ข้ามไปเนื้อหา

อูโอซุ

พิกัด: 36°49′38.3″N 137°24′33″E / 36.827306°N 137.40917°E / 36.827306; 137.40917
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อูโอซุ

魚津市
แถวบนสุด: เทือกเขาทาเตยามะ แถวสอง: เทศกาลทาเตมง, อาริโซะโดม แถวสาม: มิราจแลนด์, พิพิธภัณฑ์ป่าไม้ที่ถูกฝัง แถวสี่: พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำอูโอซุ, เทศกาลโชโรกุ แถวห้า: มิราจในฤดูใบไม้ผลิ แถวล่างสุด: มิราจในฤดูหนาว
แถวบนสุด: เทือกเขาทาเตยามะ
แถวสอง: เทศกาลทาเตมง, อาริโซะโดม
แถวสาม: มิราจแลนด์, พิพิธภัณฑ์ป่าไม้ที่ถูกฝัง
แถวสี่: พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำอูโอซุ, เทศกาลโชโรกุ
แถวห้า: มิราจในฤดูใบไม้ผลิ
แถวล่างสุด: มิราจในฤดูหนาว
ธงของอูโอซุ
ธง
ตราอย่างเป็นทางการของอูโอซุ
ตรา
ที่ตั้งของอูโอซุ (เน้นสีชมพู) ในจังหวัดโทยามะ
ที่ตั้งของอูโอซุ (เน้นสีชมพู) ในจังหวัดโทยามะ
อูโอซุตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
อูโอซุ
อูโอซุ
ที่ตั้งในประเทศญี่ปุ่น
พิกัด: 36°49′38.3″N 137°24′33″E / 36.827306°N 137.40917°E / 36.827306; 137.40917
ประเทศธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
ภูมิภาคชูบุ, โคชิงเอ็ตสึ
จังหวัด โทยามะ
บันทึกครั้งแรกค.ศ. 701
จัดตั้งเทศบาลนคร1 เมษายน ค.ศ. 1952
การปกครอง
 • ประเภทเทศบาลนคร
 • นายกเทศมนตรีอากิระ มูรัตสึบากิ (村椿 晃) [ข้อมูล ค.ศ. 2024] (อิสระ)
พื้นที่
 • ทั้งหมด200.61 ตร.กม. (77.46 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2024)[1]
 • ทั้งหมด38,408 คน
 • ความหนาแน่น190 คน/ตร.กม. (500 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+9 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น)
รหัสท้องถิ่น16204-3
โทรศัพท์0765-23-1067
ที่อยู่ศาลาว่าการ1-10-1 Shakadō, Uozu-shi, Toyama-ken 937-8555
เว็บไซต์www.city.uozu.toyama.jp
สัญลักษณ์
ดอกไม้ลิลลีญี่ปุ่น (Lilium speciosum), กุหลาบพันปี
ต้นไม้สนเขา

อูโอซุ (ญี่ปุ่น: 魚津市โรมาจิUozu-shi) เป็นนครที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกของจังหวัดโทยามะ ประเทศญี่ปุ่น ข้อมูลเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2024 (2024 -02-01) อูโอซุมีจำนวนประชากรประมาณ 38,408 คน[1] และมีความหนาแน่นของประชากร 210 คนต่อตารางกิโลเมตร มีขนาดพื้นที่ทั้งสิ้น 200.61 ตารางกิโลเมตร (77.46 ตารางไมล์)[2]

เทศกาลทาเตมง หนึ่งในเทศกาลที่มีชื่อเสียงในจังหวัดโทยามะ

ภูมิศาสตร์

[แก้]

อูโอซุตั้งอยู่ระหว่างนครนาเมริกาวะและนครคูโรเบะ มีอาณาบริเวณทอดยาวตั้งแต่อ่าวโทยามะในทะเลญี่ปุ่นทางตะวันตกเฉียงเหนือ ไปจนถึงเทือกเขาสูงทางตะวันออกเฉียงใต้ ภูเขาที่สูงที่สุดในอูโอซุคือ โซงาดาเกะ (僧ヶ岳) และเคกาจิยามะ (毛勝山) และระดับความสูงที่สูงที่สุดในอูโอซุอยู่ที่ 2,414 เมตร มีแม่น้ำหลายสายไหลผ่านอูโอซุจากตะวันออกไปตะวันตก ได้แก่ แม่น้ำฟูเซะ แม่น้ำคาตาไก แม่น้ำคาโดะ และแม่น้ำฮายัตสึกิ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นชุมชนที่ตั้งอยู่กระจัดกระจาย ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของภูมิภาคนี้

