ข้ามไปเนื้อหา

ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 232

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 232
ภาพวินาทีการตกของเที่ยวบินที่ 232 ขณะลงจอดที่ท่าอากาศยานซู เกทเวย์
สรุปอุบัติการณ์
วันที่19 กรกฎาคม 2532
สรุปใบพัดเครื่องยนต์ตัวที่ 2 ซึ่งอยู่ที่หางเกิดระเบิด ทำให้ระบบไฮดรอลิกเสียหายจนไม่สามารถควบคุมเครื่องได้
จุดเกิดเหตุท่าอากาศยานซู เกทเวย์ ซูซิตี้ รัฐไอโอว่า สหรัฐอเมริกา
ประเภทอากาศยานแมคดอนเนลล์ ดักลาส ดีซี-10-10
ดําเนินการโดยยูไนเต็ดแอร์ไลน์
ทะเบียนN1819U
ต้นทางท่าอากาศยานนานาชาติสตาพเพิลตัน เดนเวอร์ รัฐโคโลราโด
ปลายทางท่าอากาศยานนานาชาติฟิลาเดลเฟีย ฟิลาเดลเฟีย รัฐเพนซิลเวเนีย
ผู้โดยสาร285
ลูกเรือ11
เสียชีวิต112
บาดเจ็บ171
รอดชีวิต184

ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 232 (UA232) เป็นเที่ยวบินภายในประเทศสหรัฐอเมริกาในเส้นทาง เดนเวอร์ รัฐโคโลราโด สู่ ฟิลาเดลเฟีย รัฐเพนซิลเวเนีย เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2532 แต่หลังจากบินได้กว่าหนึ่งชั่วโมง ก็เกิดการระเบิดบริเวณท้ายเครื่อง นักบินตัดสินใจนำเครื่องลงจอดฉุกเฉินที่สนามบินซูใน รัฐไอโอว่า แต่เครื่องบินเสียการทรงตัว ทำให้ตกกระแทกกับรันเวย์และพลิกคว่ำ มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก

เหตุการณ์

[แก้]

ช่วงบ่ายวันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม ซึ่งเป็นวันหยุด พ่อแม่พาลูกหลานเดินทางไปเที่ยวในวันหยุด เครื่องบิน แมคดอนเนลล์ ดักลาส ดีซี-10-10 ของสายการบิน ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ พร้อมผู้โดยสาร 285 คน และลูกเรือ 11 คน ออกเดินทางจากท่าอากาศยานนานาชาติสตาพเพิลตันในเดนเวอร์ไปยัง ท่าอากาศยานนานาชาติฟิลาเดลเฟีย ในฟิลาเดลเฟียเมื่อเวลา 14:09 น. ตามเวลาท้องถิ่นของสหรัฐ โดยกัปตันในเที่ยวบินนี้คือ อัลเฟรด ซี. เฮนส์ นักบินผู้ช่วย William Roy (Bill) Records วิศวกรการบิน Dudley Joseph Dvorak หลังจากบินได้ 1 ชั่วโมง 7 นาที เมื่อเวลา 15:16 น. ตามเวลาท้องถิ่นของสหรัฐ ได้เกิดเสียงระเบิดดังสนั่นบริเวณท้ายเครื่องจนทำให้ผู้โดยสารตกใจและหวาดกลัว

