ข้ามไปเนื้อหา

แซด (เพลงมารูนไฟฟ์)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
"แซด"
เพลงโดยมารูนไฟฟ์
จากอัลบั้มโอเวอร์เอกซ์โพสด์
บันทึกเสียง2012; คอนเวย์สตูดิโอส์ (ลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย)
แนวเพลงป็อป
ความยาว3:14
ค่ายเพลงA&M/Octone
ผู้ประพันธ์เพลง
โปรดิวเซอร์
  • โนอาห์ "เมลบ็อกซ์" พาสโซวอย
  • แอดัม เลอวีน
  • เจมส์ วาเลนไทน์

"แซด" (อังกฤษ: Sad) เป็นเพลงลำดับที่เก้าของวงดนตรีอเมริกัน มารูนไฟฟ์ จากสตูดิโออัลบั้มที่สี่ โอเวอร์เอกซ์โพสด์ (2012) เพลงแต่งโดยแอดัม เลอวีน และเจมส์ วาเลนไทน์ พวกเขาผลิตเพลงร่วมกันกับโนอาห์ "เมลบ็อกซ์" พาสโซวอย วาเลนไทน์เริ่มแต่งเพลงด้วยเปียโนที่บ้านของเขา ก่อนจะนำทำนองไปเสนอให้เลอวีน ซึ่งเป็นผู้เขียนเนื้อเพลงและเขาถือว่าเป็นเพลงที่เป็นส่วนตัวมากที่สุดในอัลบั้ม "แซด" เป็นเพลงเปียโนบัลลาดที่คล้ายคลึงกับเพลงของนักร้องนักแต่งเพลงชาวอังกฤษ อะเดล เพลงได้รับคำวิจารณ์คละกันจากนักวิจารณ์เพลง นักวิจารณ์บางกลุ่มถือว่าเป็นเพลงที่ดีเยี่ยมเพลงหนึ่งในอัลบั้มโอเวอร์เอกซ์โพสด์ แต่นักวิจารณ์อีกกลุ่มตำหนิเรื่องเสียงร้องของแอดัม หลังจากอัลบั้มออกจำหน่าย เพลงขึ้นอันดับที่ 12 บนชาร์ตซิงเกิลในประเทศเกาหลีใต้ เนื่องจากยอดดาวน์โหลดสูง

เบื้องหลังและการผลิต

[แก้]
มันค่อนข้างเจ๋งและตั้งแต่คอร์ดจนถึงเวิร์สและผมแค่ร้องทำนองนั้นออกมา ผมร้องทำนองนั้นและมันไม่มีคำใด ๆ เลย มันเป็นแค่ทำนอง ผมอัดเสียงมันในโทรศัพท์และไม่ได้คิดถึงมันด้วย

—วาเลนไทน์พูดถึงการทำเพลง "แซด"[1]

"แซด" แต่งโดยนักร้องนำ แอดัม เลอวีน ร่วมกับมือกีตาร์ วาเลนไทน์[2] วาเลนไทน์กล่าวว่าขั้นตอนการทำเพลงเริ่มขึ้นตอนเช้า "ก่อนเขารู้สึกตื่น" เขากำลังฝันถึงห้องนั่งเล่น กำลังเล่นเปียโนเป็นทำนองเพลงนี้อยู่[1] เขากล่าวต่อไปว่า มันเจ๋งและเขาชอบตั้งแต่คอร์ดเพลงจนถึงท่อนเวิร์ส[1] ต่อมาเขาไปที่สตูดิโอที่เลอวีนคิดแนวคิดเพลงได้ รวมถึงท่อนคอรัส 2 ท่อน[1] เพลงผลิตโดยเลอวีน และวาเลนไทน์ ร่วมกับโนอาห์ "เมลบ็อกซ์" พาสโซวอย[2] ในบทสัมภาษณ์กับเอ็มทีวีนิวส์ เลอวีนบอกว่า "แซด" เป็นเพลงที่เป็นส่วนตัวที่สุดในอัลบั้ม แต่ไม่ได้เผยแรงบันดาลใจใด ๆ เกี่ยวกับเพลง[3] เพลงอัดที่คอนเวย์สตูดิโอส์ในลอสแอนเจลิส โดยโนอาห์ พาสโซวอย ขณะที่อีริก อายแลนส์เป็นผู้ช่วยปรับแต่งเสียง[2] เซอร์บัน เกเนีย ผสมเสียงที่มิกซ์สตาร์สตูดิโอส์ในเวอร์จิเนียบีช ร่วมกับจอห์น เฮนส์ และฟิล ซีฟอร์ด ซึ่งทำหน้าที่เป็นวิศวกรผสมเสียงและผู้ช่วยผสมเสียงตามลำดับ[2]

