โทรทัศน์ผ่านสัญญาณต่อเนื่อง
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
โทรทัศน์ผ่านสัญญาณต่อเนื่อง (อังกฤษ: Streaming television) เป็นการออกอากาศโทรทัศน์ในรูปแบบสื่อส่งผ่านสัญญาณต่อเนื่อง โดยส่งผ่านอินเทอร์เน็ต โทรทัศน์ผ่านสัญญาณต่อเนื่องมีลักษณะตรงกันข้ามกับโทรทัศน์ภาคพื้นดิน ที่ส่งสัญญาณเฉพาะทางอากาศ, โทรทัศน์ผ่านสายเคเบิล และ/หรือโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ในปัจจุบัน การรับชมโทรทัศน์ผ่านสัญญาณต่อเนื่อง เช่น วิดีโอออนไลน์ผ่านสัญญาณต่อเนื่อง และเว็บทีวี ของผู้บริโภคนั้น ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างมาก นับตั้งแต่เปิดตัวแพลตฟอร์มวิดีโอออนไลน์ เช่น ยูทูบ และ เน็ตฟลิกซ์
ประวัติ
[แก้]ก่อนถึงทศวรรษ 1990 ไม่มีใครคิดว่าจะมีความเป็นไปได้ที่รายการโทรทัศน์จะถูกบีบอัดลงในอัตราการส่งถ่ายข้อมูลทางโทรคมนาคมที่จำกัดของสายโทรศัพท์ทองแดง เพื่อให้บริการสัญญาณต่อเนื่องในคุณภาพที่ยอมรับได้ เนื่องจากอัตราการส่งสัญญาณออกอากาศโทรทัศน์ระบบดิจิทัลขั้นต่ำอยู่ที่ประมาณ 200 เมกะบิตต่อวินาที ซึ่งมากกว่าอัตราการส่งสัญญาณเสียงของสายโทรศัพท์ทองแดงมากกว่า 2,000 เท่า
บริการสัญญาณต่อเนื่องนั้นเกิดขึ้นได้เนื่องจากการพัฒนาทางเทคโนโลยีที่สำคัญ 2 ประการ คือ การแปลงโคไซน์ไม่ต่อเนื่อง (DCT) การบีบอัดวิดีโอ และการส่งข้อมูลผ่านเทคโนโลยีสื่อสารผ่านสายความเร็วสูงแบบไม่สมมาตร (ADSL)[1] DCT เป็นเทคนิคการบีบอัดข้อมูลแบบสูญเสียบางส่วนที่ถูกเสนอครั้งแรกโดยนาเซียร์ อาเหม็ด ในปี ค.ศ. 1972[2] และต่อมาถูกดัดแปลงเป็นอัลกอริทึมการชดเชยการเคลื่อนไหว สำหรับมาตรฐานการเข้ารหัสวิดีโอ เช่น รูปแบบ H.26x ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1988 เและรูปแบบ MPEG ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1991 เป็นต้นมา[3][4] การบีบอัดวิดีโอของ DCT ในการชดเชยการเคลื่อนไหว ช่วยลดจำนวนอัตราการส่งสัญญาณโทรทัศน์ระบบดิจิทัลขั้นต่ำอย่างมีนัยสำคัญ จากประมาณ 200 เมกะบิตต่อวินาที ลงเป็นประมาณ 2 เมกะบิตต่อวินาที ขณะที่ ADSL ช่วยเพิ่มอัตราการส่งผ่านสายโทรศัพท์ทองแดงจากประมาณ 100 กิโลบิตต่อวินาที ขึ้นเป็น 2 เมกะบิตต่อวินาทีได้ การรวมกันของเทคโนโลยี DCT และ ADSL ทำให้สามารถให้บริการสัญญาณต่อเนื่องที่ความเร็วประมาณ 2 เมกะบิตต่อวินาที[1]
กลางยุค 2000 เป็นจุดเริ่มต้นของรายการโทรทัศน์ที่มีอยู่ผ่านทางอินเทอร์เน็ต เว็บไซต์ที่ให้บริการรับฝากวีดิทัศน์อย่างยูทูบ เปิดตัวในต้นปี ค.ศ. 2005 อนุญาตให้ผู้ใช้แบ่งปันรายการโทรทัศน์ที่เผยแพร่อย่างผิดกฎหมาย[5] ยาวีด คาริม ผู้ร่วมก่อตั้งยูทูบ กล่าวว่า แรงบันดาลใจของยูทูบมาจากบทบาทของ เจเน็ต แจ็กสัน ในระหว่างการแข่งขันซูเปอร์โบวล์เมื่อปี ค.ศ. 2004 เมื่อเต้านมของเธอถูกเปิดเผยระหว่างการแสดงของเธอ และต่อมาจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย ค.ศ. 2004 คาริมไม่สามารถค้นหาวิดีโอคลิปของกิจกรรมออนไลน์ได้ นำไปสู่ความคิดของเว็บไซต์แบ่งปันวิดีโอดังกล่าว
