีกำลังทหารและยุทธโธปกรณ์ที่ล้ำสมัยที่สุดในญี่ปุ่น โดยมีทั้งปืนใหญ่ ปืนยาว ปืนกล ในการรบ ซึ่งทางด้านกองกำลังของโชกุนนั้นไม่มีอาวุธพวกนี้มากนัก เนื่องด้วยการที่โชกุนใช้ดงินไปในการฝึกทหารของฝรั่งเศสทำให้ไม่ค่อยมีเงินไปซื้ออาวุธ ทำให้ในกองกำลังของโชกุนมีทั้งส่วนที่ทันสมัยและล้าสมัย

กองเรือราชนาวีอังกฤษซึ่งเป็นผู้สนับสนุนรายใหญ่ของพันธมิตรซัตโจ ก็ได้ออกตัวและมาช่วยสนับสนุนพันธมิตรซัตโจโดยการเอากองเรือมาปิดท่าเรือโอซากา เพื่อป้องกันกองกำลังเสริมของโชกุนทีอาจจะมาช่วยเหลือทัพของโชกุนในโอซากาซึ่งเป็นจุดยื่นมั้นของกลุ่มผู้สนับสนุนโชกุน แต่สาเหตุสคัญหลักๆของการที่กองเรืออังกฤษมาปิดล้อมอ่าวโอซากาในครั้งนี้ก็เพื่อป้องกันจุดยุทธศาสตร์การค้าที่สำคัญในเมืองเฮียวโงะ (ปัจจุบันคือโกเบ) และป้องกันสถานะท่าเรือการค้าที่รัฐบาลเกียวโตเพิ่งจะสั่งเปิดในโอซากาด้วยในวันที่ 1 มกราคม 1868 กองเรือที่ประจำการในโอซากานั้นนำโดยพลเรือเอกเฮนรี เคปเปล (Henry Keppel) และพลเรือเอกเฮนรี เอช.เบล (Henry H. Bell)

ก่อนจะเกิดการรบครั้งนี้ โยชิโนบุผู้เป็นโชกุนคนสุดท้ายมีอาการป่วยอย่างรุนแรง ทำให้เขาไม่มีส่วนร่วมในการศึกครั้งนี้

อ้างอิง

[แก้]
  1. Totman, p. 429
  2. Totman, p. 429
  3. Totman, p. 429
  4. Totman, p.429