สนามกีฬารึงนาโด 1 พฤษภาคม
ที่ตั้ง | เปียงยาง, เกาหลีเหนือ |
---|---|
พิกัด | 39°2′58″N 125°46′31″E / 39.04944°N 125.77528°E |
ความจุ | 114,000 ที่นั่ง[2] |
ขนาดสนาม | ลานหลัก – 22,500 ตร.ม. พื้นที่รวม – มากกว่า 207,000 ตร.ม. |
พื้นผิว | สนามหญ้าเทียม[1] |
เปิดใช้สนาม | 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1989 |
การใช้งาน | |
ฟุตบอลทีมชาติเกาหลีเหนือ ฟุตบอลทีมชาติหญิงเกาหลีเหนือ เอพริล 25 สปอร์ต คลับ |
สนามกีฬารึงนาโด 1 พฤษภาคม | |
โชซ็อนกึล | 릉라도 5월1일 경기장 |
---|---|
ฮันจา | |
อาร์อาร์ | Neungnado 5(o)-wol 1(ir)-il Gyeonggijang |
เอ็มอาร์ | Rŭngnado Owŏl Iril Kyŏnggijang |
สนามกีฬารึงนาโด 1 พฤษภาคม (릉라도5월1일경기장) หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ สนามเมย์เดย์ เป็นสนามกีฬาอเนกประสงค์ในกรุงเปียงยาง ประเทศเกาหลีเหนือ สร้างเสร็จในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2532 สนามแห่งนี้เคยได้ชื่อว่าเป็นสนามกีฬาที่ใหญ่ที่สุดในโลก เนื่องจากสนามแห่งนี้จุได้มากถึง 114,000 ที่นั่งและมีพื้นที่รวมกว่า 20.7 เฮกตาร์ (51 เอเคอร์)
ชื่อ
[แก้]ชื่อสนาม "รึงนาโด" นั้นมีที่มาจากชื่อเกาะเล็กเกาะหนึ่งกลางแม่น้ำแทดงซึ่งเป็นเกาะที่ตั้งของตัวสนาม ส่วน "1 พฤษภาคม" นั้นมาจากวันแรงงานสากลที่มีการเฉลิมฉลองเมย์เดย์ในเดือนพฤษภาคมของทุกปี[3]
การใช้ประโยชน์
[แก้]ในปัจจุบันสนามกีฬาแห่งนี้ส่วนมากใช้ในการจัดเทศกาลอารีรัง (เรียกอีกอย่างว่า "แมสส์เกมส์") และเป็นสถานที่จัดแข่งกีฬาฟุตบอลและกรีฑาเล็ก ๆ น้อย ๆ เพียงไม่กี่ครั้ง สนามแห่งนี้มีความจุที่นั่งถึง 114,000 ที่นั่ง[4]
การออกแบบ
[แก้]หลังคาของสนามมีรูปร่างคล้ายกับดอกแมกโนเลีย 16 กลีบ พื้นที่หลักของสนามมีพื้นที่ 22,500 ตารางเมตร พื้นที่รวมของสนามทั้งหมดมีพื้นที่กว่า 207,000 ตารางเมตร สนามมี 8 ชั้น ยอดหลังคาสูงจากพื้น 60 เมตร
ประวัติ
[แก้]วัตถุประสงค์เริ่มแรกนั้นคือเพื่อใช้ในการแข่งขันกีฬา การแสดง ขบวนพาเหรดและการเฉลิมฉลองให้แก่คิม อิล-ซ็องและประเทศเกาหลีเหนือ ในเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2545 ได้มีการแสดงผลงานศิลปะและการแสดงที่ยิ่งใหญ่ชื่อว่าเทศกาลอารีรังซึ่งการแสดงในครั้งนี้ได้มีผู้ชมเกิน 100,000 คนเป็นครั้งแรกและเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ[5] จนภายหลังได้อนุญาตให้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเข้าชมได้ การแสดงนี้เป็นการแสดงประจำปีของเกาหลีเหนือซึ่งปกติจัดในเดือนสิงหาคมและกันยายน และยังรับการบันทึกโดยกินเนสส์บุ๊คออฟเวิลด์เรคเคิดส์ว่าเป็นการแสดงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก
ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1990 ได้มีการประหารทหารจำนวนหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการลอบสังหารคิม จ็อง-อิล โดยการเผาไฟ ภายในสนามแห่งนี้[6]
หลังจากการปรับปรุงสนาม 2 ปี ก็ได้มีการเปิดใช้สนามใหม่ในปี พ.ศ. 2558
ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2560 สนามแห่งนี้ได้ใช้เป็นสนามเจ้าภาพในรอบแบ่งกลุ่ม กลุ่มจี ในการแข่งขันฟุตบอลเอเชียเยาวชนอายุไม่เกิน 23 ปี 2018 รอบคัดเลือก[7]
เหตุการณ์สำคัญ
[แก้]- พิธีเปิดและพิธีปิด เทศกาลเยาวชนและนักศึกษาโลก ครั้งที่ 13 ในปี พ.ศ. 2532
- คอลิชันอินโคเรีย การแข่งขันมวยปล้ำอาชีพในปี พ.ศ. 2538
- ประธานาธิบดี มุนแจอิน ของเกาหลีใต้ได้ชมเทศกาลอารีรังช่วงพิเศษเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2561
งานประจำปี
[แก้]สมุดภาพ
[แก้]-
ด้านหน้าของสนาม
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "North Korea: Rungrado May Day to undergo thorough revamp". Stadium DB. สืบค้นเมื่อ 21 July 2017.
- ↑ http://stadiumdb.com/news/2016/08/north_korea_kims_shrinking_pride
- ↑ [1]ประวัติคร่าวๆ
- ↑ "Rungrado 1st of May Stadium – Football Stadium". Football-Lineups. สืบค้นเมื่อ 26 May 2016.
- ↑ Watts, Jonathan (17 May 2002). "Despair, hunger and defiance at the heart of the greatest show on earth". The Guardian. London.
- ↑ Soukhorukov, Sergey (13 June 2004). "Train blast was 'a plot to kill North Korea's leader'". The Daily Telegraph.
- ↑ "Schedule & Results". Asian Football Confederation. สืบค้นเมื่อ 23 July 2017.