ข้ามไปเนื้อหา

วิทยา ทรงคำ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิทยา ทรงคำ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่
ดำรงตำแหน่ง
6 มกราคม พ.ศ. 2544 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2566
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด29 ตุลาคม พ.ศ. 2498 (69 ปี)
อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย
พรรคการเมืองไทยรักไทย (2544–2549)
พลังประชาชน (2550–2551)
เพื่อไทย (2551–ปัจจุบัน)

วิทยา ทรงคำ (เกิด 29 ตุลาคม พ.ศ. 2498) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ 5 สมัย และอดีตเลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่[1]

ประวัติ

[แก้]

วิทยา เกิด 29 ตุลาคม พ.ศ. 2498 ที่อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นบุตรนายติ๊บ และนางคำปัน ทรงคำ มีพี่น้อง 4 คน ได้แก่ นายประหยัด ทรงคำ นางบัวซอน บุตรศักดิ์ และนายประเสริฐ ทรงคำ ด้านครอบครัวสมรสกับนางจุรีรัตน์ ทรงคำ มีบุตร 2 คน

สำเร็จการศึกษาศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

งานการเมือง

[แก้]

ก่อนลงสนามเลือกตั้งนายวิทยารับราชการครู ต่อมาปี พ.ศ. 2544 ได้รับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในสังกัดพรรคไทยรักไทย โดยสามารถเอาชนะนางกิ่งกาญจน์ ณ เชียงใหม่ จากพรรคความหวังใหม่ อดีต ส.ส. 2 สมัย และนายมอนอินทร์ รินคำ จากพรรคชาติไทย อดีต ส.ส. 2 สมัยเช่นเดียวกันได้[2][3] หลังจากนั้นได้รับเลือกตั้งติดต่อกันมาอีก 3 ครั้ง

ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งเลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีบุญเลิศ บูรณุปกรณ์ เป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่

เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 สังกัดพรรคเพื่อไทย และได้รับเลือกตั้งอีกสมัย[4]

แต่ในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2563 เขาให้การสนับสนุนนายบุญเลิศ บูรณุปกรณ์ ซึ่งเป็นคู่แข่งของผู้สมัครที่พรรคเพื่อไทยให้การสนับสนุน[5]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

[แก้]

วิทยา ทรงคำ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 5 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคไทยรักไทย
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคไทยรักไทย
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคพลังประชาชน
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคเพื่อไทย
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคเพื่อไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. คณะผู้บริหาร เก็บถาวร 2018-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจากเว็บไซต์องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ สืบค้นวันที่ 5 เมษายน 2561
  2. http://www.kpi.ac.th/media_kpiacth/pdf/M8_34.pdf
  3. "ผลการเลือกตั้ง ส.ส.เชียงใหม่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-07. สืบค้นเมื่อ 2012-07-07.
  4. พลวุฒิ สงสกุล (19 กันยายน 2561). "แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ เตรียมหย่อนบัตรปี 62 ส.ส. ลด 23 จังหวัด อีสานหด 10 ที่นั่ง". THE STANDARD. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. เอ็กซเรย์ ตัวเต็งนายก อบจ. เครือข่ายการเมือง-ธุรกิจ
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๐, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]