ข้ามไปเนื้อหา

เอเอสอาร์ (รถดีเซลราง)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอเอสอาร์
รถดีเซลรางสปรินเตอร์ที่สถานีรถไฟบ้านพลูตาหลวง
ประจำการพ.ศ. 2534 - ปัจจุบัน
ผู้ผลิตบริติช เรล เอนจิเนียริ่ง ลิมิเต็ด
ผลิตที่ดาร์บี ลินเชิร์ช เลน เวิร์กส์
ตระกูลสปรินเทอร์
เข้าประจำการพ.ศ. 2534
จำนวนที่ผลิต20 คัน
จำนวนในประจำการ2501 2503 2505 2508 (มีห้องขับ)
2115 2120 (ไม่มีห้องขับ)
จำนวนที่เก็บรักษาไว้3 คัน (2509 2118 2512)
จำนวนที่ปลดระวาง11 คัน
หมายเลขตัวรถ2501-2512 (ไม่มีห้องขับ)
2113-2120 (มีห้องขับ)
ความจุผู้โดยสาร64 ที่นั่ง (มีห้องขับ)
76 ที่นั่ง (ไม่มีห้องขับ)
ผู้ให้บริการการรถไฟแห่งประเทศไทย
โรงซ่อมบำรุงโรงรถดีเซลรางกรุงเทพ
สายที่ให้บริการสายตะวันออก
คุณลักษณะ
ความยาว23.21 m (76 ft 2 in)
ความกว้าง2.7 m (8 ft 10 in)
จำนวนประตู2 ประตู
ความเร็วสูงสุด120 km/h (75 mph)
น้ำหนัก37.09 ตัน (81,800 ปอนด์) (มีห้องขับ)
37.06 ตัน (81,700 ปอนด์) (ไม่มีห้องขับ)
น้ำหนักกดเพลา9.73 ตัน (21,500 ปอนด์) (มีห้องขับ)
9.43 ตัน (20,800 ปอนด์) (ไม่มีห้องขับ)
ระบบส่งกำลังDiesel Hydraulic Multiple Unit
เครื่องยนต์Cummins NTA855-R1
กำลังขับเคลื่อน285 แรงม้า ที่ 2,100 รอบต่อนาที
ชุดส่งกำลังVoith T211RZ
แหล่งจ่ายไฟPerkins 1006-6TG ที่ 2100 รอบ/นาที
ระบบปรับอากาศWestinghouse RA102 76,000 BTU
แคร่ล้อ2-1A
ระบบเบรกลมอัด
ชนิดขอพ่วงJanney coupler
มาตรฐานทางกว้าง1,000 mm (3 ft 3 38 in)
รถดีเซลรางสปรินเตอร์ ทำขบวนรถด่วนพิเศษที่3 กรุงเทพ-สวรรคโลก-ศิลาอาสน์
รถดีเซลรางสปรินเตอร์ที่สถานีรถไฟพัทยา

เอเอสอาร์ (อังกฤษ: Air conditioner Sprinter Railcar) หรือ รถดีเซลรางสปรินเตอร์ (อังกฤษ: Sprinter Diesel Railcar) เป็นรถดีเซลรางปรับอากาศของการรถไฟแห่งประเทศไทย ใช้สำหรับการทำขบวนรถโดยสาร และ ขบวนรถด่วนพิเศษดีเซลราง สั่งซื้อจากบริษัทบริติช เรล เอนจิเนียริ่ง ลิมิเต็ด สหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 มีต้นแบบมาจากบริติช เรล คลาส 158 ที่ใช้งานในสหราชอาณาจักร[1][2][3]

รถดีเซลรางสปรินเตอร์ มีชื่อรุ่นจากโรงงานว่า คลาส 158/T โดยการรถไฟแห่งประเทศไทยได้นำชื่อสปรินเตอร์ (Sprinter) มาจากชื่อตระกูลรถดีเซลรางของประเทศอังกฤษ ที่มีความหมายว่า "นักวิ่ง" ซึ่งสื่อความหมายได้ถึงความรวดเร็ว มาใช้ตั้งเป็นชื่อเรียกรุ่น รถดีเซลรางสปรินเตอร์ยังมักถูกเรียกว่า "ยอดนักวิ่ง" อีกด้วย

การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้เปิดตัว รถดีเซลรางสปรินเตอร์ เป็นรถด่วนพิเศษดีเซลรางครั้งแรก เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2534 ในชื่อ รถด่วนพิเศษ "สปรินเตอร์" สปรินเตอร์ขบวนแรกของไทย คือ ขบวนที่ 907/908 กรุงเทพ–เชียงใหม่–กรุงเทพ ออกให้บริการวันแรก 11 มิถุนายน พ.ศ. 2534 โดยวิ่งให้บริการด้วยความเร็วสูงสุด 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งเป็นความเร็วสูงสุดสถิติใหม่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย และถือเป็นรถไฟที่วิ่งเร็วที่สุดในไทยในขณะนั้นด้วย

ปรับปรุงใหม่

[แก้]

เมื่อปี พ.ศ. 2555 การรถไฟแห่งประเทศไทยได้นำรถดีเซลรางสปรินเตอร์ จำนวน 3 คัน มาปรับปรุงใหม่ทั้งหมด เป็นจำนวน 1 ชุด ภายใต้โครงการ Sprinter Refurbish หรือการปรับปรุงใหม่ทั้งคัน

  • ได้แก่หมายเลข 2509 , 2118 และ 2512 มีการปรับปรุงด้านหน้ารถแบบใหม่ โดยใช้ไฟหน้าของรถบรรทุกวอลโวมาใช้แทนของเดิม มีการปรับปรุงระบบช่วงล่าง ระบบขับเคลื่อน ระบบไฟฟ้าภายในรถ และชุดรถนี้ ไม่สามารถพ่วงรวมกับชุดรถปกติได้ เนื่องจากมีการเปลี่ยนระบบไฟฟ้าภายในรถใหม่


เมื่อปี พ.ศ.2567 การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ทำการว่าจ้างให้บริษัทเอกชน ติดระบบ European Train Control System (ETCS) ให้กับหมายเลข กซข.ป.2505 และ กซข.ป.2508 ซึ่งนั่นก็คือชุดรถ 2505,2120 และ 2508

ปัญหาด้านการใช้งานและการซ่อมบำรุง

[แก้]

รถดีเซลรางสปรินเตอร์เป็นรถดีเซลรางที่ทำความเร็วได้ถึง 120 กิโลเมตร/ชั่วโมง จนเป็นสาเหตุทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง และมักจะเป็นอุบัติเหตุรุนแรง เนื่องจากมีจุดตัดทางข้ามทางรถไฟที่ไม่มีเครื่องกั้นหรือทางลักผ่านหลายจุด และผู้ขับขี่พาหนะทางถนนไม่เคารพกฎจราจร และเป็นเหตุทำให้ตัวรถเกิดความเสียหายเป็นอย่างมากเมื่อเกิดอุบัติเหตุ

แต่รถดีเซลรางสปรินเตอร์ เป็นรถที่ใช้วัสดุตัวถังเป็นเหล็กกล้าร่วมกับไฟเบอร์กลาส ทำให้การซ่อมแซมตัวถังยากกว่าตัวถังแบบเหล็กกล้าหรือสแตนเลสสตีล รวมไปถึงระบบต่าง ๆ ที่สลับซับซ้อน ยากต่อการซ่อมบำรุง เป็นสาเหตุให้มีรถดีเซลรางสปรินเตอร์หลายคันที่ยังคงจอดรอการซ่อมบำรุง ไม่ได้ถูกนำมาใช้งานต่อ หรือมีอายุการใช้งานที่น้อยกว่าคันอื่น ๆ

