วุฒิชัย กิตติธเนศวร
วุฒิชัย กิตติธเนศวร | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 6 กันยายน พ.ศ. 2497 |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | ชาติไทย (2543-2547) ไทยรักไทย (2547-2550) พลังประชาชน (2550-2551) เพื่อไทย (2551-2554, 2556-2565) ภูมิใจไทย (2554-2556, 2565-ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | กอบแก้ว ชิระกุล |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต |
วุฒิชัย กิตติธเนศวร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครนายก 5 สมัย อดีตประธานคณะกรรมาธิการการป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากภัยธรรมชาติและสาธารณภัย[1] อดีตประธานสภาจังหวัดนครนายก 4 สมัย และอดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครนายก น้องชายนาย สิทธิชัย กิตติธเนศวร พี่ชาย ผศ.ดร.วุฒิพงศ์ กิตติธเนศวร อดีตนายกสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ อดีตรองประธานคณะกรรมการมูลนิธิหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร นายโชคชัย กิตติธเนศวร สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 13
ประวัติ
[แก้]วุฒิชัย กิตติธเนศวร หรือ เสี่ยอ๋า เกิดเมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2497 เป็นบุตรของนายกิมไฮ้ กับนางซิวคี้ แซ่โง้ว สมรสกับนางกอบแก้ว ชิระกุล กรรมการผู้จัดการบริษัทกอบชัยคอนกรีต จำกัด มีบุตร 2 คน คือ นาย ปิยวัฒน์ กิตติธเนศวร ผู้ช่วยชำนาญการสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (นายวุฒิชัย กิตติธเนศวร) กับ นางสาว รวิภา กิตติธเนศวร ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากภัยธรรมชาติและสาธารณภัย
วุฒิชัยสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโท จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก สาขารัฐประศาสนศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
การทำงาน
[แก้]วุฒิชัย กิตติธเนศวร เริ่มต้นงานการเมืองโดยการเป็นนักการเมืองท้องถิ่น ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานสภาจังหวัดนครนายก (สจ.) และเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครนายก (อบจ.)เรียกได้ว่าเป็นนักการเมืองที่มีประสบการณ์โชคโชนเพราะเคยเป็นนักการเมืองท้องถิ่นมาแล้วแทบจะทุกตำแหน่ง เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครนายก สังกัดพรรคพลังประชาชน (ต่อมาถูกยุบพรรคจึงย้ายมาสังกัดพรรคเพื่อไทย) ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ย้ายมาลงสมัครในสังกัดพรรคภูมิใจไทย และสามารถเอาชนะนายเกรียงไกร กิตติธเนศวร จากพรรคเพื่อไทย (ผู้เป็นหลาน) และนายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ จากพรรคประชาธิปัตย์ได้[2]
ในปี พ.ศ. 2557 ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีคำพิพากษาให้เขาต้องรับโทษจำคุก 10 ปี และปรับ 200,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 1 ปี และห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมืองเป็นเวลา 4 ปี จากกรณีจงใจยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จ[3]
ในปี พ.ศ. 2562 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครนายกอีกสมัย และได้เป็นประธานคณะกรรมาธิการการป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากภัยธรรมชาติและสาธารณภัย สภาผู้แทนราษฎร ชุดปัจจุบันอีกด้วย
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]วุฒิชัย กิตติธเนศวร ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 5 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดนครนายก สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดนครนายก สังกัดพรรคไทยรักไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดนครนายก สังกัดพรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541) → พรรคเพื่อไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดนครนายก สังกัดพรรคภูมิใจไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดนครนายก สังกัดพรรคเพื่อไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ เปิดชื่อ 35 ประธาน กมธ. “เสรีพิศุทธ์”นั่งปราบทุจริต
- ↑ ผลคะแนนอย่างไม่เป็นทางการ การเลือกตั้ง สส.ปี54 ของจังหวัดนครนายก จาก 455 หน่วย[ลิงก์เสีย]
- ↑ คำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เรื่อง การแสดงบัญชีรายการทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (คดีหมายเลขดำที่ อม. ๕/๒๕๕๗ คดีหมายเลขแดงที่ อม. ๑๕/๒๕๕๗ ระหว่าง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ผู้ร้อง นายวุฒิชัย กิตติธเนศวร ผู้คัดค้าน)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๐, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2497
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากจังหวัดนครนายก
- ชาวไทยเชื้อสายจีน
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครนายก
- พรรคชาติไทย
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- พรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- พรรคภูมิใจไทย
- บุคคลจากโรงเรียนวัดราชาธิวาส
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- บุคคลจากโรงเรียนกฎหมายและการเมือง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.