ฟาโรห์ดับเบิลฟอลคอน
ดับเบิล ฟอลคอน | |||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ดจู?, เนบวี? | |||||||||||||||||||||
พระนามเซเรคของฟาโรห์ดับเบิล ฟอลคอนที่วาดบนไหที่พบในอัลบะดา | |||||||||||||||||||||
ฟาโรห์ | |||||||||||||||||||||
รัชกาล | 3200 ปีก่อนคริสตกาล | ||||||||||||||||||||
ก่อนหน้า | สกอร์เปียนที่ 1? | ||||||||||||||||||||
ถัดไป | ไอรี-ฮอร์? | ||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||
ราชวงศ์ | สมัยนะกอดะฮ์ที่ 3 |
ดับเบิล ฟอลคอน หรือ ดจู, เนบวี เป็นฟาโรห์ผู้ปกครองในบริเวณอียิปต์ล่างจากสมัยนะกอดะฮ์ที่ 3 พระองค์ทรงอาจจะขึ้นครองราชย์ในช่วงปีที่ 3,200 ปีก่อนคริสตกาล ระยะเวลาการครองราชสมบัติของพระองค์ยังไม่แน่นอน
หลักฐานยืนยัน
[แก้]ในปี ค.ศ. 1910 นักไอยคุปต์วิทยานามว่า เอ็ม. เจ. เคลดาต์ ได้ขุดค้นในอัลมะฮ์มูดียะฮ์ ซึ่งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ ขณะที่เขาขุดค้นอยู่มีชาวนาคนหนึ่งได้นำไห และชิ้นส่วนที่แตกออกมาให้ ซึ่งชาวนาพบมันขณะกำลังปลูกต้นปาล์ม ในบริเวณใกล้กับอัลบะดา เคลดาต์จึงตรวจสอบไหและชิ้นส่วนที่แตกออกดังกล่าว เขาพบพระนามเซเรคของฟาโรห์ดับเบิล ฟอลคอนปรากฏบนหลักฐานชิ้นนั้น[1][2]
ต่อมาในปี ค.ศ. 1912 ระหว่างการขุดค้นโดยแฮร์มัน จังค์เกอร์ในทูรา ซึ่งได้พบหลักฐานเป็นไหที่สมบูรณ์โดยมีเซเรค และรูปเหยี่ยวสองตัวอยู่บนไห[3]
เมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้ค้นพบเซเรคของฟาโรห์ดับเบิล ฟอลคอนในคาบสมุทรไซนาย[4] และยังพบหลักฐานในเทล อัมบราฮิม อะวาด ซึ่งอยู่บริเวณทางตะวันออกของดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ [5] ในอไดมา, อไบดอส, อียิปต์บน[6] และในเหมืองหินปัลมาคิม ประเทศอิสราเอล[3][5]
การพบหลักฐานหลายชิ้นของฟาโรห์ดับเบิล ฟอลคอนในอียิปต์ล่างและทางตะวันออกเฉียงเหนือของไซนาย ระบุว่าพระราชอำนาจของพระองค์นั้นถูกจำกัดไว้ที่ภูมิภาคดังกล่าว อย่างไรก็ตามการพบหลักฐานเซเรคในอียิปต์บน และลิแวนต์ใต้ ได้บ่งบอกว่าพระราชอำนาจของผู้ปกครองในช่วงสมัยนะกอดะฮ์ที่ 3 นั้นกว้างไกลมากขึ้นในช่วงปลายก่อนยุคราชวงศ์ ไม่ว่าจะเป็นการค้าขาย หรือสงคราม[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ M. J. Cledat, Les vases de el-Beda, ASAE 13 (1914), pp. 115-121
- ↑ Kaiser-Dreyer, in: Mitteilungen des Deutschen Archäologischen Instituts, Abteilung Kairo. (MDAIK) 38 (1982), Deutsches Archäologisches Institut, Orient-Abteilung, p. 9.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 Raffaele, Francesco (2003). "Dynasty 0" (PDF). Aegyptiaca Helvetica. 17: 99-141.
- ↑ Günter Dreyer, Ein Gefäss mit Ritzmarke des Narmer, in: MDAIK 55, (1999), pp. 1–6
- ↑ 5.0 5.1 E. C. M. van den Brink, Pottery-incised Serekh-Signs of Dynasties 0–1, Part II: Fragments and Additional Complete Vessels, in: Archéo-Nil 11, 2001
- ↑ Eva-Maria Engel: Ein weiterer Beleg für den Doppelfalken auf einem Serech, Bulletin of the Egyptian Museum, 2 (2005), pp. 65-69.