ข้ามไปเนื้อหา

ฟาโรห์อินโยเทฟที่ 4

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เซเฮเทปคาเร อินเทฟ เป็นผู้ปกครองที่ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับพระองค์เล็กน้อย ซึ่งทรงครองราชย์ช่วงต้นราชวงศ์ที่สิบสามในช่วงปลายสมัยราชอาณาจักรกลาง

พระองค์ทรงขึ้นครองราชย์โดยมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมมฟิสในช่วงเวลาสั้น ๆ ซึ่งแน่ชัดว่าไม่ถึงสิบปี ระหว่าง 1759 ปีก่อนคริสตกาล ถึง 1749 ปีก่อนคริสตกาล หรือราว ๆ 1710 ปีก่อนคริสตกาล[3][4]

หลักฐานยืนยัน

[แก้]

ปรากฏหลักฐานยืนยันเกี่ยวกับพระองค์ คือ ช่วงครึ่งล่างของรูปสลักนั่ง[5] จากกลุ่มวิหารของเทพีเรเนนูเทตที่เมดิเนต มาดิในฟัยยูม[6]

ปรากฏพระนามของพระองค์ในบันทึกพระนามแห่งตูรินในรายการที่ 7.22 (โดยรีโฮลต์) หรือ 6.22 (โดยอลัน การ์ดิเนอร์ และเยือร์เกิน ฟอน เบ็คเคอราธ) ในบันทึกพระนามฯ ได้บันทึกพระนามของพระองค์อยู่ระหว่างพระนามของฟาโรห์อิมิเรเมสอาวและฟาโรห์เซธ เมอร์อิบเร นอกจากนี้ พระนามของพระองค์ยังปรากฏอยู่ในบันทึกพระนามแห่งคาร์นักอีกด้วย[3]

ตำแหน่งตามลำดับเวลาและรัชสมัย

[แก้]

ตำแหน่งตามลำดับเวลาที่แน่นอนของพระองค์ในราชวงศ์ที่สิบสามยังไม่ทราบอย่างแน่ชัด เนื่องจากความไม่แน่นอนในตำแหน่งฯ ที่ส่งผลต่อมาจากผู้ปกครองพระองค์ก่อนหน้าของราชวงศ์ ดาร์เรล เบเกอร์ ได้พิจารณาให้พระองค์เป็นผู้ปกครองพระองค์ที่ยี่สิบสามของราชวงศ์ ส่วน คิม ไรโฮลต์ ให้พระองค์เป็นกษัตริย์พระองค์ที่ยี่สิบสี่ และเยือร์เกิน ฟอน เบ็คเคอราธ เป็นฟาโรห์พระองค์ที่สิบเก้า นอกจากนี้ ไรโฮลต์ เชื่อว่าพระองค์ทรงเป็นผู้ปกครองพระองค์ที่ห้าที่ทรงพระนาม "อินเทฟ" ดังกล่าว จึงเรียกพระองค์ว่า อินเทฟที่ 5 ในขณะที่ไอแดน ด็อดสัน, ฟอน เบ็คเคอราธ และดาร์เรล เบเกอร์ เชื่อว่าพระองค์คือ อินเทฟที่ 4[7][8]

ระยะเวลาการครองราชย์ของพระองค์หายไปในบันทึกพระนามปาปิรุสและไม่สามารถกู้คืนได้ เว้นแต่ส่วนท้ายของบันทึกที่ปรากฏว่า "...[และ] 3 วัน"[8] คิม ไรโฮลต์สันนิษฐานว่าการครองราชย์รวมกันของ ฟาโรห์อิมิเรเมสอาว, ฟาโรห์เซเฮเทปคาเร อินเทฟ และฟาโรห์เซธ เมอร์อิบเรนั้นเป็นระยะเวลาสิบปี หลักฐานอีกชิ้นที่เกี่ยวข้องกับรัชสมัยของพระองค์ที่พบในบันทึกปาปิรุสโบลัก หมายเลข 18 จากช่วงราชวงศ์ที่สิบสาม ซึ่งบันทึกเหนือสิ่งอื่นใดถึงสิ่งที่เกี่ยวข้องราชวงศ์ที่ประกอบด้วยพระภคินีและพระขนิษฐนาของกษัตริย์จำนวนสิบพระองค์ พระญาติของกษัตริย์ที่ไม่ระบุจำนวน พระราชธิดาจำนวนสามพระองค์ของกษัตริย์ พระราชโอรสพระนามว่า เรดิเอนเอฟ และพระราชินีพระนามว่า อายา ถึงแม้ว่าพระนามของกษัตริย์จะสูญหายไปในส่วนที่เสียหาย แต่การวิเคราะห์บันทึกปาปิรุสของไรโฮลต์คงเหลือเพียงฟาโรห์มิมิเรเมสอาวและฟาโรห์เซเฮเทปคาเร อินเทฟเท่านั้นที่เป็นไปได้[3] ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญเพราะบันทึกปาปิรุสดังกล่าวได้บันทึกระยะเวลาไว้ในช่วงปีที่ 3 และปีที่ 5 ของกษัตริย์พระองค์นี้ นอกจากนี้ วันที่ "ครองราชย์ปีที่ 5 เดือนที่ 3 ของเชมู วันที่ 18" เป็นที่รู้จักจากกลุ่มพีระมิดที่ยังสร้างไม่เสร็จใกล้กับพีระมิดของฟาโรห์เคนด์เจอร์ ซึ่งอาจสร้างขึ้นโดยผู้ปกครองพระองค์เดียวกัน ซึ่งเป็นผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์อันใกล้ชิดของฟาโรห์เคนด์เจอร์ หรือบางทีอาจจะเป็นฟาโรห์อินเทฟเอง[3]

ไม่ทราบสถานการณ์ที่แน่นอนของการสิ้นสุดรัชสมัยของพระองค์ แต่ความจริงที่ว่าผู้สืบทอดตำแหน่งพระราชบัลลังก์พระนามว่า เซธ เมอร์อิบเร ที่ทรงไม่ได้ใช้พระนามที่มีความเกี่ยวข้องกับพระนามของผู้ปกครองก่อนหน้า ซึ่งชี้ไปที่ฟาโรห์เซธ เมอร์อิบเรว่าเดิมทรงไม่ได้เป็นเชื้อพระวงค์ ด้วยเหตุนี้ ไรโฮลต์จึงสันนิษฐานว่า พระองค์ทรงเป็นผู้แย่งชิงบัลลังก์[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Jürgen von Beckerath: Handbuch der Ägyptischen Königsnamen, 1999, p. 94
  2. Flinders Petrie:Scarabs and cylinders with names (1917), available copyright-free here, pl. XVIII, n. 13.DE.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 K.S.B. Ryholt, The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period, c.1800-1550 BC, (Carsten Niebuhr Institute Publications, vol. 20. Copenhagen: Museum Tusculanum Press, 1997), 342, File 13/24.
  4. 4.0 4.1 Thomas Schneider: Lexikon der Pharaonen
  5. Cairo, Egyptian Museum JE 67834
  6. Vogliano, Achille (1942). Un'impresa archeologica milanese ai margini orientali del deserto libico. Milan: Regia Università, Istituto d'alta cultura., pls. IX-X
  7. Dodson, Aidan and Hilton, Dyan. The Complete Royal Families of Ancient Egypt. Thames & Hudson. 2004.
  8. 8.0 8.1 Darrell D. Baker: The Encyclopedia of the Pharaohs: Volume I - Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300–1069 BC, Stacey International, ISBN 978-1-905299-37-9, 2008