เทศบาลข้างเคียง

[แก้]

ภูมิอากาศ

[แก้]

อูโอซุมีภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นกึ่งเขตร้อน (เคิพเพิน Cfa) มีลักษณะเป็นฤดูร้อนที่ไม่ร้อนจัดและฤดูหนาวที่หนาวเย็นและมีหิมะตกหนัก อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีในอูโอซุอยู่ที่ 13.7 °C ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 2,278 มิลลิเมตร โดยเดือนกันยายนเป็นเดือนที่มีฝนตกชุกที่สุด อุณหภูมิสูงสุดโดยเฉลี่ยอยู่ในเดือนสิงหาคม อยู่ที่ประมาณ 26.3 °C และต่ำสุดในเดือนมกราคม อยู่ที่ประมาณ 2.4 °C[3]

สถิติประชากร

[แก้]

จากข้อมูลการสำรวจสำมะโนประชากรของญี่ปุ่น[6] จำนวนประชากรของอูโอซุลดลงในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา

ประวัติจำนวนประชากร
ปีประชากร±%
1970 47,124—    
1980 49,512+5.1%
1990 49,514+0.0%
2000 47,136−4.8%
2010 44,959−4.6%
2020 40,535−9.8%

ประวัติศาสตร์

[แก้]

พื้นที่อูโอซุในปัจจุบันเดิมเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นเอ็ตจู และมีผู้อยู่อาศัยมาตั้งแต่ยุคโจมงเป็นอย่างน้อย มีการค้นพบทองคำบนภูเขาในอูโอซุเมื่อประมาณ ค.ศ. 1394 ทำให้เกิดการหลั่งไหลของผู้คน และทำให้บริเวณรอบ ๆ ปราสาทมัตสึกูระเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคนี้ ต่อมาเมื่อปราสาทมัตสึกูระถูกทำลาย ก็มีการตั้งศูนย์กลางใหม่รอบปราสาทอูโอซุซึ่งอยู่ใกล้กับทะเล

ใน ค.ศ. 1582 เกิดเหตุการณ์การปิดล้อมอูโอซุขึ้นระหว่างกองกำลังที่เป็นพันธมิตรกับตระกูลอูเอซูงิ และกองกำลังของโอดะ โนบูนางะ ปราสาทอูโอซุถูกกองกำลังโอดะยึดครองเพียงสามวันก่อนที่โอดะจะถูกลอบสังหารในเหตุการณ์การล้อมฮนโนจิ ต่อมาในยุคเอโดะภายใต้รัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ อูโอซุเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นศักดินาคางะซึ่งปกครองโดยตระกูลมาเอดะ

อูโอซุได้รับการจัดตั้งเป็นเทศบาลเมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1889 อูโอซุเป็นจุดเริ่มต้นของเหตุการณ์การจลาจลข้าว ค.ศ. 1918 ก่อนที่จะแพร่ขยายไปทั้งประเทศ พื้นที่ทางตะวันตกส่วนใหญ่ของเมืองถูกทำลายด้วยเหตุเพลิงไหม้เมื่อ ค.ศ. 1943 อย่างไรก็ตาม เมืองนี้ไม่ได้รับความเสียหายในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง อูโอซุได้รับการยกฐานะเป็นนครเมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1952 และในเดือนกันยายน ค.ศ. 1956 ได้เกิดเหตุเพลิงไหม้ครั้งใหญ่ซึ่งทำลายอาคารหลายหลังในอูโอซุ

การเมืองการปกครอง

[แก้]

อูโอซุมีการปกครองรูปแบบนายกเทศมนตรี–สภา มีนายกเทศมนตรีมาจากการเลือกตั้งโดยตรง และมีสภานคร ซึ่งเป็นสภาเดี่ยว มีสมาชิกจำนวน 18 คน

การศึกษา

[แก้]

โรงเรียนที่สังกัดเทศบาลนครอูโอซุ ได้แก่ โรงเรียนประถม 10 แห่ง และโรงเรียนมัธยมต้น 2 แห่ง โรงเรียนที่สังกัดคณะกรรมการการศึกษาจังหวัดโทยามะ ได้แก่ โรงเรียนมัธยมปลาย 3 แห่ง นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนมัธยมปลายเอกชนอีก 1 แห่ง[ต้องการอ้างอิง]

การขนส่ง

[แก้]