การจัดวางองค์ประกอบเพลง

[แก้]

"แซด" เป็นเพลงเปียโนบัลลาด ความยาว 3 นาที 14 วินาที[4][5] แต่งด้วยคีย์อีไมเนอร์ในอัตราจังหวะ 4 4 เทมโป 116 ครั้งต่อนาที[6] เสียงร้องของเลอวีนกว้างตั้งแต่โน้ตต่ำ D4 ถึงโน้ตสูง G5[6] "แซด" เน้นความโดดเด่นที่โทนเสียงของเลอวีนที่เต็มไปด้วยความรู้สึก[7] นิก เลอวีนจากนิตยสารเอ็นเอ็มอีเรียกเพลงนี้ว่า "เพลงที่ร้องคร่ำครวญเลียนแบบอะเดล" (Adele-apeing weepie)[8] เนต ชิเนน จากหนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทมส์ ให้ความเห็นคล้ายกัน โดยเขาเปรียบเทียบกับซิงเกิล "ซัมวันไลก์ยู" ของอะเดล[9] ริก ฟลอริโน จากบริษัทอาร์ทิสต์ไดเรกต์ เขียนว่ามัน "สะท้อนให้นึกถึงเอลตัน จอห์นในเรื่องขอบข่ายมหากาพย์ และแสดงให้เห็นว่าเลอวีนเปราะบางได้เพียงใด"[10] ด้านเนื้อเพลง "แซด" เป็นเพลงที่เลอวีนประกาศจุดจบความสัมพันธ์และการเลิกราด้วยความเจ็บปวด[11] แจ็กกี สวิฟต์ กล่าวว่า เพลงนี้มีแรงบันดาลใจจากการเลิกรากับแอน เวียลิตซีนา นางแบบตราสินค้าวิกตอเรียส์ซีเคร็ต[12] เพลงเริ่มด้วยเนื้อร้องว่า "Man, it's been a long day stuck thinking 'bout it." (เป็นวันที่ยาวนานที่คิดแต่เรื่องนี้)[6] ท่อนคอรัสเรียบง่ายและมีท่อนที่เลอวีนร้องว่า "I'm so Sad" (ฉันเศร้าเหลือเกิน)[9]

การตอบรับ

[แก้]

เพลงได้รับการตอบรับทั่วไปจากนักวิจารณ์แบบคละกัน วิเวกกา แนร์ จากดิเออร์เบินไวร์ และซูซาน เบิร์น จาก RTÉ.ie เรียกว่าเพลงนี้เป็นเพลงที่โดดเด่นจากอัลบั้มโอเวอร์เอกซ์โพสด์[7][13] แจ็กกี สวิฟต์ จากหนังสือพิมพ์เดอะซัน ติดป้ายเพลง "แซด" ร่วมกับ "บิวตีฟูลกูดบาย" และ "เลิฟซัมบอดี" ว่าเป็นชั่วขณะที่ทำให้เกิดอารมณ์ในอัลบั้ม[12] อเล็กซ์ ไล จากเว็บไซต์คอนแทกต์มิวสิก.คอม เรียกเพลงนี้ว่า "พอทนฟังได้" (bearable)[14] โรเบิร์ต คอปซีย์ จากเว็บไซต์ดิจิทัลสปาย กล่าวว่า เพลงขาดความซื่อสัตย์และอารมณ์ดิบอย่างซิงเกิล "ชีวิลบีเลิฟด์"[5] อีแวน ซอว์ดี จากนิตยสารป็อปแมตเทอส์เรียกเพลงว่าเป็นชั่วขณะที่ "คำนวณมาอย่างไร้ความรู้สึก" จากอัลบั้มโอเวอร์เอกซ์โพสด์ และเขียนต่อไปว่า เพลงเข้ากับเสียงของเลอวีนได้ไม่ดีนัก เขามองว่าเสียงของเลอวีนฟังดู "โอ้อวด" มากเกินที่จะทำให้ท่อนคอรัสเพลง "แซด" ฟังดูเป็นของจริง[15] บรูซ เดนนิล จากหนังสือพิมพ์เดอะซิติเซน วิจารณ์ถึงเสียงของเลอวีนคล้าย ๆ กัน และเขียนว่าเขา "ไม่ได้ปรับเสียงร้องให้เปลี่ยนอารมณ์ มันสูงและแหลมเท่ากับเพลงหลายเพลงที่เรียบเรียงมาอย่างสมบูรณ์กว่า"[16] ร็อบ เชฟฟิลด์ จากนิตยสารโรลลิงสโตนติดป้ายเพลง "แซด" ว่าเป็น "ชั่วขณะที่น่าเบื่อ" ในอัลบั้มที่มีชื่อเพลงเป็น "จำอวด" (droll)[17] เนต ชิเนน จากหนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทมส์ วิจารณ์ท่อนคอรัสของเพลง และกล่าวว่า "ไม่มีใครอยากเพิ่มระดับท่อนเนื้อเพลง ในระหว่างการแต่งเพลง ไม่มีเครื่องมือใดที่สมบูรณ์แบบ"[9]


