ลูกโป่ง
ลูกโป่ง คือวัตถุรูปร่างต่าง ๆ ที่ยืดหยุ่นได้ที่ทำให้พองโดยบรรจุแก๊ส เช่น ฮีเลียม ไฮโดรเจน ไนตรัสออกไซด์ ออกซิเจน หรืออากาศไว้ภายใน ลูกโป่งสมัยใหม่ทำจากยาง น้ำยาง พอลีคลอโรพรีน หรือผ้าไนลอน และมีได้หลายสี ในสมัยก่อน ลูกโป่งทำจากกระเพาะปัสสาวะสัตว์ที่แห้งแล้ว เช่น กระเพาะปัสสาวะของหมู ลูกโป่งบางชนิดมีไว้เพื่อประดับตกแต่งสถานที่ แต่บางชนิดถูกใช้จริงเพื่อจุดประสงค์ต่าง ๆ เช่น ในทางอุตุนิยมวิทยา การแพทย์ การทหาร หรือการขนส่ง ลูกโป่งเป็นที่นิยมกว้างขวางเนื่องจากมีน้ำหนักเบาและราคาถูก
ผู้ประดิษฐ์ลูกโป่งยางได้คนแรกคือ ไมเคิล ฟาราเดย์ ใน ค.ศ. 1824 จากการทดลองด้วยแก๊สหลากหลายชนิด[1]
แก๊สในลูกโป่ง และความปลอดภัย
[แก้]ลูกโป่งที่ขายในประเทศไทยโดยทั่วไป พบบรรจุแก๊สอยู่ 2 ชนิด คือ ไฮโดรเจน และ ฮีเลียม ความแตกต่างของแก๊ส 2 ชนิดนี้ คือ แก๊สไฮโดรเจนมีความไวไฟสูง ส่วนแก๊สฮีเลียมเป็นแก๊สเฉื่อย ไม่ติดไฟ ดังนั้น หากจะใช้งานลูกโป่งในสถานที่ซึ่งมีแสงไฟมาก ตัวอย่างเช่น การจัดตกแต่งงานเลี้ยง งานฉลองต่างๆ ก็ควรเลือกใช้ลูกโป่งบรรจุแก๊สฮีเลียม หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า ลูกโป่งฮีเลียม เพราะหากลูกโป่งบรรจุแก๊สไฮโดรเจนอยู่ใกล้ไฟหรือความร้อน ก็จะติดไฟหรือสามารถเกิดระเบิดในกรณีที่มีลูกโป่งจำนวนมากได้ และอาจจะเป็นอันตรายถึงชีวิต[2]
ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม
[แก้]หลังจากใช้งานลูกโป่งเสร็จแล้ว ควรปล่อยลมลูกโป่ง แล้วนำไปทิ้งให้ถูกที่ เพราะการปล่อยลูกโป่งลอยขึ้นฟ้าก่อให้เกิดปัญหาอย่างมากต่อสิ่งแวดล้อม ปัญหาของการปล่อยลูกโป่งที่มีคนพบได้แก่ ซากลูกโป่งจำนวนมากมาเกยตื้นบนชายหาด, เชือกลูกโป่งไปพันติดกับตัวนก หรือสัตว์บางชนิดเข้าใจว่าซากลูกโป่งเป็นอาหารจึงกินเข้าไป สัตว์ที่ได้รับผลกระทบเหล่านี้ มีทั้งที่ได้รับการช่วยเหลือ และพบเมื่อเสียชีวิตแล้ว[3]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Swain, Heather (2010). Make These Toys: 101 Clever Creations Using Everyday Items. Penguin Publishing Group. pp. 15–. ISBN 978-1-101-18873-6.
- ↑ 5 ไอเดีย จัดงานแต่งให้ชิค ด้วยช่อลูกโป่ง. สืบค้นเมื่อ 4 ธันวาคม 2558, จาก เว็บไซต์ LoveYouFlower: http://www.loveyouflower.com/
- ↑ Impacts on Wildlife & The Environment. Retrieved December 4, 2015, from Balloons Blow Web site: http://balloonsblow.org/