ข้ามไปเนื้อหา

เกลือ (เคมี)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ผลึกเกลือ เมื่อส่องขยาย (เฮไลต์/เกลือแกง)

ในทางเคมี เกลือ เป็นสารประกอบไอออนิก ประกอบด้วยแคตไอออนและแอนไอออน ทำให้ผลผลิตที่ได้เป็นกลาง (ประจุสุทธิเป็นศูนย์) ไอออนเหล่านี้อาจเป็นอนินทรีย์ (Cl) กับอินทรีย์ (CH3COO) หรือไอออนอะตอมเดี่ยว (F) กับไอออนหลายอะตอม (SO42−) ก็ได้ เกลือจะเกิดขึ้นได้เมื่อกรดและเบสทำปฏิกิริยากัน

สมบัติ

[แก้]

สี

[แก้]

เกลือส่วนมากมีลักษณะใสและไม่มีสี ในหลายกรณี สีและความใสจะถูกกำหนดโดยขนาดของรูปผลึก

เกลือมีสีก็มี ตัวอย่างเช่น

  • สีเหลือง (โซเดียมโครเมต)
  • สีส้ม (โพแทซเซียมไดโครเมต)
  • สีฟ้า (คอปเปอร์ซัลเฟตเพนตะไฮเดรต,เฟอร์ริกเฮกซะไซยาโนเฟอร์เรต)
  • สีม่วง (โฟแทซเซียมเปอร์แมงกาเนต)
  • สีเขียว (นิคเกิลคลอไรด์เฮกซะไฮเดรต)
  • สีขาว (โซเดียมคลอไรด์)
  • ไม่มีสี (แมกนีเซียมซัลเฟตเฮปตะไฮเดรต)และ
  • สีดำ (แมงกานีสไดออกไซด์)

แร่ธาตุและรงควัตถุส่วนใหญ่ รวมไปถึง สีย้อมอินทรีย์เป็นเกลือ สีของเกลือแต่ละชนิด ขึ้นกับการคงอยู่ของอิเล็กตรอนที่ไม่เกิดพันธะใน d-orbital ของธาตุโลหะทรานซิชัน

รสชาติ

[แก้]

เกลือที่แตกต่างกันสามารถล้วงเอารสชาติออกมาได้ทั้ง 5 รสพื้นฐาน ตัวอย่างเช่น รสเค็ม (โซเดียมคลอไรด์), รสหวาน (เลตไดอะซิเตต), รสเปรี้ยว(โพแทซเซียม ไบทาร์เทต), รสขม (แมกนีเซียมซัลเฟต) และรสอูมามิ (โมโนโซเดียมกลูตาเมต)

กลิ่น

[แก้]

เกลือของกรดแก่และเบสแก่ เป็นเกลือที่ไม่สามารถระเหยได้ และไม่มีกลิ่น แต่เกลือของกรดอ่อนและเบสอ่อน สามารถเกิดกลิ่นได้หลังจากกระบวนการการเกิดคู่กรด-เบส (เช่นสารประกอบอะซิเตต สามารถให้อะซิเตตไอออน (น้ำส้มสายชู) หรือ สารประกอบไซยาไนด์ สามารถให้ไฮโดรเจนไซยาไนด์ (อัลมอนด์)) ของไอออนประกอบ กระบวนการนี้เกิดขึ้นอย่างช้าๆ และส่วนใหญ่จะถูกเร่งโดยกระบวนการไฮโดรไลซิสอันเกิดจากการมีน้ำหรืออยู่ในสภาพสารละลาย

การเรียกชื่อ

[แก้]

ชื่อของเกลือเริ่มด้วยการเรียกชื่อของแคทไอออน (เช่น โซเดียม หรือ แอมโมเนียม) ตามด้วยชื่อของแอนไอออน (เช่นคลอไรด์ หรือ อะซิเตต) เกลือมักถูกกล่าวถึงโดยชื่อของแคทไอออนเพียงอย่างเดียว (เช่น เกลือโซเดียม หรือ เกลือแอมโมเนียม) หรือเรียกโดยชื่อของแอนไอออน (เช่น เกลือคลอไรด์ หรือ เกลืออะซิเตต)
แคทไอออนพื้นฐานที่เป็นองค์ประกอบสามัญ ประกอบด้วย:


แอนไอออนพื้นฐานที่เป็นองค์ประกอบสามัญ ประกอบด้วย:

การสังเคราะห์

[แก้]

เกลือสามารถสังเคราะห์จากปฏิกิริยาเคมีระหว่าง:

  • กรดและเบส เช่น NH3 + HCl → NH4Cl
  • โลหะและกรด เช่น Mg + H2SO4 → MgSO4
  • โลหะและอโลหะ เช่น Ca + Cl2 → CaCl2
  • เกลือสามารถเกิดจากกระบวนการการสลับหมู่ของสารประกอบเกลือ 2 ประเภท เกิดเป็นสารประกอบเกลือใหม่ที่ไม่ละลายน้ำ เช่น Pb(NO3)2(aq) + Na2SO4(aq) → PbSO4(s) + 2 NaNO3(aq

อ้างอิง

[แก้]