ผู้มีส่วนร่วมทำเพลง

[แก้]
การบันทึกเสียงและผสมเสียง
  • บันทึกเสียงที่คอนเวย์สตูดิโอส์ ลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย ผสมเสียงที่มิกซ์สตาร์สตูดิโอส์ เวอร์จิเนียบีช
บุคลากร

คณะทำงานปรับปรุงจากโน้ตในอัลบั้มโอเวอร์เอกซ์โพสด์ สังกัดเอแอนด์เอ็ม/อ็อกโทนเรเคิดส์[2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Rosen, Steven (November 20, 2012). "Maroon 5's James Valentine: 'Adam Levine Is An Amazing Lead Player'". Ultimate Guitar Archive. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-29. สืบค้นเมื่อ February 6, 2013.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Overexposed (inlay cover). Maroon 5. A&M/Octone Records. 2012.{{cite AV media notes}}: CS1 maint: others (ลิงก์)
  3. "'Sad' Is Adam Levine's Most Personal Song On Overexposed". MTV News. Viacom. June 26, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-09. สืบค้นเมื่อ February 6, 2013.
  4. "Overexposed by Maroon 5". iTunes Store (US). Apple. สืบค้นเมื่อ January 21, 2013.
  5. 5.0 5.1 Copsey, Robert (June 25, 2012). "Maroon 5: 'Overexposed' - Album review". Digital Spy. Nat Mags. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-17. สืบค้นเมื่อ February 8, 2013.
  6. 6.0 6.1 6.2 "Maroon 5 - Sad". Musicnotes.com Universal Music Publishing Group. สืบค้นเมื่อ January 23, 2013.
  7. 7.0 7.1 Byrne, Suzanne (June 30, 2012). "Maroon 5 - Overexposed". RTÉ.ie. Raidió Teilifís Éireann. สืบค้นเมื่อ February 8, 2013.
  8. Levine, Nick (June 22, 2012). "Maroon 5 - 'Overexposed'". NME. IPC Media. สืบค้นเมื่อ February 8, 2013.
  9. 9.0 9.1 9.2 Chinen, Nate (July 9, 2012). "Albums From Clare and the Reasons and Maroon 5". The New York Times. The New York Times Company. สืบค้นเมื่อ January 26, 2013.
  10. "Maroon 5 "Overexposed" Album Review — 5 out of 5 stars". Artistdirect. Peer Media Technologies. June 21, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-22. สืบค้นเมื่อ February 8, 2013.
  11. Arnold, Chuck (June 26, 2012). "Maroon 5's New Album Overexposed: Solid, Not Superior". People. Time Inc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-13. สืบค้นเมื่อ January 24, 2012.
  12. 12.0 12.1 Swift, Jacqui (June 29, 2012). "'It used to be uncool to like us but now it's OK'". The Sun. News International. สืบค้นเมื่อ February 8, 2013.
  13. Nair, Vivecka (July 18, 2012). "Rebirth of Maroon 5 with Overexposed". The UrbanWire. TriMedia Publishing. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-09. สืบค้นเมื่อ February 9, 2013.
  14. Lai, Alex. "Review of Overexposed Album by Maroon 5". Contactmusic.com. สืบค้นเมื่อ February 9, 2013.
  15. Sawdey, Evan (July 10, 2012). "Maroon 5: Overexposed". PopMatters. สืบค้นเมื่อ February 9, 2013.
  16. Dennill, Bruce (December 12, 2012). "Maroon 5 – Overexposed - Slow transformation". The Citizen. Caxton/CTP. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-21. สืบค้นเมื่อ February 9, 2013.
  17. Sheffield, Rob (June 26, 2012). "Overexposed - Album Reviews". Rolling Stone. Jann Wenner. สืบค้นเมื่อ January 28, 2013.