แมงกะพรุนถ้วย
แมงกะพรุนถ้วย | |
---|---|
แมงกะพรุนพระจันทร์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Cnidaria |
ชั้น: | Scyphozoa |
อันดับ: | Semaeostomeae |
วงศ์: | Ulmaridae |
สกุล: | Aurelia Lamarck, 1816 |
ชนิด | |
| |
ชื่อพ้อง[1] | |
|
แมงกะพรุนถ้วย หรือ แมงกะพรุนพระจันทร์ เป็นสัตว์น้ำไม่มีกระดูกสันหลังจำพวกแมงกะพรุนชนิดหนึ่ง อยู่ในสกุล Aurelia
มีรูปร่างคล้ายกับถ้วย คือ เมดูซ่าด้านบนของร่างกายจะโค้งนูน ส่วนด้านล่างเว้าเข้าเป็นด้านที่มีปาก ตรงบริเวณขอบมีนวดโดยรอบและมีอวัยวะรับความรู้สึกที่เรียกว่า เทนตาคูโลซีสต์ เรียงอยู่ตรงขอบเป็นระยะ ๆ เทนตาโคลูซีสต์แต่ละหน่วยประกอบด้วย ด้านล่างของลำตัวเป็นช่องปากอยู่บนมานูเบรียม รอบ ๆ ปากมีออรัลอาร์ม ลักษณะแบนและยาวรวม 4 อัน บริเวณนี้มีเนมาโตซิสต์ หรือเข็มพิษอยู่มาก ออรัลอาร์มทำหน้าที่จับเหยื่อเข้าปากเช่นเดียวกับหนวดของไฮดรา ต่อจากช่องปากเป็นเอนเตอรอนซึ่งแยกออกเป็น 4 กระเปาะ ต่อจากกระเปาะแต่ละอันมีท่อรัศมีมากมายผ่านมีโซเกลียไปยังท่อวงแหวน ที่อยู่รอบขอบของร่างกาย และในแต่ละกระเปาะจะมีอวัยวะสืบพันธุ์รูปตัวยู กระเปาะละอัน ติดอยู่กับพื้นล่างของเยื่อแกสโตรเดอร์มีส ทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์ผิวนอกของร่างกายทั้งหมดเป็นเซลล์เอปิเดอร์มี ส่วนเซลล์ที่บุในระบบย่อยอาหาร ตลอดจนท่อต่าง ๆ ภายในร่างกาย รวมทั้งอวัยวะสืบพันธุ์เป็นเซลล์ในชั้นแกสโตรเดอร์มีส[2]
แมงกะพรุนพระจันทร์ ถือเป็นแมงกะพรุนที่มีพิษ แต่ไม่ร้ายแรงถึงขั้นมีอันตรายต่อชีวิต อาศัยอยู่ทั้งในเขตน้ำตื้นและน้ำลึก ในช่วงเช้าส่วนมากจะพบมากในเขตน้ำตื้น เพราะจะถูกน้ำทะเลพัดมาในเวลากลางคืน และก็จะหาอาหารในเขตน้ำตื้นไปด้วยในช่วงที่อยู่ในเขตน้ำตื้น ซึ่งอาหารก็ได้แก่ ปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กต่าง ๆ โดยการใช้เข็มพิษให้หมดสติ และกินเป็นอาหาร
การจำแนก
[แก้]- Aurelia aurita (Linnaeus, 1758)
- Aurelia coerulea Lendenfeld, 1884
- Aurelia colpota Brandt, 1835
- Aurelia labiata Chamisso & Eysenhardt, 1821
- Aurelia limbata Brandt, 1835
- Aurelia maldivensis Bigelow, 1904
- Aurelia solida Browne, 1905[1]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 จาก itis.gov
- ↑ Arai, Mary Needler. A Functional Biology of Scyphozoa. London: Chapman and Hall. pp. 68–206.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Aurelia ที่วิกิสปีชีส์