ฟาโรห์เอเปอร์-อนัท
ฟาโรห์อาเปอร์-อนาติ | ||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อาเปรานัท, อาเปร์-อานัท | ||||||||||||||
ตราสคารับของฟาโรห์เอเปอร์-อนัทที่ผลิตจากสตีไทต์เคลือบ พิพิธภัณฑ์โบราณคดีอียิปต์พีทรี ลอนดอน[1][2][3] | ||||||||||||||
ฟาโรห์ | ||||||||||||||
รัชกาล | ไม่ทราบ | |||||||||||||
ก่อนหน้า | ฟาโรห์เซมเคน (Ryholt) หรือฟาโรห์อานาต-เฮร์ (von Beckerath) | |||||||||||||
ถัดไป | ฟาโรห์ซาคิร์-ฮาร์ (Ryholt) ฟาโรห์เซมเคน (von Beckerath) | |||||||||||||
| ||||||||||||||
ราชวงศ์ | ไม่แน่ชัด น่าจะราชวงศ์ที่ 15 หรือราชวงศ์ที่ 16 |
ฟาโรห์อาเปอร์-อนาติ (หรือเขียนว่า อาเปอร์-อนัท และ อาเปรานัท) เป็นผู้ปกครองอียิปต์ล่างในสมัยระหว่างกลางที่สองเมื่อกลางศตวรรษที่ 17 ก่อน ค.ศ. Jürgen von Beckerath รายงานว่า พระองค์เป็นกษัตริย์องค์ที่สองในราชวงศ์ที่ 16 และเป็นข้าราชบริพารของกษัตริย์ฮิกซอสในราชวงศ์ที่ 15[5] ความเห็นนี้ถูกปฏิเสธจาก Kim Ryholt เมื่อไม่นานมานี้ ในงานการศึกษาสมัยระหว่างกลางที่สองเมื่อ ค.ศ. 1997 Ryholt โต้แย้งว่ากษัตริย์ในราชวงศ์ที่ 16 ปกครองดินแดนทีบส์ต่างหากเมื่อ ป. 1650–1580 ปีก่อน ค.ศ.[4] ทำให้ Ryholt มองฟาโรห์อาเปอร์-อนาติเป็นกษัตริย์ฮิกซอสก่อนหน้าในราชวงศ์ที่ 15 ซึ่งอาจเป็นองค์ที่สอง การวิเคราะห์นี้ทำให้นักอียิปต์วิทยาบางคนอย่าง Darrell Baker และ Janine Bourriau เชื่อ[6][7] แต่บางคนอย่าง Stephen Quirke ไม่เชื่อ[8]
ฟาโรห์อาเปอร์-อนาติเป็นที่รู้จักเฉพาะจากตราสคารับอันเดียวที่ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์โบราณคดีอียิปต์พีทรี[1][9] บนตรามีตำแหน่ง Heka-chasut ซึ่งแปลได้เป็น "ผู้ปกครองดินแดนต่างชาติ" และเป็นที่มาของคำว่า ฮิกซอส ทำให้ชื่อตำแหน่งนี้ปรากฏในกษัตริย์ฮิกซอสรุ่นแรกของราชวงศ์ที่ 15 เมื่ออิงจากหลักฐานนี้ Ryholt เสนอชั่วคราวว่าพระองค์เป็นผู้ปกครององค์ที่สองในราชวงศ์ที่ 15[4] แต่ระบุด้วยว่าการระบุตัวตนนี้ยังไม่ชัดเจน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Flinders Petrie: Scarabs and cylinders with names (1917), available copyright-free here, pl. XXI, n. 15.1
- ↑ Scarab of 'Aper-'Anati, catalog of the Petrie Museum
- ↑ Scarab seal of Aperanat on Digital Egypt
- ↑ 4.0 4.1 4.2 Kim Ryholt: The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period, c.1800–1550 BC, Carsten Niebuhr Institute Publications, vol. 20. Copenhagen: Museum Tusculanum Press, 1997, excerpts available online here.
- ↑ Jürgen von Beckerath: Handbuch der ägyptischen Königsnamen, Münchner ägyptologische Studien, Heft 49, Mainz : P. von Zabern, 1999, ISBN 3-8053-2591-6
- ↑ Darrell D. Baker: The Encyclopedia of the Pharaohs: Volume I - Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300–1069 BC, Stacey International, ISBN 978-1-905299-37-9, 2008, p. 60–61
- ↑ Janine Bourriau, Ian Shaw (editor): The Oxford history of ancient Egypt, chapter The Second Intermediate Period, Oxford University Press, Oxford 2003, ISBN 0-19-280458-8, [1]
- ↑ Stephen Quirke, Marcel Maree (editor): The Second Intermediate Period Thirteenth - Seventeenth Dynasties, Current Research, Future Prospects, Leuven 2011, Paris — Walpole, MA. ISBN 978-9042922280, p. 56, n. 6
- ↑ Geoffrey Thorndike Martin: Egyptian administrative and private-name seals, principally of the Middle Kingdom and Second Intermediate Period, Griffith Institute 1971, ISBN 978-0900416019, see p. 30, seal No. 318