หม่อมเจ้าอมรทัต กฤดากร
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
หม่อมเจ้าอมรทัต กฤดากร | |
---|---|
สมุหราชองครักษ์ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 เมษายน พ.ศ. 2469 – 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2471 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ก่อนหน้า | พลเอก เจ้าพระยารามราฆพ |
ถัดไป | พลเอก พระยาเทพอรชุน |
ประสูติ | 29 เมษายน พ.ศ. 2429 |
สิ้นชีพิตักษัย | 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 (66 ปี) |
คู่อภิเษก | หม่อมพร้อมสุพิน หม่อมอู๊ด |
พระบุตร | หม่อมราชวงศ์ไพเราะ กฤดากร หม่อมราชวงศ์เพลินจิตร์ กฤดากร หม่อมราชวงศ์พงศ์อมร กฤดากร หม่อมราชวงศ์สุทัศนีย์ กฤดากร |
ราชวงศ์ | กฤดากร (ราชวงศ์จักรี) |
พระบิดา | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ |
พระมารดา | หม่อมสุภาพ กฤดากร ณ อยุธยา |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
แผนก/ | กรมราชองครักษ์ กองทัพบกไทย |
ประจำการ | พ.ศ. 2449 – พ.ศ. 2495 |
ชั้นยศ | พลโท |
บังคับบัญชา | กรมราชองครักษ์ |
พลโท หม่อมเจ้าอมรทัต กฤดากร (29 เมษายน 2429 - 30 กรกฎาคม 2495) เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ กับหม่อมสุภาพ กฤดากร ณ อยุธยา และเป็นพระนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระประวัติ
[แก้]หม่อมเจ้าอมรทัต กฤดากร หรือที่ชาววังขานพระนามว่า ท่านชายตาป่อง ประสูติเมื่อ 29 เมษายน พ.ศ. 2429 ในช่วงที่พระบิดาดำรงตำแหน่งอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็มประจำพระราชวังเซนต์เจมส์ โดยเริ่มศึกษาที่โรงเรียนแฮร์โรว์ ประเทศอังกฤษ เมื่อกลับประเทศไทยได้เข้าเป็นนายทหารเหล่าปืนใหญ่ ดำราชตำแหน่งราชองครักษ์ ปลัดกรมเสนาธิการทหารบก และรับราชการในต่างประเทศทั้งยุโรปและอเมริกา
เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง หม่อมเจ้าอมรทัต ได้เป็นคณะทูตทหารในคณะผู้แทนรัฐบาลไทยในการประชุมสันติภาพ ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นครองราชย์ จึงได้แต่งตั้งเป็นสมุหราชองครักษ์ ในปี พ.ศ. 2469[1] และด้วยความสนิทสนมกับราชสำนักยุโรป จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้สนองพระเดชพระคุณด้านวางระเบียบราชการในพระราชสำนัก โดยเฉพาะในส่วนที่ติดต่อประสานงานกับต่างประเทศ และแบบแผนในการรับรองคณะทูตานุทูต
ในปี พ.ศ. 2466 หม่อมเจ้าอมรทัต กฤดากร ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นองคมนตรี เมื่อวันที่ 4 เมษายน พุทธศักราช 2466[2]
เมื่อปี พ.ศ. 2471 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้เป็นอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. แล้วย้ายมากรุงปารีส ดำรงตำแหน่งอัครราชทูตพิเศษผู้มีอำนาจเต็มประจำประเทศฝรั่งเศส เบลเยี่ยม เนเดรลันดส์ อิตาลี สเปน และเปอร์ตุเกส และเป็นอัครราชทูตพิเศษผู้มีอำนาจเต็มประจำประเทศสวิตเซอร์แลนด์[3] ในเวลาต่อมา จนเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจึงได้ถูกปลดออกจากราชการ[4]
หม่อมเจ้าอมรทัต ทรงมีบุตรและธิดา 4 คน เกิดจากหม่อมพร้อยสุพิณและหม่อมอู๊ด ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์หญิงไพเราะ กฤดากร
- หม่อมราชวงศ์หญิงเพลินจิตร์ กฤดากร
- หม่อมราชวงศ์พงศ์อมร กฤดากร
- หม่อมราชวงศ์หญิงสุทัศนีย์ กฤดากร
พลโท หม่อมเจ้าอมรทัต กฤดากร ประชวรด้วยโรคหืดและพระหทัยพิการ สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 สิริพระชันษาได้ 66 ปี
ตำแหน่ง
[แก้]พระยศทหาร
[แก้]- 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2449 - ร้อยตรี[7]
- 28 เมษายน 2458 – นายพันตรี[8]
- 4 มิถุนายน 2458 – โปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงกลาโหมส่งสัญญาบัตรยศไปพระราชทานที่ประเทศฝรั่งเศส[9]
- – นายพันโท
- 24 เมษายน 2463 – พันเอก[10]
- 9 เมษายน พ.ศ. 2467 - พลตรี[11]
- 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2493 - พลโท[12]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]พลโท หม่อมเจ้าอมรทัต กฤดากร ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศต่าง ๆ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
[แก้]- พ.ศ. 2471 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[13]
- พ.ศ. 2464 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[14]
- พ.ศ. 2462 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ 3 โยธิน (ย.ร.)[15]
- พ.ศ. 2464 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)[16]
- พ.ศ. 2462 – เหรียญงานพระราชสงครามทวีปยุโรป[17]
- พ.ศ. 2462 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มราชการแผ่นดิน (ร.ด.ม.(ผ))[18]
- พ.ศ. 2471 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มราชการในพระองค์ (ร.ด.ม.(พ))[19]
- พ.ศ. 2463 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[20]
- พ.ศ. 2465 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 3 (ว.ป.ร.3)[21]
- พ.ศ. 2469 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 2 (ป.ป.ร.2)[22]
- พ.ศ. 2436 – เหรียญรัชฎาภิเศกมาลา (ร.ศ.)
