ข้ามไปเนื้อหา

เควสชันนิง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ธงไพรด์ของเควสชันนิง

เควสชันนิง (อังกฤษ: questioning) เป็นรสนิยมทางเพศ อัตลักษณ์ทางเพศ สถานะเพศ หรือเป็นทั้งสามอย่าง[1][2] เป็นกระบวนการสำรวจตนเองโดยผู้ที่อาจไม่แน่ใจ ยังสำรวจ หรือกังวลเกี่ยวกับการใช้คำกำกับทางสังคมกับตนเองด้วยเหตุผลต่าง ๆ[3][4] บางครั้งมีการเพิ่มตัวอักษร "Q" ต่อท้ายคำย่อ LGBT (เลสเบียน เกย์ ไบเซ็กชวล และทรานเจนเดอร์ ) อักษร "Q" สามารถหมายถึงทั้งเควียร์ (queer) หรือเควสชันนิง[5] [6]

รสนิยมทางเพศ อัตลักษณ์ทางเพศ หรือสถานะเพศไม่ตรงกันเสมอไป ยกตัวอย่างเช่น หากบุคคลหนึ่งระบุว่าตนเองเป็นเฮเทโรเซ็กชวล (ผู้มีการดึงดูดทางเพศต่อเพศตรงข้าม) เขาอาจไม่เพียงดึงดูดเพศตรงข้าม แต่มีปฏิสัมพันธ์ทางเพศกับคนที่เป็นเพศเดียวกันโดยไม่จำเป็นต้องระบุว่าตนเองเป็นไบเซ็กชวล[7] ความเข้าใจที่ว่าคนคนหนึ่งไม่จำเป็นต้องใช้คำกำกับสภาวะเพศหรือเพศวิถีใด ๆ กับตนเองนั้นค่อนข้างโดดเด่นในระดับสาธารณะและสังคมในยุคปัจจุบัน เช่นเดียวกับสภาวะเพศและความลื่นไหลทางเพศซึ่งมีการพูดถึงและยอมรับอย่างเปิดเผยมากขึ้นในสังคมปัจจุบัน[8] บุคคลที่ไม่ระบุว่าตนเองเป็นชาย หญิง ทรานเจนเดอร์ เฮเทโรเซ็กชวล โฮโมเซ็กชวล ไบเซ็กชวล เอเซ็กชวล หรือรู้สึกว่าเพศวิถีลื่นไหล อาจเรียกตนเองว่าเป็นเพศเป็นกลาง, เจนเดอร์เควียร์, นอนไบนารี หรือเอเจ็นเดอร์[9]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Webber, Carlisle K. (2010). Gay, Lesbian, Bisexual, Transgender and Questioning Teen Literature: A Guide to Reading Interests. Libraries Unltd Inc., ISBN 978-1-59158-506-0
  2. Bahrampour, Tara (April 4, 2005). Silence Speaks Volumes About Gay Support. Washington Post
  3. Martin, Hillias J.; Murdock, James R. (2007). Serving lesbian, gay, bisexual, transgender, and questioning teens: a how-to-do-it manual for librarians. Neal-Schuman Publishers, ISBN 978-1-55570-566-4
  4. How to Cope With Your Sexual Identity, TeenIssues
  5. Grisham, Lara (June 1, 2015). What does the Q In LGBTQ stand for? USA Today
  6. Petrow, Steven (May 23, 2014). Civilities: What does the acronym LGBTQ stand for? Washington Post
  7. Spinelli, Ernesto (2014). "Being Sexual: Human Sexuality Revisited" (PDF). Existential Analysis: Journal of the Society for Existential Analysis. 25 (1): 17–42. แม่แบบ:Gale.
  8. Diamond, Lisa M.; Butterworth, Molly (September 2008). "Questioning Gender and Sexual Identity: Dynamic Links Over Time". Sex Roles. 59 (5–6): 365–376. doi:10.1007/s11199-008-9425-3.
  9. Gevisser, Mark (23 March 2015). "Engendered". The Nation.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]