ข้ามไปเนื้อหา

โชติพิพัฒน์ เตชะโสภณมณี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โชติพิพัฒน์ เตชะโสภณมณี
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร
ดำรงตำแหน่ง
24​ มีนาคม​ พ.ศ. 2562 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2566
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
วีระวัฒน์ เตชะโสภณมณี

2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2511 (56 ปี)
พรรคการเมืองอนาคตใหม่ (2562–2563)
ภูมิใจไทย (2563–ปัจจุบัน)

โชติพิพัฒน์ เตชะโสภณมณี (เกิด 2 กุมภาพันธ์ 2511) ชื่อเล่น อ๋า เป็นนักการเมืองชาวไทย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันสังกัดพรรคภูมิใจไทย

ประวัติ

[แก้]

นายโชติพิพัฒน์ เกิดเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2511 เดิมชื่อ วีระวัฒน์ สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และปริญญาตรีคณะรัฐศาสตร์ (การบริหารรัฐกิจและกฎหมาย) มหาวิทยาลัยรามคำแหง เขาประกอบอาชีพนักธุรกิจเรื่อยมาก่อนเข้าทำงานการเมือง[1]

งานการเมือง

[แก้]

นายโชติพิพัฒน์ได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกสภาเขตกรุงเทพมหานคร (ส.ข.) เขตจอมทอง ในปี พ.ศ. 2541 สังกัดกลุ่มมดงาน[2] ดำรงตำแหน่งถึงปี พ.ศ. 2545 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) เขตจอมทอง แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[1]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผ้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้กลับมาลงสนามเลือกตั้งโดยลงสมัครในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เขต 23 สังกัดพรรคอนาคตใหม่ และชนะการเลือกตั้ง แต่ต่อมาเกิดการยุบพรรคอนาคตใหม่ในปีถัดมาซึ่งโชติพิพัฒน์ไม่ได้ย้ายไปสังกัดพรรคก้าวไกลเหมือนสมาชิกส่วนใหญ่ของพรรคอนาคตใหม่ แต่กลับย้ายไปสังกัดพรรคภูมิใจไทย ซึ่งขณะนั้นเป็นพรรคร่วมรัฐบาล (พรรคอนาคตใหม่เดิมเป็นฝ่ายค้าน) เขาจึงได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งใน "กลุ่มงูเห่าพรรคอนาคตใหม่" ร่วมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีก 9 คน ต่อมาเขาได้เปิดเผยว่าเขามีความขัดแย้งกับนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกลจึงเป็นเหตุผลที่ไม่ย้ายไปสังกัดพรรคก้าวไกลนั่นเอง[1] นอกจากนี้นายโชติพิพัฒน์ยังดำรงตำแหน่งโฆษกคณะกรรมาธิการการตำรวจ สภาผู้แทนราษฎร[3]

ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราฎรกรุงเทพมหานคร เขต 26 สังกัดพรรคภูมิใจไทย ปรากฏว่านายโชติพิพัฒน์ไม่ได้รับเลือก

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 "เส้นทางชีวิต 9 อดีต ส.ส.อนาคตใหม่ จากคนธรรมดา เลือกตั้งพลิกชะตา สู่ซบเสี่ยหนู". www.thairath.co.th. 2020-02-25.
  2. การเลือกตั้งท้องถิ่นในกรุงเทพมหานครจากอดีตถึงการครองอำนาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ : บทสำรวจประเด็นการเมืองในมิติของการเลือกตั้งท้องถิ่นและปัญหาการพัฒนากรุงเทพมหานคร (พ.ศ. 2518-2565) / พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ หัวหน้าโครงการวิจัย, ธนิสา เรืองเดช, บจก. พันช์อัพ เวิลด์ จำกัด
  3. "ประธานคณะกรรมาธิการการตำรวจ พร้อมคณะ ตรวจเยี่ยม พร้อมมอบสิ่งของที่จำเป็นต่อการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจและกำลังพล บริเวณถนนสุขสวัสดิ์ กรุงเทพฯ". www.parliament.go.th.
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓ [จำนวน ๓๑,๒๖๘ ราย ๑. นายวราวุธ ศิลปอาชา ฯลฯ [ต่อ]]