อูโอซุใช้เวลาเดินทางจากโตเกียวโดยรถไฟ 3 ชั่วโมง และโดยรถยนต์ 4.5 ชั่วโมง และสามารถเดินทางด้วยรถไฟความเร็วสูงได้มาตั้งแต่เดือนมีนาคม ค.ศ. 2015 โดยใช้สายโฮกูริกุชิงกันเซ็งลงสถานีรถไฟโทยามะ และต่อรถไฟมายังอูโอซุ อูโอซุมีรถไฟโดยสารให้บริการ 2 สาย ได้แก่ รถไฟโทยามะชิโฮ สายหลัก และรถไฟสายอาอิโนะคาเซะโทยามะ ซึ่งจากสถานีรถไฟอูโอซุไปทางทิศตะวันตกทั้งสองสายนี้จะมีเส้นทางคู่กัน แต่ทางทิศตะวันออกจะมีเส้นทางแยกออกจากกัน

รถไฟ

[แก้]

ทางหลวง

[แก้]

เมืองพี่น้อง

[แก้]

บุคคลที่มีชื่อเสียง

[แก้]

สิ่งที่น่าสนใจในท้องถิ่น

[แก้]

สามสิ่งมหัศจรรย์ของอูโอซุ

[แก้]

มิราจ

[แก้]
มิราจเมืองอูโอซุ

เมื่อมองทิวทัศน์ของเมืองอูโอซุผ่านน้ำทะเลของอ่าวโทยามะ จะสามารถเห็นเป็นมิราจหรือภาพลวงตา โดยเฉพาะในช่วงฤดูใบไม้ผลิและฤดูหนาว มิราจในฤดูใบไม้ผลิสามารถเกิดขึ้นได้ในวันที่อากาศอบอุ่น แดดจ้า และลมสงบ ช่วงเดือนเมษายนถึงมิถุนายน สวนสนุกมิราจแลนด์ (ญี่ปุ่น: ミラージュランド) ซึ่งมีชิงช้าสวรรค์ขนาดใหญ่ เป็นหนึ่งในสถานที่ยอดนิยมในการชมปรากฏการณ์นี้

หมึกหิ่งห้อย

[แก้]

ในช่วงเช้าตรู่ ตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคมถึงต้นเดือนมิถุนายน หมึกหิ่งห้อย (ญี่ปุ่น: ホタルイカโรมาจิhotaruikaทับศัพท์: โฮตารุอิกะ) ตัวเมีย จะขึ้นสู่ผิวน้ำเพื่อวางไข่ คำว่าหมึกหิ่งห้อยมาจากแสงสีขาวอมฟ้าที่ส่องออกมาจากจุดต่าง ๆ บนลำตัว

ป่าไม้ที่ถูกฝัง

[แก้]

ป่าไม้ต้นซูงิหรือซีดาร์ญี่ปุ่น (Cryptomeria) ที่อยู่ตามแนวชายฝั่งถูกฝังจมใต้ทะเลเมื่อประมาณ 2,000 ปีที่แล้ว เหลือไว้ให้เห็นเพียงลำต้นเท่านั้น ในบริเวณนี้จะเป็นอนุสรณ์สถานทางธรรมชาติแห่งชาติ และมีพิพิธภัณฑ์ที่สามารถเข้าชมได้

อื่น ๆ

[แก้]
ซากปราสาทมัตสึกูระ

สถานที่ท่องเที่ยวอื่น ๆ ในอูโอซุ ได้แก่ พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำอูโอซุ, น้ำพุร้อนคินทาโร (ญี่ปุ่น: 金太郎温泉), โรงกีฬาอาริโซะโดม, หอวัฒนธรรมนีกาวะ, พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านทางประวัติศาสตร์อูโอซุ, ทะเลสาบอิเกจิริ, น้ำตกฮิราซาวะ และแหล่งปราสาทมัตสึกูระ

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "人口移動調査" [การสำรวจการเคลื่อนย้ายประชากร]. とやま統計ワールド (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2024.
  2. Uozu city introduction(ในภาษาญี่ปุ่น)
  3. ข้อมูลภูมิอากาศอูโอซุ
  4. 観測史上1~10位の値(年間を通じての値). JMA. สืบค้นเมื่อ March 15, 2022.
  5. 気象庁 / 平年値(年・月ごとの値). JMA. สืบค้นเมื่อ March 15, 2022.
  6. สถิติประชากรอูโอซุ
  7. "International Exchange". List of Affiliation Partners within Prefectures (ภาษาอังกฤษ). Council of Local Authorities for International Relations (CLAIR). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 February 2012. สืบค้นเมื่อ 21 November 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]