บริการไอทูนส์ของแอปเปิล เริ่มเสนอรายการโทรทัศน์และซีรีส์ที่ได้รับการคัดสรรในปี ค.ศ. 2005 พร้อมให้ดาวน์โหลดหลังจากชำระเงินโดยตรง[5] ไม่กี่ปีต่อมา เครือข่ายโทรทัศน์และบริการอิสระอื่น ๆ เริ่มสร้างเว็บไซต์ที่สามารถแสดงรายการและสตรีมออนไลน์ได้ วิดีโอของแอมะซอน เริ่มต้นขึ้นในสหรัฐอเมริกาในชื่อ แอมะซอนอันบอกซ์ ในปี ค.ศ. 2006 แต่ไม่ได้เปิดตัวทั่วโลกจนถึงปี ค.ศ. 2016[6] เน็ตฟลิกซ์ เว็บไซต์ที่สร้างขึ้นเพื่อการเช่าดีวีดีและการขายเริ่มให้บริการสตรีมเนื้อหาในปี ค.ศ. 2007[7] ในปี ค.ศ. 2008 ฮูลู เป็นเจ้าของโดยเอ็นบีซีและฟ็อกซ์ เปิดตัวขึ้น แล้วตามด้วย tv.com ในปี ค.ศ. 2009 โดยซีบีเอส และเครื่องเล่นสื่อดิจิทัลก็เริ่มให้บริการแก่สาธารณชนในช่วงเวลานี้ แอปเปิลทีวีรุ่นแรกเปิดตัวในปี ค.ศ. 2007 และในปี 2008 มีการประกาศเปิดตัวอุปกรณ์ส่งสัญญาณต่อเนื่อง โรคุ รุ่นแรก[8][9]
โทรทัศน์อัจฉริยะเริ่มเข้าครอบครองตลาดโทรทัศน์หลังจากปี ค.ศ. 2010 และยังคงเป็นพันธมิตรกับผู้ให้บริการรายใหม่ ๆ เพื่อส่งสัญญาณต่อเนื่องไปสู่ผู้ใช้มากยิ่งขึ้น[10] ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2015 โทรทัศน์อัจฉริยะเป็นโทรทัศน์ระดับกลางถึงระดับสูงประเภทเดียวที่ผลิตขึ้น เครื่องเล่นสื่อดิจิทัลของแอมะซอน ในเวอร์ชันแอมะซอนไฟร์ทีวี ไม่ได้เสนอขายต่อสาธารณะจนถึงปี ค.ศ. 2014
เครื่องเล่นสื่อดิจิทัลเหล่านี้ยังคงได้รับการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และมีการวางจำหน่ายรุ่นใหม่ การเข้าถึงการเขียนโปรแกรมโทรทัศน์ได้พัฒนาจากการเข้าถึงคอมพิวเตอร์และโทรทัศน์ รวมถึงอุปกรณ์มือถือ เช่น โทรศัพท์อัจฉริยะ และแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ แอพสำหรับอุปกรณ์มือถือเริ่มให้บริการผ่านแอปสโตร์ในปี ค.ศ. 2008 แอพมือถือเหล่านี้อนุญาตให้ผู้ใช้ดูเนื้อหาบนอุปกรณ์มือถือที่รองรับแอพ หลัง ค.ศ. 2010 ผู้ให้บริการโทรทัศน์ผ่านสายเคเบิลและโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมแบบดั้งเดิมเริ่มให้บริการโทรทัศน์ผ่านสัญญาณต่อเนื่อง
ในปี ค.ศ. 2017 ยูทูบเปิดตัวยูทูบทีวี บริการโทรทัศน์ผ่านสัญญาณต่อเนื่องที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถรับชมรายการทีวีสดจากช่องเคเบิล หรือช่องยอดนิยม และรายการบันทึก เพื่อการรับสัญญาณต่อเนื่องได้ทุกที่ทุกเวลา[11] ในปีเดียวกัน จากผลการสำรวจพบว่า ผู้ใหญ่ชาวอเมริกัน 28% และผู้ที่มีอายุระหว่าง 18 ถึง 29 ปี อีก 61% รับชมโทรทัศน์ผ่านสัญญาณต่อเนื่องเป็นหลัก[12] และในปี ค.ศ. 2018 เน็ตฟลิกซ์เป็นเครือข่ายทีวีสตรีมมิ่งที่ใหญ่ที่สุดในโลก และยังเป็นบริษัทสื่ออินเทอร์เน็ตและความบันเทิงที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยจำนวนผู้ใช้บริการจำนวน 117 ล้านราย และจากรายรับและการตลาด[13][14]
ดูเพิ่ม
[แก้]- โทรทัศน์ภาคพื้นดิน
- โทรทัศน์ผ่านดาวเทียม
- โทรทัศน์ผ่านสายเคเบิล
- ไอพีทีวี
- โทรทัศน์อัจฉริยะ
- อินเทอร์เน็ต
- ยูทูบ