ขบวนรถที่ให้บริการ

[แก้]
ปัจจุบัน
  • ขบวนรถเร็วที่ 997/998 กรุงเทพ–จุกเสม็ด–กรุงเทพ
  • ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 3/4 กรุงเทพ–สวรรคโลกศิลาอาสน์–กรุงเทพ (ปัจจุบันงดให้บริการชั่วคราว)
อดีต
  • ขบวนรถจัดเฉพาะที่ 981/982 บางซื่อ–บางซ่อน–บางซื่อ (ยกเลิกการเดินรถแล้ว เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2560)
  • ขบวนรถพิเศษนำเที่ยวที่ 987/988 กรุงเทพ–สวนนงนุช–กรุงเทพ (ยกเลิกการเดินรถ และเปลี่ยนเป็นขบวนรถเร็วที่ 997/998 โดยขยายเส้นทางเป็นกรุงเทพ–บ้านพลูตาหลวง–กรุงเทพ ปัจจุบันก็คือเส้นทาง กรุงเทพ–จุกเสม็ด–กรุงเทพ)
  • ขบวนรถด่วนพิเศษดีเซลรางปรับอากาศเลขที่ขบวน 9/10 กรุงเทพ–เชียงใหม่–กรุงเทพ
  • ขบวนรถด่วนพิเศษ (ไม่ทราบเลขขบวน) กรุงเทพ–หนองคาย–กรุงเทพ เปิดการเดินรถวันที่ 22–23 กรกฎาคม พ.ศ. 2534 (ยกเลิกการเดินรถแล้ว)
  • ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 21/22 กรุงเทพ–อุบลราชธานี–กรุงเทพ (เคยวิ่งแทนรถดีเซลรางแดวูใน พ.ศ. 2551)
  • ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 39/40 กรุงเทพ–สุราษฎร์ธานี–กรุงเทพ (เคยวิ่งแทนรถดีเซลรางแดวูใน พ.ศ. 2551)
  • ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 43/44 กรุงเทพ–สุราษฎร์ธานี–กรุงเทพ (ปัจจุบันใช้รถดีเซลรางแดวูทำขบวนแทน)
  • ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 5/6 กรุงเทพ–พิษณุโลก–กรุงเทพ (ยกเลิกการเดินรถแล้ว)
  • ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 7/8 กรุงเทพ–สวรรคโลก–กรุงเทพ (ยกเลิกการเดินรถแล้ว)
  • ขบวนรถด่วนที่ 71/74 กรุงเทพ–ศรีสะเกษ–กรุงเทพ (ปัจจุบันใช้รถดีเซลรางทีเอชเอ็น, เอ็นเคเอฟ และเอทีอาร์ ทำขบวน และขยายเส้นทางเป็นกรุงเทพ–อุบลราชธานี–กรุงเทพ โดยยกเลิกขบวนที่ 74 และเปลี่ยนเลขขบวนรถเที่ยวกลับเป็น 72)
  • ขบวนรถชานเมืองที่ 367/368 กรุงเทพ–ฉะเชิงเทรา–กรุงเทพ (ปัจจุบันใช้รถจักรพ่วงรถโดยสาร บชสชั้น3 ทำขบวนแทน)
  • ขบวนรถชานเมืองที่ 389/390 กรุงเทพ–ฉะเชิงเทรา–กรุงเทพ (ปัจจุบันใช้รถดีเซลรางทีเอชเอ็น, เอ็นเคเอฟ ทำขบวน)
  • ขบวนรถชานเมืองที่ 391/388 กรุงเทพ–ฉะเชิงเทรา–กรุงเทพ (ปัจจุบันใช้รถดีเซลรางทีเอชเอ็น, เอ็นเคเอฟ ทำขบวน)[4]
  • ขบวนฟีดเดอร์ที่ 1171/1172 กรุงเทพ–พระจอมเกล้า–กรุงเทพ (ยกเลิกการเดินรถแล้ว)

อ้างอิง

[แก้]
  1. Thai Express The Railway Magazine issue 1082 June 1991 page 383
  2. State Railway of Thailand 158s Modern Locomotives Illustrated issue 190 August 2011 pages 78-80
  3. More than just a Sprinter Today's Railways UK issue 148 April 2014
  4. http://pantip.com/topic/31921860

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]