ลุดตัดกุด
ลุดตัดกุด (อู้ทูกู่) | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เจ้าแห่งออโกก๊ก | |||||||||||||
ถึงแก่กรรม | ค.ศ. 225 | ||||||||||||
สถานที่ถึงแก่กรรม | จัวปัวสก ภูมิภาคหนานจง | ||||||||||||
ชื่อภาษาจีน | |||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 兀突骨 | ||||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 兀突骨 | ||||||||||||
|
ลุดตัดกุด มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า อู้ทูกู่ (จีน: 兀突骨; พินอิน: Wùtūgǔ) เป็นตัวละครในนวนิยายอิงประวัติศาสตร์จีนในศตวรรษที่ 14 เรื่องสามก๊ก เป็นชาวเผ่าลำมัน เจ้าแห่งรัฐออโกก๊ก (烏戈國 อูเกอกั๋ว)
ลุดตัดกุดเป็นตัวละครสมมติในนวนิยายสามก๊ก ไม่ปรากฏชื่อในบันทึกทางประวัติศาสตร์
ในนิยายสามก๊ก
[แก้]ลุดตัดกุดปรากฏเป็นตัวละครในนวนิยายสามก๊กตอนที่ 90[a] ลุดตัดกุดเป็นเจ้าแห่งรัฐออโกก๊ก (烏戈國 อูเกอกั๋ว) รัฐของชนเผ่าลำมัน (南蠻 หนานหมาน) ลุดตัดกุดมีร่างสูง 12 ฉื่อ (尺)[b] ไม่กินธัญพืชทั้งห้า (五谷 อู๋กู่) แต่กินงูและสัตว์ดุร้ายทั้งดิบ ๆ เป็นอาหาร มีเหล่าทหารใต้บังคับบัญชาที่เรียกว่าตีนกะเป๋ง (籐甲兵 เถิงเจี่ยปิง) สวมเกราะหวายซึ่งเป็นเกราะที่ชุบน้ำมันถึงครึ่งปี ทำให้ฟันแทงไม่เข้าและสามารถลอยน้ำได้
หลังจากเบ้งเฮ็กถูกขงเบ้งจับตัวครั้งที่ 6 แล้วถูกปล่อยไป เบ้งเฮ็กได้ไปร้องขอต่อลุดตัดกุดให้ยกทหารเกราะหวายไปรบกับขงเบ้ง ในศึกแรก กองทัพของขงเบ้งนำโดยจูล่งและอุยเอี๋ยนได้แพ้ทหารเกราะหวายของลุดตัดกุด ขงเบ้งจึงคิดอุบายให้อุยเอี๋ยนไปรบกับลุดตัดกุดและแกล้งแพ้หลายๆครั้งและถอยไปยังหุบเขาจัวปัวสก (盤蛇谷 ผานเฉอกู่) ลุดตัดกุดหลงกลเข้าไปในหุบเขาที่ขงเบ้งได้ทิ้งดินระเบิดไว้ แล้วขงเบ้งจึงสั่งให้ทหารจุดเพลิงและทิ้งไปในหุบเขา เกราะหวายเป็นเกราะชุบน้ำมันจึงติดไฟได้ง่าย ทำให้ทหารเกราะถูกเพลิงเผาทั้งเป็นตายสิ้นรวมทั้งลุดตัดกุดด้วย[2][1]
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ ตรงกับสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 69[1]
- ↑ หรือ 1.2 จ้าง (丈)