เยื่อเพีย
หน้าตา
เยื่อเพีย หรือ เยื่อหุ้มสมองชั้นใน (Pia mater) | |
---|---|
แผนภาพแสดงภาพตัดขวางของไขสันหลังและเยื่อหุ้ม (ที่ขอบ เยื่อดูราแทนด้วยเส้นสีดำ, เยื่ออะแร็กนอยด์แทนด้วยเส้นสีน้ำเงิน และเยื่อเพียแทนด้วยเส้นสีแดง) | |
ตัวระบุ | |
MeSH | D010841 |
TA98 | A14.1.01.301 |
TA2 | 5405 |
FMA | 9590 |
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์ |
เยื่อหุ้มสมองชั้นใน หรือ เยื่อเพีย (อังกฤษ: pia mater; มาจากภาษาละตินซึ่งแปลมาจากภาษาอาหรับอีกที แปลว่า "มารดาที่อ่อนโยน") เป็นชั้นเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลังที่อยู่ในสุด
เยื่อเพียมีลักษณะบาง คล้ายกับตาข่าย หุ้มอยู่บนผิวทั้งหมดของสมอง และคลุมแนบไปบนร่องของคอร์เท็กซ์ของสมอง และมีส่วนเชื่อมกับอีเพนไดมา (ependyma) ซึ่งบุรอบโพรงสมองเพื่อสร้างเป็นคอรอยด์ เพล็กซัส (choroid plexus) ซึ่งทำหน้าที่ในการผลิตน้ำหล่อสมองไขสันหลัง (cerebrospinal fluid)
ในไขสันหลัง เยื่อเพียจะติดกับเยื่อดูรา (dura mater) โดยโครงสร้างที่เรียกว่า เดนติคูลาร์ ลิกาเมนท์ (denticular ligaments) ผ่านเยื่ออะแร็กนอยด์ (arachnoid membrane)
เยื่อเพียเจริญมาจากเซลล์นิวรัล เครสท์ (neural crest)
ภาพอื่นๆ
[แก้]-
เยื่อหุ้มสมองของระบบประสาทกลาง
-
น้ำหล่อสมองไขสันหลัง (cerebrospinal fluid)
-
ภาพตัดแบ่งหน้าหลังของส่วนยื่นด้านล่างของโพรงสมองข้าง
-
แผนภาพแสดงภาพตัดผ่านด้านบนของกะโหลกศีรษะ แสดงเยื่อต่างๆ ของสมอง
-
ภาพตัดผ่านหนังศีรษะ