โสมปุระมหาวิหาร
โสมปุรมหาวิหาร | |
---|---|
ชื่อในภาษาท้องถิ่น เบงกอล: পাহাড়পুর বৌদ্ধ বিহার | |
ที่ตั้ง | นาโอคาว ประเทศบังกลาเทศ |
พิกัด | 25°01′52″N 88°58′37″E / 25.03111°N 88.97694°E |
ความสูงจากระดับน้ำทะเล | 24 m (80 ft) |
สร้างเมื่อ | ศตวรรษที่ 8 |
สร้างเพื่อ | กษัตริย์ธรรมปาล |
สถาปัตยกรรม | คุปตะ, ปาละ |
ชื่อที่ขึ้นทะเบียน | ซากพุทธวิหารที่ปาหาฑปุระ |
ประเภท | วัฒนธรรม |
เกณฑ์ | i, ii, iv |
ขึ้นเมื่อ | 1985 (ชุดที่ 9) |
เลขอ้างอิง | 322 |
ภูมิภาค | เอเชียแปซิฟิก |
โสมปุระมหาวิหาร (เบงกอล: সোমপুর মহাবিহার, อักษรโรมัน: โสมปุร มหาวิหาร) หรือ ปาหาฑปุระพุทธวิหาร (เบงกอล: পাহাড়পুর বৌদ্ধ বিহার, อักษรโรมัน: ปาหาฑ়ปุร เวาทฺธ วิหาร) เป็นซากปรักหักพังของวิหารในศาสนาพุทธ ตั้งอยู่ที่ปาหาฑปุระ (Paharpur) ในพทัลคาฉี อำเภอนาโอคาว ประเทศบังกลาเทศ แหล่งโบราณคดีโสมปุระมหาวิหารได้รับการขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโกในปี 1985 และถือเป็นหนึ่งในงานสถาปัตยกรรมชิ้นสำคัญที่สุดของบังกลาเทศสมัยก่อนอิสลาม คาดการณ์ว่าสร้างขึ้นในยุคไล่เลี่ยกันกับหาลูฑวิหารที่ตั้งอยู่ใกล้กัน และกับสีตาโกฏวิหารในนาวับกันจ์ อำเภอทีนัชปุระ[1]
ประวัติศาสตร์
[แก้]ในสมัยปาละ มีการสร้างอารามพุทธขึ้นมากมายในแถบตะวันออกของอนุทวีปอินเดีย ซึ่งได้แก่แคว้นบังกลา และ มคธ แหล่งข้อมูลทิเบตระบุว่าในจำนวนอารามเหล่านี้ มี "มหาวิหาร" (มหาวิทยาลัย) อยู่ห้าแห่งที่สำคัญ ได้แก่ วิกรมศีล, นาลันทา, โสมปุระ โอทันตปุระ และ ชัคคทัล[2] มหาวิหารเหล่านี้รวมกันเป็นเครือข่าย "ทุกแห่งอยู่ภายใต้การดูแลของรัฐ" และยังมี "ระบบความร่วมมือระหว่างแต่ละมหาวิหาร" และมีนักปราชญ์วิชาการสามารถขยับตำแหน่งไปมาระหว่างแต่ละที่ได้[3]
การขุดค้นโบราณคดีในปาหาฑปุระกับหลักฐานจากตราประทับที่เขียนจารึก "ศรีโสมปุเร ศรีธรรมปาลเทวะ มหาวิหาริยรรยะ ภิกษุ สังฆัสยะ" ทำให้ระบุได้ว่าโสมปุระมหาวิหารสร้างขึ้นโดยกษัตริย์ปาละ พระเจ้าธรรมปาละ (ค.ศ. 781–821)[4] ในแหล่งข้อมูลภาษาทิเบต รวมถึงฉบับแปลทิเบตของ ธรรมกายวิธี และ มัธยมกรัตนประทีป ประวัติศาสตร์โดยตารานาถใน Pag-Sam-Jon-Zang กล่าวถึงกษัตริย์ผู้สืบทอดราชบัลลังก์จากธรรมปาละ ซึ่งคือพระเจ้าเทวปาละ (810–850) สร้างมหาวิหารนี้ขึ้นหลังการยึดครองวเรนทรได้สำเร็จ[4] จารึกบนเสาปาหาฑปุระ (Paharpur pillar) มีกล่าวถึงปีที่ห้าในรัชสมัยของหษัตริย์ที่สืบราขสมบัติต่อจากเทวปาละ ซึ่งคือมเหนทรปาละ (850–854) และชื่อของภิกษุ อาชยครรภ (Ajayagarbha) ([4] ใน Pag Sam Jon Zang ยังบันทึกว่ามีการบูรณะมหาวิหารในรัชสมัยของพระเจ้ามหิปาละ (995–1043)[4]
ชาตวรรม (Jatvarma) แห่งจักรวรรดิวรรมัน เข้าโจมตีเวรนทรในศตวรรษที่ 11 และไม่มีความสัมพันธ์ที่ดีนักกับกษัตริย์ทิพยะแห่งไกวรรตกับพระพุทธศาสนา แม้ราชวงศ์ไกวรรตจะไม่ถูกกระทบใด ๆ จากวรรมัน แต่บางส่วนของมหาวิหารที่โสมปุระถูกทำลายจากเพลิงที่กองทัพของชาตวรรมจุด[5]
ในสมัยจักรวรรดิเสน ในครึ่งหลังของศตวรรษที่ 12 วิหารเริ่มเสื่อมถอยลงเป็นคราสุดท้าย[4] นักวิชาการคนหนึ่งเคยเขียนถึงซากของโสมปุระมหาวิหารไว้ว่า "ไม่มีร่องรอยของการทุบทำลายขนานใหญ่[บนมหาวิหาร] การเสื่อถอยของมหาวิหาร จะด้วยการถูกทิ้งร้างก็ดี ด้วยการทำลายก็ดี จะต้องเกิดขึ้นในสมัยท่ามกลางความไม่สงบไปทั่ว และการอพยพย้ายถิ่นของประชากร อันเป็นผลสืบเนื่องจากการรุกรานของมุสลิมที่นำโดยมุฮัมมัด บาฆตียาร์ ขาลจี"[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Rahman, SS Mostafizur (2012). "Sitakot Vihara". ใน Islam, Sirajul; Jamal, Ahmed A. (บ.ก.). Banglapedia: National Encyclopedia of Bangladesh (Second ed.). Asiatic Society of Bangladesh.
- ↑ English, Elizabeth (2002). Vajrayogini: Her Visualization, Rituals, and Forms. Wisdom Publications. p. 15. ISBN 0-86171-329-X.
- ↑ Dutt, Sukumar (1988) [First published 1962]. Buddhist Monks and Monasteries of India: Their History and Their Contribution to Indian Culture. Delhi: Motilal Banarsidass. pp. 352–353. ISBN 978-81-208-0498-2.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 Chowdhury, AM (2012). "Somapura Mahavihara". ใน Islam, Sirajul; Jamal, Ahmed A. (บ.ก.). Banglapedia: National Encyclopedia of Bangladesh (Second ed.). Asiatic Society of Bangladesh.
- ↑ Ray, Niharranjan (1994). History of the Bengali People (Ancient Period) (ภาษาอังกฤษ). แปลโดย Hood, John W. Orient Longman. pp. 185, 331, 353. ISBN 978-0-86311-378-9.
- ↑ Dutt, Sukumar (1988) [First published 1962]. Buddhist Monks and Monasteries of India: Their History and Their Contribution to Indian Culture. Delhi: Motilal Banarsidass. p. 376. ISBN 978-81-208-0498-2.