- เน็ตฟลิกซ์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Lea, William (1994). Video on demand: Research Paper 94/68. 9 พฤษภาคม 1994: House of Commons Library. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2019.
{{cite book}}
: CS1 maint: location (ลิงก์) - ↑ Ahmed, Nasir (มกราคม 1991). "How I Came Up With the Discrete Cosine Transform". Digital Signal Processing. 1 (1): 4–5. doi:10.1016/1051-2004(91)90086-Z.
- ↑ Ghanbari, Mohammed (2003). Standard Codecs: Image Compression to Advanced Video Coding. Institution of Engineering and Technology. pp. 1–2. ISBN 9780852967102.
- ↑ Li, Jian Ping (2006). Proceedings of the International Computer Conference 2006 on Wavelet Active Media Technology and Information Processing: Chongqing, China, 29-31 August 2006. World Scientific. p. 847. ISBN 9789812709998.
- ↑ 5.0 5.1 Waterman, D., Sherman, R., & Ji, S. W. (2013). The economics of online television: Industry development, aggregation, and “TV Everywhere”. Telecommunications Policy, 37(9), 725-736.
- ↑ "Amazon - Press Room - Press Release" เก็บถาวร 2017-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. phx.corporate-ir.net. สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2017.
- ↑ "About Netflix". Netflix Media Center. สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2017.
- ↑ "How Apple's iTV Media Strategy Works". www.roughlydrafted.com. สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2017.
- ↑ "Inside The Tech Of The Netflix Player With Roku | HotHardware" เก็บถาวร 2020-07-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. HotHardware. HotHardware. สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2017.
- ↑ Johnson, James (10 ตุลาคม 2019). "OTT TV: What It Is and How It's Shaping The Video Industry". Uscreen (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2019.
- ↑ "YouTube TV - Watch & DVR Live Sports, Shows & News". YouTube TV - Watch & DVR Live Sports, Shows & News. Retrieved 2017-12-05.
- ↑ "About 6 in 10 young adults in U.S. primarily use online streaming to watch TV". Pew Research Center. 13 กันยายน 2017. สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2017.
- ↑ "Bloomberg - Are you a robot?". www.bloomberg.com.
{{cite web}}
: Cite ใช้ชื่อทั่วไป (help) - ↑ Balakrishnan, Anita (22 มกราคม 2018). "Netflix jumps more than 8% after adding more subscribers than expected".
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- IPTV ในอนาคต The Register 5 พฤษภาคม 2006
- ในฐานะที่อินเทอร์เน็ตทีวีมีจุดมุ่งหมายที่ผู้ชมเฉพาะกลุ่ม Slivercast จึงเกิดขึ้น เดอะนิวยอร์กไทมส์ 12 มีนาคม 2006
- ดาราในทีวีในอนาคตจะมาจากเว็บ เดอะการ์เดียน 11 กันยายน 2008