สมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกา
ก่อตั้ง | 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1924 |
---|---|
ที่ตั้ง |
|
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ทางการ |
สมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกา (อังกฤษ: American Heart Association; อักษรย่อ: AHA) เป็นองค์การไม่แสวงหาผลกำไรในสหรัฐ ที่ส่งเสริมการดูแลหัวใจที่เหมาะสมในความพยายามที่จะลดความพิการและการเสียชีวิตที่เกิดจากโรคระบบหัวใจหลอดเลือดและโรคหลอดเลือดสมอง โดยก่อตั้งขึ้นครั้งแรกในนครนิวยอร์กในปี ค.ศ. 1924 ในฐานะสมาคมเพื่อการป้องกันและบรรเทาอาการโรคหัวใจ[1] ปัจจุบันมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่แดลลัส รัฐเท็กซัส ซึ่งสมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกาเป็นหน่วยงานสาธารณสุขอาสาแห่งชาติ
สมาคมเป็นที่รู้จักสำหรับมาตรฐานการเผยแพร่เกี่ยวกับการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานและการช่วยชีวิตหัวใจขั้นสูง (ACLS) และในปี ค.ศ. 2014 ได้มีคำแนะนำเบื้องต้นในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในสตรี[2] สมาคมเป็นที่รู้จักกันดีสำหรับการดำเนินการจำนวนมากของแคมเปญบริการสาธารณะที่มองเห็นได้อย่างชัดเจนซึ่งเริ่มต้นในคริสต์ทศวรรษ 1970 และยังดำเนินงานการระดมทุนจำนวนหนึ่ง ในปี ค.ศ. 1994 นิตยสารเดอะโครนิเคิลออฟฟิแลนโธรฟี ซึ่งเป็นสิ่งพิมพ์ ได้เผยแพร่การศึกษาที่แสดงให้เห็นว่าสมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกาได้รับการจัดให้อยู่ในอันดับ 5 ของ "องค์การการกุศล/ไม่หวังผลกำไร ที่เป็นที่นิยมที่สุดในอเมริกา"[3] และจอห์น วาร์เนอร์, พ.บ., บธ.ม. เป็นประธานสมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกาในปีงบประมาณ ค.ศ. 2017–18[4]
ประวัติ
[แก้]ค.ศ. 1915–คริสต์ทศวรรษ 1980: การก่อตั้งและช่วงปีแรก
[แก้]สมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกาเติบโตขึ้นจากกลุ่มผู้นำกลุ่มเล็ก ๆ ผู้นำหลักคือสมาคมเพื่อการป้องกันและบรรเทาอาการโรคหัวใจ ที่ก่อตั้งขึ้นในนครนิวยอร์กในปี ค.ศ. 1915 เพื่อศึกษาว่าผู้ป่วยโรคหัวใจสามารถกลับมาทำงานได้อย่างปลอดภัยหรือไม่ องค์กรที่คล้ายกันหลายแห่งได้รับการก่อตัวหรือพัฒนาขึ้นในบอสตัน, ฟิลาเดลเฟีย และชิคาโกในคริสต์ทศวรรษ 1920 โดยตระหนักถึงความต้องการขององค์กรระดับชาติในการแบ่งปันการวิจัยและการส่งเสริมผลการวิจัย สมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกาก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1924 โดยมีผู้ชำนาญโรคหัวใจ 6 คนซึ่งเป็นตัวแทนของกลุ่มผู้นำหลายกลุ่ม[1]
สมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกายังคงมีขนาดเล็กจนถึงคริสต์ทศวรรษ 1940 เมื่อได้รับเลือกสำหรับการสนับสนุนโดยพรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล ผ่านทางธุรกิจของพวกเขา จากรายชื่อองค์กรการกุศลที่แจ้งความจำนง พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล ให้เงิน 1.5 ล้านดอลลาร์จากรายการวิทยุทรูธออร์คอนซีเควนส์ เพื่อให้องค์กรสามารถออกไปทำงานระดับประเทศได้[5]
ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจำกัดไขมันอิ่มตัวและคอเลสเตอรอลเกิดขึ้นจากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ในคริสต์ทศวรรษ 1950 และหลักเกณฑ์การบริโภคอาหารของสมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกาเกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1957 และ 1961 ส่วนรายงานสมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกา ค.ศ. 1957 ประกอบด้วย: (1) อาหารอาจมีบทบาทสำคัญในการเกิดภาวะหลอดเลือดแข็ง (2) ปริมาณไขมันและแคลอรีทั้งหมดในอาหารอาจเป็นปัจจัยสำคัญ (3) อัตราส่วนระหว่างไขมันอิ่มตัวและไม่อิ่มตัวอาจเป็นปัจจัยพื้นฐาน และ (4) จจัยอื่น ๆ ที่อยู่นอกเหนือไขมัน ทั้งอาหารและและขาดโภชนาการอาจมีความสำคัญ โดยในปี ค.ศ. 1961 การค้นพบเหล่านี้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งนำไปสู่คำแนะนำใหม่ของสมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกาใน ค.ศ. 1961 ได้แก่: (1) รักษาน้ำหนักตัวให้ถูกต้อง (2) ออกกำลังกายในระดับปานกลาง เช่น การเดินเพื่อช่วยในการลดน้ำหนัก (3) ลดปริมาณไขมัน, ไขมันอิ่มตัว และคอเลสเตอรอลทั้งหมด เพิ่มปริมาณไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (4) ผู้ชายที่มีประวัติครอบครัวที่เป็นโรคหลอดเลือดแดงแข็งชัดเจนควรให้ความสำคัญกับการปรับเปลี่ยนอาหาร และ (5) การเปลี่ยนแปลงอาหารควรทำภายใต้การดูแลของแพทย์ คำแนะนำเหล่านี้ยังคงมีความแม่นยำมากขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1957 ถึง 1980 แต่ยังคงเป็น "การเชื่อมโยงกันทั่วไปในหมู่พวกเขา"[6]
คริสต์ทศวรรษ 1990–คริสต์ทศวรรษ 2000: การณรงค์ให้ความรู้
[แก้]ในปี ค.ศ. 1994 นิตยสารเดอะโครนิเคิลออฟฟิแลนโธรฟี ซึ่งเป็นสิ่งพิมพ์ เผยแพร่ผลการค้นคว้าที่ใหญ่ที่สุดขององค์การการกุศลและองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรรวมทั้งความน่าเชื่อถือ การค้นคว้าแสดงให้เห็นว่าสมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกาได้รับการจัดอันดับให้เป็น "องค์การการกุศล/ไม่แสวงหาผลกำไรในอเมริกาที่ได้รับความนิยมมากที่สุด" อันดับ 5 จากองค์การการกุศลกว่า 100 แห่ง กับ 95 เปอร์เซ็นต์ของชาวอเมริกันที่มีอายุเกินกว่า 12 ปีที่เลือกหมวดหมู่ในลักษณะ รัก และ ชอบมาก สำหรับสมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกา[3]
ในปี ค.ศ. 2003 ได้มีการตีพิมพ์ “รายงานฉบับที่เจ็ดของคณะกรรมการร่วมแห่งชาติว่าด้วยการป้องกัน, ตรวจจับ, การประเมินผล และการรักษาความดันโลหิตสูง” (เจเอ็นซี 7)[7]
เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม ค.ศ. 2009 สมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกาและสภาการโฆษณาได้เปิดตัวประกาศโฆษณาในบริการสาธารณะเกี่ยวกับซีพีอาร์แบบใช้มือเท่านั้นและเว็บไซต์[8] เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 2009 สมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกาได้ประกาศรณรงค์สร้างความตื่นตัวถึงกรณีหัวใจหยุดเต้นขึ้นใหม่โดยให้ชื่อว่าบีเดอะบีท[9] จุดมุ่งหมายของการรณรงค์คือการสอนเด็กที่มีอายุ 12 ถึง 15 ปีได้สนุกกับการเรียนรู้ขั้นพื้นฐานของการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพและวิธีใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ
ในปี ค.ศ. 2010 สมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกาได้เปิดตัวการรณรงค์ "โกเรดฟอร์วีเมน" ในอดีตผู้ชายเป็นหัวข้อหลักของโรคหัวใจและการวิจัยโรคหลอดเลือดสมอง "โกเรดฟอร์วีเมน" จึงมุ่งเน้นเฉพาะสตรีที่มีข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงและการดำเนินการที่พวกเธอสามารถทำได้เพื่อปกป้องสุขภาพของตนเอง รายได้ทั้งหมดจากการรณรงค์ท้องถิ่นและระดับชาติสนับนำไปใช้เพื่อสนุนการรับรู้, การวิจัย, การศึกษา และโครงการชุมชนเพื่อเป็นประโยชน์ต่อสตรี[10]
ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2010 สมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกาได้รับรองนินเท็นโดวีคอนโซล โดยมีไอคอนสมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกาปรากฏบนกล่องคอนโซล เช่นเดียวกับวีฟิตพลัส และวีสปอร์ตรีสอร์ต
ค.ศ. 2012–15: อีเวนต์และกิจกรรมล่าสุด
[แก้]นอกจากนี้ ยังได้ดำเนินการรณรงค์ในปี ค.ศ. 2012 เพื่อให้ความรู้แก่ผู้คนเกี่ยวกับวิธีการทำซีพีอาร์แบบใช้มือเท่านั้น[11][12][13] การณรงค์ในปี ค.ศ. 2012 ซึ่งเริ่มในนครนิวยอร์ก มีเจนนิเฟอร์ คูลิดจ์ เป็นโฆษก[14]
ในปี ค.ศ. 2012 มิเชลล์ วิลเลียมส์ ซึ่งเป็นนักร้อง-นักแต่งเพลงและนักแสดงหญิงได้เป็นทูตในการรณรงค์ พาวเวอร์ทูเอ็นสโตรก ในบทพูดของเธอ-เธอได้กล่าวว่า "ฉันรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้เป็นพันธมิตรกับการรณรงค์ [...] พ่อของฉันเป็นโรคหลอดเลือดสมองในปี ค.ศ. 2005 เนื่องจากการสูบบุหรี่, เบาหวาน และการลดน้ำหนักในแบบที่อาจทำลายสุขภาพ รวมถึงย่าของฉันได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมองในปี ค.ศ. 2006 เมื่อเธอไปหาหมอเพื่อรับการรักษาผู้ป่วยนอกแบบง่าย ๆ ฉันนำความรู้มาสู่ผู้คนเพื่อให้รู้ว่าโรคหลอดเลือดสมองสามารถป้องกันได้ มาดูแลตัวเองกันเถอะ…ขั้นตอนแรกคือความรู้เกี่ยวกับสุขภาพของคุณ"[15]
ส่วนในปี ค.ศ. 2014 สมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกาได้ออกแนวทางแรกในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในสตรี[2]
สำหรับในปี ค.ศ. 2015 สมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกาได้รับการรับรองการรณรงค์โทแบคโค 21 อย่างเป็นทางการ โดยการแนะนำภายในเมือง, รัฐ และรัฐบาลแห่งชาติในการเพิ่มอายุการจำหน่ายยาสูบและนิโคตินแก่บุคคลที่อายุตั้งแต่ 18 ถึง 21 ปี[16]
และในปี ค.ศ. 2018 มีการประกาศว่าสมาคมโรคหัวใจอเมริกันได้ร่วมมือกับแชริตีไดนามิกส์และไมเทค เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการระดมทุนในตลาดเยาวชนแห่งชาติของตน สามารถบริจาคเช็คเงินฝากโดยตรงจากโทรศัพท์มือถือของตนได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย[17]
บุคคลสำคัญ
[แก้]แนนซี บราวน์ ดำรงตำแหน่งประธานบริหารตั้งแต่ปี ค.ศ. 2009 ดูรายชื่อเจ้าหน้าที่ที่สำคัญของสมาคมและผู้นำอาสาสมัครได้ที่ www.heart.org - เกี่ยวกับสมาคม (https://www.heart.org/en/about-us)
- เอลเลียต แอนต์แมน, พ.บ., ได้เป็นประธานสมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกาในปีงบประมาณ ค.ศ. 2014–15 ในฐานะประธาน แอนต์แมนเป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่ด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์อาสาสมัคร โดยรับผิดชอบด้านการแพทย์, วิทยาศาสตร์ และสาธารณสุข เขาเป็นศาสตราจารย์ด้านการแพทย์และรองคณบดีฝ่ายคลินิก/การถ่ายทอดเทคโนโลยีที่โรงเรียนแพทย์ฮาร์วาร์ด รวมทั้งเป็นแพทย์อาวุโสแผนกหัวใจและหลอดเลือดของโรงพยาบาลบริกแฮมและสตรีในบอสตัน[ต้องการอ้างอิง]
- เมลาเนีย ทรัมป์ เป็นประธานหญิงสำหรับเวสต์ปาล์มบีชฮาร์ตบอลของสมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกาในปี ค.ศ. 2010[18]
- ในปี ค.ศ. 2012 มิเชลล์ วิลเลียมส์ นักร้อง-นักแต่งเพลง และนักแสดงหญิง ได้เป็นทูตในการรณรงค์พลังยุติโรคหลอดเลือดสมอง[15]
- ศหาพุทฺทีน เอช. รหีมโตลา ประธานหทัยวิทยาคลินิก
สิ่งพิมพ์
[แก้]วารสาร
[แก้]- ไฮเปอร์เทนชัน
- อาร์เทอริโอสเคลอโรสิส, ทรอมโบซิส, แอนด์วาสคิวลาร์ไบโอโลจี
- สโตรก