กัปตันอัลทราบว่าระบบไฮดรอลิกมีปัญหา จึงดับเครื่องยนต์ตัวที่ 2 ซึ่งอยู่บริเวณหางลง และใช้เครื่องยนต์ตัวที่ 1 และตัวที่ 3 ซึ่งอยู่ที่ปีกทั้งสองข้างในการส่งแรงกำลังให้เครื่องบินบินต่อไปได้ ต่อมาในเวลา 15:29 น. ตามเวลาท้องถิ่นของสหรัฐ กัปตันเดนนิส อี. ฟิตช์ นักบิน ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ และผู้ฝึกสอนการบินในเครื่องรุ่นดีซี-10 ซึ่งกำลังเดินทางกลับบ้าน ได้เดินเข้าไปในห้องนักบินเพื่อช่วยเหลือกัปตันอัลในการแก้ปัญหาเรื่องระบบไฮดรอลิก เมื่อนักบินติดต่อกับหอบังคับการบินก็ได้รับการแนะนำว่าให้ไปลงจอดที่ท่าอากาศยานซู เกทเวย์ในเมืองซูซิตี้ รัฐไอโอว่าซึ่งเป็นท่าอากาศยานขนาดเล็กแต่มีรันเวย์ยาวพอที่จะให้เครื่องดีซี-10ลงจอดได้ เมื่อมาถึงสนามบิน กัปตันอัลพยายามจะนำเครื่องบินลงจอด โดยมีกัปตันเดนนิสคอยใช้เครื่องยนต์ที่เหลือ 2 ตัวเพิ่มกำลังให้ แต่แล้ว เคริ่องบินเกิดเสียการทรงตัว เขาต้องการใช้รันเวย์ที่มีรถดับเพลิงจอดขวางอยู่รถดับเพลิงจึงรีบออกจากรันเวย์นั้น ในที่สุด เมื่อเวลา 16:00 น. ตามเวลาท้องถิ่นของสหรัฐ เที่ยวบินที่ 232 ตกกระแทกกับรันเวย์อย่างแรง ก่อนที่ระเบิดลุกเป็นไฟและพลิกคว่ำไปหยุดอยู่ที่ไร่ข้าวโพดข้างๆรันเวย์ โดยมีผู้ถ่ายวีดีโอขณะเกิดเหตุสยองไว้ได้จากการตกครั้งนี้ มีผู้เสียชีวิต 112 คน แบ่งเป็นเสียชีวิตในที่เกิดเหตุ 111 คน และเสียชีวิตในเวลาต่อมาอีก 1 คน และรอดชีวิต 184 คนรวมทั้งกัปตันอัล กัปตันเดนนิส และนักบินอีก 2 คนในห้องนักบิน โดยมี 171 คนที่ได้รับบาดเจ็บ

สาเหตุ

[แก้]

3 เดือนต่อมา คณะสืบสวนอุบัติเหตุได้รับแจ้งจากหญิงชาวไร่ข้าวโพดคนหนึ่งว่าพบใบพัดเครื่องยนต์เจ็ทที่หักออกไปจากเครื่อง UA232 จึงเดินทางไปตรวจสอบยังจุดที่พบ ผลจากการตรวจสอบพบว่าใบพัดเครื่องยนต์ของแมคดอนเนลล์ ดักลาส ดีซี-10นั้นมีรอยร้าว เมื่อถูกหมุนด้วยความเร็วสูงขณะที่เครื่องบินกำลังบินอยู่ จึงทำให้เกิดรอยร้าวที่ใบพัดเครื่องยนต์มากขึ้นจนกระทั่งระเบิดในทีสุด เมื่อใบพัดเครื่องยนต์ระเบิดออกไป จึงทำให้ระบบไฮดรอลิกเสียหาย อันเป็นสาเหตุของอุบัติเหตุครั้งนี้

ภายหลังเหตุการณ์

[แก้]

ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 232 ถูกยอมรับโดยทั่วไปว่าเป็นตัวอย่างของการรับมือกับสถานการณ์ที่ยอดเยี่ยมทั้งกับนักบิน นักบินผู้ช่วย วิศวกรการบิน พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน เจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศ รถดับเพลิง รถพยาบาล แม้กระทั่งนักข่าว ที่พร้อมรอรับสถานการณ์เครื่องบินตก โดยปกติแล้วจำนวนผู้เสียชีวิตจะมีมากกว่านี้ การร่วมมือกันเป็นอย่างดีส่งเสริมให้รักษาชีวิตคนไว้ได้

นักดับเพลิงยังใช้กรณีนี้เป็นกรณีศึกษาเนื่องจากในตอนแรกเขาได้รับคำสั่งให้อยู่รันเวย์อีกทางหนึ่งหากรถดับเพลิงยังอยู่ในรันเวย์นั้นเครื่องบินจะชนรถดับเพลิงการที่รถดับเพลิงต้องรีบเปลี่ยนรันเวย์ในขั้นตอนสุดท้ายภายในระยะเวลาไม่ถึง 5 นาที เป็นเรื่องยากพอสมควร

ดูเพิ่ม

[แก้]