ข้ามไปเนื้อหา

รุนดากุมปูลันเกอจิล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รุนดากุมปูลันเกอจิล
หน่วยรบลาดตระเวนขนาดเล็ก
Runda Kumpulan Kecil
มีส่วนร่วมในความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย
ปฏิบัติการประมาณ ค.ศ. 2000 (2000)[1]ปัจจุบัน
แนวคิดลัทธิแยกดินแดน
อิสลามนิยม
[2]
ผู้นำรอฮิง อาซ่อง (อับดุลรอฮิง ดาอีซอ)[1]
พื้นที่ปฏิบัติการภาคใต้ของประเทศไทย
กำลังพล500 คน[1]
ปรปักษ์ ไทย
การสู้รบและสงครามความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย

รุนดากุมปูลันเกอจิล (มลายู: Runda Kumpulan Kecil ; อักษรยาวี: روندا كومڤولن كچيل ; คำแปล: "หน่วยรบลาดตระเวนขนาดเล็ก", อาร์เคเค) เป็นกลุ่มนักรบอิสลามในภาคใต้ของประเทศไทย

อาร์เคเคเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้ก่อความรุนแรงที่โหดร้าย และเคลื่อนไหวมากที่สุดของการก่อความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

ประวัติ

[แก้]
พื้นที่ที่กลุ่มเคลื่อนไหวอยู่

อาร์เคเคก่อตั้งขึ้นโดยสมาชิกซาลาฟีรุ่นเยาว์ของขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติ (บีอาร์เอ็น-ซี) ในปี ค.ศ. 2000 ที่ได้รับการฝึกทางทหารในประเทศอินโดนีเซีย[3] ด้วยเหตุนี้ นักวิเคราะห์บางคนยังถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของเปอจูอังเกอเมอร์เดกาอันปาตานี ที่เชื่อมต่อกับบีอาร์เอ็น-ซี และไม่เป็นองค์กรอิสระ[4]

อาร์เคเคนั้นได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่างดี, ไร้ความปราณี และเป็นกลุ่มสไตล์คอมมานโดที่มีประสิทธิภาพ ชื่อ 'หน่วยรบลาดตระเวนขนาดเล็ก' (Runda Kumpulan Kecil) ตั้งตามลักษณะหลักสูตรการฝึกทางทหารระยะเวลาหนึ่งเดือน[5] มีสมาชิกประมาณ 500 คน[1] สมาชิกที่ถูกจับได้สารภาพกับทางการไทยว่าพวกเขาหนีไปประเทศมาเลเซียเป็นประจำหลังจากทำการโจมตีอย่างรุนแรงในจังหวัดยะลา, ปัตตานี หรือนราธิวาส แม้ว่าสมาชิกอาร์เคเคหลายคนถูกจับกุมหรือสังหารโดยกองทัพไทยในทศวรรษที่ผ่านมา แต่ก็เป็นเรื่องยากมากสำหรับผู้มีส่วนร่วมในการต่อต้านการก่อความไม่สงบที่จะเจาะโครงสร้างของกลุ่ม เนื่องจากความลับและความคล่องตัวที่ยอดเยี่ยม[6]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "Runda Kumpulan Kecil (RKK)". Tracking Terrorism. สืบค้นเมื่อ 24 April 2018.
  2. "Runda Kumpulan Kecil (Rkk)". START. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-27. สืบค้นเมื่อ 24 April 2018.
  3. "A Breakdown of Southern Thailand's Insurgent Groups. Terrorism Monitor Volume: 4 Issue: 17". The Jamestown Foundation. 8 September 2006. สืบค้นเมื่อ 11 May 2018.
  4. "Thailand: Islamist Insurgency with No End, Part 2". Islam Whatch. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2007. สืบค้นเมื่อ 11 May 2018.
  5. "No one is safe" (PDF). Human Rights Watch. August 2007. p. 3. สืบค้นเมื่อ 11 May 2018.
  6. "RKK member killed in Narathiwat". The Bangkok Post. 22 April 2012. สืบค้นเมื่อ 11 May 2018.