ข้ามไปเนื้อหา

ไทย

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี

ภาษาไทย

รากศัพท์ 1

จากไท (กลุ่มชาติพันธุ์ไท; อิสระ); ตัว ถูกเพิ่มขึ้นมาเพื่อเลียนคำว่า เทยฺย ในภาษาบาลี (ในรากศัพท์ 2); ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ໄທ (ไท), ภาษาไทดำ ꪼꪕ (ไต̱), ภาษาไทใหญ่ တႆး (ไต๊)

รูปแบบอื่น

การออกเสียง

การแบ่งพยางค์ไท
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงtai
ราชบัณฑิตยสภาthai
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/tʰaj˧/(สัมผัส)
คำพ้องเสียงไท
ไฟล์เสียง

คำวิสามานยนาม

ไทย

  1. ชื่อประเทศที่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดต่อกับลาว เขมร มาเลเซีย และพม่า
    ประเทศไทย
    เมืองไทย
  2. ภาษาทางการของประเทศไทย
    ภาษาไทย
คำพ้องความ
(ประเทศ): ดูที่ อรรถาภิธาน:ไทย

คำแปลภาษาอื่น

คำนาม

ไทย

  1. (คน~, ชาว~) ชนชาติที่มาจากไทย (คำลักษณนาม คน)
    คนไทย
    ชาวไทย
  2. ชนเชื้อชาติไทย มีหลายสาขาด้วยกัน, ไท ก็ว่า (คำลักษณนาม คน)
    ไทยใหญ่
    ไทยดำ
    ไทยขาว
  3. ความมีอิสระในตัว, ความไม่เป็นทาส, ไท ก็ว่า
  4. (ร้อยกรอง, ภาษาถิ่น) คน
    ไทยบ้านนอก
    คนบ้านนอก
    ไทยใจแทตย์
    คนใจยักษ์
    (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์)

คำแปลภาษาอื่น

รากศัพท์ 2

ยืมมาจากภาษาบาลี เทยฺย

การออกเสียง

การแบ่งพยางค์[เสียงสมาส]
ไท-ยะ-
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงtai-yá-
ราชบัณฑิตยสภาthai-ya-
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/tʰaj˧.ja˦˥./

คำคุณศัพท์

ไทย

  1. (ภาษาหนังสือ) ควรให้, ใช้ประกอบเป็นคำนำหน้าสมาส
    ไทยทาน
    ไทยธรรม

ภาษาคำเมือง

คำวิสามานยนาม

ไทย

  1. อีกรูปหนึ่งของ ᨴᩱ᩠ᨿ (ไทย)