สเกนต์
สเกนต์ | |
---|---|
มงกุฎสเกนต์, มงกุฎคู่แห่งอียิปต์ | |
รายละเอียด | |
สำหรับ | อียิปต์ |
สเกนต์ (/ˈskɛnt/; กรีก ψχέντ) เป็นมงกุฎคู่ที่ผู้ปกครองในอียิปต์โบราณทรงสวมใส่ ชาวอียิปต์โบราณเรียกโดยทั่วไปว่า เซเคมติ (sḫm.ty) ซึ่งแปลว่า ผู้ทรงอำนาจทั้งสอง[1] เป็นมงกุฎที่เป็นการรวมมงกุฎขาว (เฮดเจต) ของอียิปต์บนและมงกุฎแดง (เดชเรต) ของอียิปต์ล่าง
มงกุฎสเกนต์เป็นตัวแทนของพระราชอำนาจของฟาโรห์เหนืออียิปต์ที่เป็นปึกแผ่นทั้งหมด[2] ซึ่งมีสัญลักษณ์สัตว์สองตัว คือ งูเห่าอียิปต์หรือที่เรียกว่า อูเรอุส ที่พร้อมที่จะโจมตี โดยเป็นสัญลักษณ์ของเทพีวาดเจต ซึ่งเป็นเทพีแห่งอียิปต์ล่าง และอีแร้งอียิปต์ ซึ่งเป็นตัวแทนของเทพีเนคเบต ผู้ที่ทรงปกครองอียิปต์บน ซึ่งสัญลักษณ์ทั้งสองก็จะติดอยู่ที่ด้านหน้าของมงกุฎสเกนต์ และเรียกสิ่งนั้นว่า สองสตรี
ประวัติ
[แก้]
| |||||
สเกนต์ "มงกุฎคู่" ในไฮเออโรกลีฟอียิปต์ | |||||
---|---|---|---|---|---|
การประดิษฐ์สร้างมงกุฎสเกนต์นั้น ซึ่งมีเกี่ยวข้องในช่วงสมัยราชวงศ์ที่หนึ่งของฟาโรห์เมเนส แต่ฟาโรห์พระองค์แรกที่ทรงเริ่มสวมมงกุฎคู่ คือ ฟาโรห์ดเจตจากราชวงศ์ที่หนึ่ง โดยปรากฏศิลาจารึกแสดงให้เห็นว่าเทพฮอรัสของพระองค์ทรงสวมมงกุฎดังกล่าว[3]
รายพระนามผู้ปกครองบนศิลาปาแลร์โมนั้น ซึ่งขึ้นต้นด้วยพระนามของฟาโรห์จากอียิปต์ล่าง (ปัจจุบันคิดว่าเป็นตำนานผู้ปกครองครึ่งคนครึ่งเทพ) ซึ่งทรงสวมมงกุฏแดง แสดงถึงการรวมประเทศด้วยการมอบมงกุฎสเกนต์ให้กับราชวงศ์ที่หนึ่งและฟาโรห์ในสมัยต่อมาทั้งหมด[4] ในทางกลับกัน ชิ้นส่วนของศิลาไคโรได้แสดงให้เห็นผู้ปกครองยุคก่อนประวัติศาสตร์ทรงสวมมงกุฎสเกนต์อยู่แล้ว[5]
ด้านโบราณคดี
[แก้]เช่นเดียวกับ กรณีของมงกุฎเดชเรต และมงกุฏเฮดเจต ไม่ปรากฏว่ามีมงกุฎสเกนต์ใดหลงเหลือมาถึงปัจจุบัน และเป็นที่ทราบมาจากเฉพาะจากรูปสลัก ภาพสลัก จารึก และนิทานโบราณเท่านั้น
ตำนานเทพปกรณัม
[แก้]ในบรรดาเทพเจ้าที่บางครั้งก็สวมมงกุฏคู่ ได้แก่ เทพฮอรัส[6] และเทพอาตุมหรือเทพรา ซึ่งทั้งสองเป็นทรงตัวแทนของฟาโรห์หรือทรงมีความสัมพันธ์พิเศษกับฟาโรห์[7]
ระเบียงภาพ
[แก้]-
เศษป้ายงาช้างที่แสดงให้เห็นภาพฟาโรห์เดนทรงสวมมงกุฏคู่ของอียิปต์บนและอียิปต์ล่าง ค้นพบในหลุมฝังพระบรมศพของฟาโรห์ที่อุมมุลกะอับ ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์อียิปต์
-
ฟาโรห์ปโตเลมีที่ 8 ทรงยืนอยู่ระหว่างเทพีวาดเจต (สัญลักษณ์ของอียิปต์ล่าง) และเทพีเนคเบต (สัญลักษณ์ของอียิปต์บน) ปรากฏบนภาพสลักบนผนังวิหารเอ็ดฟู ประเทศอียิปต์
-
พระธำมรงค์ของ ฟาโรห์ปโตเลมีที่ 6 ฟิโลเมตอร์ ทรงสวมมงกุฎคู่สเกนต์ เมื่อศตวรรษที่ 3 ถึง 2 ก่อนคริสตกาล ผู้ปกครองปโตเลมีจะทรงสวมมงกุฎสเกนต์ในอียิปต์เท่านั้นและสวมมงกุฎกรีกในดินแดนอื่น ๆ
-
รูปสลักส่วนพระเศียรทรงมงกุฎสเกนต์ของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 3
-
เหยี่ยวฮอรัสสวมมงกุฎคู่
-
รูปสลักแห่งอเมนโฮเทปที่ 3 ทรงสวมมงกุฎสเกนต์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Griffith, Francis Llewellyn, A Collection of Hieroglyphs: A Contribution to the History of Egyptian Writing, the Egypt Exploration Fund 1898, p.56
- ↑ Dunand, Françoise; Christiane Zivie-Coche, Gods and Men in Egypt: 3000 BCE to 395 CE, Cornell University Press 2004, pp.32f.
- ↑ Wilkinson, Toby A. H., Early Dynastic Egypt, Routledge 1999, p.196
- ↑ Trigger, B. G. (1982). "The rise of civilization in Egypt". ใน Clark, J. Desmond (บ.ก.). The Cambridge History of Africa. Volume 1, From the Earliest Times to c.500 BC. Cambridge: Cambridge University Press. p. 521. doi:10.1017/CHOL9780521222150.008. ISBN 9781139054553.
- ↑ Kemp, Barry John, Ancient Egypt: Anatomy Of A Civilization, Routledge 2006, p.92
- ↑ Zandee, Jan, Studies in Egyptian Religion: Dedicated to Professor Jan Zandee, Brill 1982, p.74
- ↑ The New Encyclopædia Britannica, Encyclopædia Britannica, Inc. 2005, p. 689