- เซอร์คิวเลชัน
- เซอร์คิวเลชันรีเสิร์ช
- เจอร์นัลออฟดิอเมริกันฮาร์ตแอสโซซิเอชัน: คาร์ดิโอวาสคิวลาร์แอนด์เซเรโบรวาสคิวลาร์ดีซีส
มาตรฐาน
[แก้]- การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน
- การช่วยชีวิตหัวใจขั้นสูง (เอซีแอลเอส)
ดูเพิ่ม
[แก้]- เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ (เออีดี)
- เดือนหัวใจอเมริกัน
- รางวัลพอล "แบร์" ไบรอันต์ สมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกา
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "History of the American Heart Association". heart.org. สืบค้นเมื่อ 11 March 2015.
- ↑ 2.0 2.1 "First guidelines issued to prevent stroke in women". CBS News.
- ↑ 3.0 3.1 "The Charities Americans Like Most And Least," The Chronicle of Philanthropy, December 13, 1996 and USA Today, December 20, 1994, "Charity begins with health", FINAL 01D
- ↑ "President of the American Heart Association". Heart.org.
- ↑ Tye, Larry (1998). The Father of Spin: Edward L. Bernays & the Birth of Public Relations. p. 74. ISBN 978-0-517-70435-6.
- ↑ Kritchevsky, David (9 April 1997). History of Recommendations to the Public about Dietary Fat. Experimental Biology 97, Evolution of Ideas about the Nutritional Value of Dietary Fat. New Orleans, LA: American Society for Nutritional Science.
- ↑ "2017 Guideline for High Blood Pressure in Adults - American College of Cardiology". American College of Cardiology.
- ↑ "American Heart Association, Ad Council launch Hands-Only CPR campaign". heart.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-08. สืบค้นเมื่อ 2011-07-19.
- ↑ "Association's Campaign Inspires Teens to Use CPR, AEDs to Save Lives". prnewswire.com.
- ↑ "About Go Red". goredforwomen.org. สืบค้นเมื่อ 29 August 2015.
- ↑ Deena Centofanti (June 6, 2012). "'Stifler's mom' helping promote hands only CPR". Fox 2 Detroit. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 20, 2012. สืบค้นเมื่อ June 9, 2012.
- ↑ Maria Masters (June 6, 2012). "The New Rules of CPR". Family Circle. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 8, 2012. สืบค้นเมื่อ June 9, 2012.
- ↑ Pedro F. Frisneda/EDLP (June 6, 2012). "Neoyorquinos aprenden a salvar vidas". ImpreMedia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-17. สืบค้นเมื่อ June 9, 2012.
- ↑ "Media Center". American Heart Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-18. สืบค้นเมื่อ June 9, 2012.
- ↑ 15.0 15.1 Greer, Whitney (April 6, 2012). "Michelle Williams: The Power To End Stroke". BlackDoctor.org. สืบค้นเมื่อ 8 October 2012.
- ↑ "States Should Heed Strong Support for Raising Tobacco Age of Sale, Says American Heart Association | American Heart Association". newsroom.heart.org.
- ↑ "Charity Dynamics and Mitek Enhance the Experience for More Than Two Million American Heart Association Fundraisers with Mobile Check Deposit". Mitek (ภาษาอังกฤษ). 2018-09-13. สืบค้นเมื่อ 2018-11-29.
- ↑ "Melania Trump - The White House". whitehouse.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-14. สืบค้นเมื่อ 2018-12-18.