- พ.ศ. 2440 – เหรียญประพาสมาลา (ร.ป.ม.)
- พ.ศ. 2441 – เหรียญราชินี (ส.ผ.)
- พ.ศ. 2446 – เหรียญทวีธาภิเศก (ท.ศ.)
- พ.ศ. 2450 – เหรียญรัชมงคล (ร.ร.ม.)
- พ.ศ. 2451 – เหรียญรัชมังคลาภิเศก รัชกาลที่ 5 (ร.ม.ศ.5)
- พ.ศ. 2454 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 6 (ร.ร.ศ.6)
- พ.ศ. 2468 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 (ร.ร.ศ.7)
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
- พ.ศ. 2464 – เหรียญชัย (ร.ช.)
- พ.ศ. 2475 – เหรียญเฉลิมพระนคร 150 ปี (ร.ฉ.พ.)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
[แก้]- เดนมาร์ก :
- พ.ศ. 2454 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์แดนเนอโบร ชั้นที่ 3[23]
- อิตาลี :
- รัสเซีย :
- พ.ศ. 2454 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญอันนา ชั้นที่ 3[25]
- สวีเดน :
- พ.ศ. 2454 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาบ ชั้นที่ 4[25]
- ฝรั่งเศส :
- พ.ศ. 2472 – เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ ชั้นที่ 2[26]
- บริเตนใหญ่ :
- พ.ศ. 2454 – เหรียญราชาภิเษกพระเจ้าจอร์จที่ 5[25]
- พ.ศ. 2460 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญไมเคิลและจอร์จ ชั้นที่ 3[27]
- เบลเยียม :
- พ.ศ. 2476 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎเบลเยียม ชั้นที่ 1[28]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชกิจจานุเบกษา วันที่ 4 เมษายน 2469 ประกาศตั้งสมุหราชองครักษ์http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2469/A/1.PDF
- ↑ การพระราชพิธีตั้งองคมนตรี พระพุทธศักราช 2466
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เรื่อง ประกาศตั้งอัครราชทูตhttp://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2475/A/48.PDF
- ↑ สมประสงค์ ทรัพย์พาลี. ๑๐๑ จุลจักรี ๑๐๑ ปี จุลจอมเกล้า. กรุงเทพ : [ม.ป.พ.], พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2555. 154 หน้า. ISBN 9786169092605
- ↑ แจ้งความกระทรวงกลาโหม เรื่อง แต่งตั้งนายทหาร
- ↑ แจ้งความของสภากาชาดสยาม
- ↑ ส่งสัญญาบัตรทหารบกไปพระราชทาน
- ↑ พระราชทานยศนายทหารบก
- ↑ ส่งสัญญาบัตรยศนายทหารบกไปพระราชทาน
- ↑ พระราชทานยศทหารบก
- ↑ พระราชทานยศ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร ตอนที่ 62 เล่ม 67 ราชกิจจาุนุุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2493 http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2493/D/062/5872.PDF
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๔๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๙๗, ๑๘ พฤศจิกายน ๒๔๗๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หนดา ๒๔๗๒, ๒๗ พฤศจิกายน ๒๔๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศพระราชทานฐานันดรแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดีและเหรียญรามมาลา, เล่ม ๓๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๕๓, ๒๗ เมษายน ๒๔๖๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๘๓๘, ๒ ตุลาคม ๒๔๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่นายทหารผู้มีความชอบและผู้ปฏิบัติราชการเกี่ยวเนื่องด้วยการส่งกองทหารในงานพระราชสงครามที่ยุโรป, เล่ม ๓๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๗๓๒, ๒๑ กันยายน ๒๔๖๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่นายทหารผู้มีความชอบและผู้ปฏิบัติราชการเกี่ยวเนื่องด้วยการส่งกองทหารในงานพระราชสงครามที่ยุโรป, เล่ม ๓๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๗๒๕, ๒๑ กันยายน ๒๔๖๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๔๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๑๒, ๑๘ พฤศจิกายน ๒๔๗๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรมาลา, เล่ม ๓๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๗๓๗, ๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๓๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๘๓๑, ๑ ตุลาคม ๒๔๖๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายหน้า, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๒๔, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๖๙
- ↑ 23.0 23.1 ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๘๘๙, ๒๖ พฤศจิกายน ๑๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับตราต่างประเทศ, เล่ม ๓๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๖๗, ๕ มีนาคม ๒๔๕๘
- ↑ 25.0 25.1 25.2 ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๘๙๐, ๒๖ พฤศจิกายน ๑๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๔๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๘๑๔, ๑๖ มิถุนายน ๒๔๗๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับตราต่างประเทศ, เล่ม ๓๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๗๙, ๒๗ มกราคม ๒๔๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความ เรื่องให้ประดับตราต่างประเทศ, เล่ม ๕๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๓๒๒, ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๖
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2429
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2495
- สมุหราชองครักษ์
- หม่อมเจ้าชาย
- ราชสกุลกฤดากร
- ทหารบกชาวไทย
- ทหารอาสาชาวไทยในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ย.ร.
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ป.ป.ร.5
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.ว. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ อ.ป.ร.3